Ford ประเทศไทย ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการประกวดนวัตกรรม Ford Innovator Scholarship จัดเสวนาพิเศษเพื่อบอกเล่าความสำเร็จ และส่งต่อแรงบันดาลใจจากโครงการ พร้อมกิจกรรม Hackathon เพื่อช่วยฝึกฝนทักษะการสื่อสารนวัตกรรมแก่เยาวชน และการจัดแสดงผลงาน รวมถึงการตัดสินผลงานนักเรียน นักศึกษา 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย โดยเป็นปีแรกที่ทีมเยาวชนจากระดับมัธยมศึกษา สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ไปครอง ด้วยนวัตกรรม "ThirdEye" อุป กรณ์ช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทางสายตา จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
กมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร Ford ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าวว่า Ford (ฟอร์ด) ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รวมทั้งทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายในโครงการ Ford Innovator Scholarship ของปีนี้ ซึ่งถือเป็นปีที่พิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โดย Ford ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรไทยรุ่นใหม่ให้เติบ โตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ไม่เพียงสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ยังมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมต่างๆ ไปใช้จริงเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน และสังคม รวมถึงจัดกิจ กรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ และการสร้างนวัตกรเพื่อสังคมในประเทศไทย
โครงการประกวดชิงทุนการศึกษา "Ford Innovator Scholarship 2024" จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "การออกแบบนวัตกรรมพลังบวก เชื่อมต่อชุมชน เพื่อโลกที่ดีกว่า" (Connect Innovation with Com munities for a Better World Challenge) โดยเน้นให้ผลงานนวัตกรรมสร้างประโยชน์แก่ชุมชนได้จริง ครอบคลุมแนวทางหลัก 3 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมสร้างศักยภาพเพื่ออาชีพในอนาคต นวัตกรรมเสริมอาชีพเพื่อธุรกิจยุคใหม่ และนวัตกรรมสร้างความปลอดภัยในชุมชน โครงการนี้เปิดรับสมัครผลงานตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีทีมนักเรียน นักศึกษา จากระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุ ดมศึกษาทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมการแข่งขันถึง 235 ทีม จากนั้นคณะกรรมการได้คัดเลือก 10 ทีมเข้าสู่รอบสุดท้าย ประกอบด้วย ทีมมัธยมศึกษา 2 ทีม ทีมมัธยมศึกษาร่วมกับอุดมศึกษา 1 ทีม ทีมอาชีวศึกษา 3 ทีม และทีมอุดมศึกษา 4 ทีม โดยทีมที่ผ่านเข้ารอบได้ร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาทักษะ และเสริมความรู้จากผู้เชี่ยวชาญของ Ford และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA รวมถึงการฝึกเทคนิคการนำเสนอผลงานให้มีประสิทธิภาพจากทีมงานทีวีบูรพาในกิจกรรม Hackathon อีกด้วย
Ford ประเทศไทย และพันธมิตร ได้จัดเวทีเสวนาพิเศษที่มีผู้ชนะจากโครงการในปีก่อนหน้า เช่น ธีรภัทร ล่องเลี่ยม นักเรียนผู้ชนะโครงการประกวดในปี 2021 ชุมพล ชารีแสน อาจารย์จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ปี 2023 สนิท สุวรรณศร ที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือ PDA ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้ง และที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึง กมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร Ford ประเทศไทย และตลาดอาเซียน ร่วมแชร์ความสำ เร็จของโครงการ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่ในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่น่าอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงผลงานที่ผ่านเข้ารอบ และกิจกรรม Hackathon กระตุ้นความคิดในบรร ยากาศที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานก่อนการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในช่วงบ่าย โดยมีรายละเอียดผลการแข่งขันในปีนี้ ดังนี้
รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่ ผลงาน "นวัตกรรม ThirdEye อุปกรณ์ช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทางสายตา" จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ซึ่งออกแบบ และสร้างอุปกรณ์เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทางสายตา โดยใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก และกลไกการให้ความสนใจเชิงภาพ เพื่อจําลองการทํางานด้านการมองเห็นของมนุษย์ผ่านโมเดลโครงข่ายประสาทเทียมในการประมวลผลภาพ เช่น การจําแนกภาพ การตรวจจับวัตถุ และการสร้างคําอธิบายภาพ มีความสามารถในการระบุตําแหน่งสิ่งของ อ่านข้อความ ป้าย และสัญลักษณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยํา ด้วยการทํางานอัตโนมัติ หรือสั่งการด้วยเสียงได้ ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างอิสระ และปลอดภัยมากขึ้น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ผลงาน "นวัตกรรมวัสดุหนังเทียมเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชัน" จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างเปลือกโกโก ใยเปลือกทุเรียน และเปลือกมังคุด ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ต้นทุนต่ำ มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ทนทาน และย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้ เหมาะสำหรับนำมาเป็นวัสดุทดแทนหนัง นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือทิ้ง แต่ยังสามารถสามารถสร้างสินค้าทันสมัย และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ผลงาน "นวัตกรรม CS-M Tool เครื่องมือตรวจโรคหัวใจด้วยตนเองเสตทโตสโคพวิเคราะห์ร่วมกับเทคโนโลยี AI ผ่านแอพพลิเคชัน" จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางแพทย์ตัวแรก ที่ช่วยให้ทุกคนสามารถตรวจโรคหัวใจได้ด้วยตนเองง่ายๆ ที่บ้าน ด้วยการใช้เสียงหัวใจฟังผ่านเสตทโตสโคพ จากนั้นวิเคราะห์เสียงด้วย AI และแสดงผลผ่านแอพพลิเคชัน นวัตกรรมนี้ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ลดโอกาสการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการตรวจโรคหัวใจได้มากขึ้น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ ผลงาน "นวัตกรรมเครื่องนับจำนวน และแยกไซซ์ขนาดทุเรียนบนต้นด้วยเทคโนโลยี AI" จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี นวัตกรรมนี้ ได้รับการออกแบบให้เคลื่อนที่ได้สะดวก เพิ่มประสิทธิภาพโดยลดต้นทุนแรงงานในการนับผลผลิตทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง
Ford ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการ Ford Innovator Scholarship อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พศ. 2558 ภายใต้การจัดสรรงบประมาณของ Ford Philanthropy หน่วยงานเพื่อสังคมของ Ford Motor Company มอบทุนสนับสนุนแก่ทีมผู้ชนะแล้วถึง 232 ทุน รวมกว่า 6,700,000 บาท นับเป็นหนึ่งในโครงการมอบทุนการศึกษา และพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรมสำหรับเยาวชน และสถาบันการศึกษาที่ใหญ่ในประเทศไทย โครงการยังมุ้งเน้นการเสริมองค์ความรู้ และฝึกฝนความสามารถของนักเรียน นักศึกษา ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ถือเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ในแนว ทางที่ยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างการเชื่อมต่อนวัตกรรมเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน และสังคมได้จริง สอดคล้องกับพันธกิจของ Ford Phi,anthropy ในมิติการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อตอบโจทย์ทักษะอาชีพในอนาคต