ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
สอท. เผยเดือนธันวาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 104,878 คัน ลดลงร้อยละ 17.37
สภาอุตสาหกรรม เผยเดือนธันวาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 104,878 คัน ลดลงร้อยละ 17.37 ขาย 54,016 คัน ลดลงร้อยละ 20.94 ส่งออก 76,346 คัน ลดลงร้อยละ 15.46 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 1,198 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19,866.67 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 5,289 คัน ลดลงร้อยละ 39.58
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประ เทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2567 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนธันวาคม 2567 มีทั้งสิ้น 104,878 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 17.37 ลดลงจากการผลิตขายในประเทศลดลงร้อยละ 28.50 ตามยอดขายในประ เทศที่ลดลง และผลิตส่งออกลดลงร้อยละ 9.47 ตามยอดส่งออกที่ลดลง
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,468,997 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 19.95
รถยนต์นั่ง เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ 38,749 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 17.75 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 19,127 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 40.41
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 1,198 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 19,866.67
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 2,528 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 1,070.37
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 15,896 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 7.47
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 มีจำนวน 558,440 คัน เท่ากับร้อยละ 38.02 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 13.53 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 349,934 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 28.66
รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 9,688 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 5,807.32
รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 7,981 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 11.22
รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 190,837 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 30.58
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนธันวาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 91.53
รถยนต์บรรทุก เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 66,129 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 17.14 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 910,547 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 23.42
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 65,168 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 15.12 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 893,700 คัน เท่ากับร้อยละ 60.84 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 22.39 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 141,819 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 30.46
รถกระบะ Double Cab 592,547 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 21.48
รถกระบะ PPV 159,334 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 17.43
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ 961 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 68.29 รวมเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ 16,847 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 55.04
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ 67,203 คัน เท่ากับร้อยละ 64.08 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 9.47 ส่วนเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 1,009,141 คัน เท่ากับร้อยละ 68.70 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 12.07
รถยนต์นั่ง เดือนธันวาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 14,611 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 39.40 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 295,353 คัน เท่า กับร้อยละ 52.89 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 10.54
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนธันวาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 52,592 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 4.93 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 713,788 คัน เท่ากับร้อยละ 79.87 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ12.69 โดยแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 61,551 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 19.89
รถกระบะ Double Cab 525,189 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 14.37
รถกระบะ PPV 127,048 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 0.23
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ 37,675 คัน เท่ากับร้อยละ 35.92 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 28.50 และเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ 459,856 คัน เท่า กับร้อยละ 31.30 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 33.09
รถยนต์นั่ง เดือนธันวาคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 24,138 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 4.94 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ผลิตได้ 263,087 คัน เท่ากับร้อยละ 47.11 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราค-ธันวาคม 2566 ลดลงร้อยละ 16.66
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนธันวาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 12,576 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 52.82 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 179,912 คัน เท่ากับร้อยละ 20.20 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 46.14 ซึ่งแบ่งเป็น
รถกระบะบรรทุก 80,268 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 36.85
รถกระบะ Double Cab 67,358 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 52.33
รถกระบะ PPV 32,286 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 50.80
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนธันวาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 91.53
รถบรรทุก เดือนธันวาคม 2567 ผลิตได้ 961 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 68.29 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 16,847 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 55.04
รถจักรยานยนต์
เดือนธันวาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 202,614 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 0.74 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 153,702 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.58 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 48,912 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 33.64
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,426,367 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.88 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,887,208 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.01 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 539,159 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 53.11
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนธันวาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 54,016 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2567 ร้อยละ 27.67 แต่ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 20.94 ลดลงจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินจากหนี้ครัวเรือนสูง หนี้เสียรถยนต์ยังเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราต่ำ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงลดลงโดย ทำให้แรงงานมีอำนาจซื้อลดลง
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 32,305 คัน เท่ากับร้อยละ 59.81 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 18.22
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 14,374 คัน เท่ากับร้อยละ 26.61 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 18.12
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 5,289 คัน เท่ากับร้อยละ 9.79 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 39.58
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 287 คัน เท่ากับร้อยละ 0.53 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 168.22
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 12,355 คัน เท่ากับร้อยละ 22.87 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.58
รถกระบะมีจำนวน 14,410 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 26.27 รถ PPV มีจำนวน 4,494 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.31 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,283 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 61.26 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,524 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 2.21
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 124,793 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 8.66 และลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 5.73
ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 572,675 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 26.18 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 341,956 คันเท่ากับร้อยละ 59.71 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 15.98
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 155,044 คัน เท่ากับร้อยละ 27.07 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 35.01
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 66,732 คัน เท่ากับร้อยละ 11.85 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 9.29
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 2,391 คัน เท่ากับร้อยละ 0.42 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.17
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 117,789 คัน เท่ากับร้อยละ 20.57 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.71
รถกระบะ มีจำนวน 163,347 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 38.30 รถ PPV มีจำนวน 36,843 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 38.89 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 16,046 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.03 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 14,483 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 9.93
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,683,239 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 9.35 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 1,683,039 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.30 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 52.38
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
เดือนธันวาคม 2567 ส่งออกได้ 76,346 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 14.84 แต่ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 15.46 ลดลงจากฐานสูงในปี 2566 และการระมัดระวังในการใช้จ่ายจากความไม่แน่นอนในความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการแข่งขันจากการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน และรถยนต์ใช้น้ำมันจากหลายประเทศรวมทั้งพื้นที่ในเรือไม่เพียงพอ และจำนวนเที่ยวเรือลดลง รวมไปถึงมาตรการเข้มงวดการปล่อยคาร์บอนของรถยนต์ของประเทศคู่ค้าที่ทำให้รถยนต์บางรุ่นนำเข้าไม่ได้
ประเภทรถยนต์ส่งออกเดือนธันวาคม 2567 แบ่งเป็น ดังนี้
รถกระบะ 49,931 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 65.40 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.75
รถยนต์นั่ง ICE 12,566 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 16.46 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 41.61
รถยนต์นั่ง HEV 4,511 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.91 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 54.75
รถ PPV 9,338 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 12.23 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 24.20
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 52,414.34 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 16.14
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,956.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 5.38
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,009.67 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 10.97
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,249.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 3.62
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนธันวาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 72,629.90 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 13.88
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 1,019,213 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 8.80 แบ่งเป็น
รถกระบะ ICE 583,770 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 57.28 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.49
รถยนต์นั่ง ICE 250,184 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 24.55 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 20.91
รถยนต์นั่ง HEV 49,438 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.85 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 233.03
รถ PPV 135,821 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.33 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 7.11
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 699,162.47 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 2.89 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 35,432.15 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 8.33
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 191,290.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 0.95
อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 26,664.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 8.15
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 952,550.17 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 2.08
รถจักรยานยนต์
เดือนธันวาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 81,175 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2567 ร้อยละ 0.06 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 6.01 โดยมีมูลค่า 5,361.58 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 6.98
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 124.06 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 23.95
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 181.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 27.40
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนธันวาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 5,667.26 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 6.63
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 938,762 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.12 มีมูลค่า 63,968.75 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.74
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 2,522.96 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 13.75
อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,973.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 4.04
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 68,464.95 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 6.74
เดือนธันวาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 78,297.16 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ13.39
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 1,021,015.12 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 2.41
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี 2568 โดยแยกเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประ เทศ ดังนี้
รถยนต์
ประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี 2567 ประมาณ 1,500,000 คัน มากกว่าปี 2567 ซึ่งมีจำนวน 1,468,997 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.11 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,000,000 คัน เท่า กับร้อยละ 66.66 ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 500,000 คัน เท่ากับร้อยละ 33.34 ของยอดการผลิตทั้งหมด
ผลิตเพื่อการส่งออก จำนวน 1,000,000 คัน ปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,009,141 คัน ลดลงร้อยละ 0.91
ปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้
ระยะสั้นจากการขึ้นภาษีนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่สูงมากนักอาจจะไม่กระทบมูลค่าการค้าโลกมากดังที่กังวลกันซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
อัตราดอกเบี้ยอาจลดลง และราคาน้ำมันอาจลดลงทำให้อำนาจซื้อของประเทศคู่ค้าสูงขึ้นส่งผลให้การส่งออกดีขึ้น ต้องติดตามว่าลดลงมากน้อยแค่ไหน
ติดตามสงครามในภูมิภาคต่างๆ ว่ายุติได้หรือไม่ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจใช้เงินของประชาชนในประเทศต่างๆ
ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้
ความชัดเจนในมาตรการด้านการค้า และอื่นๆ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ว่าจะขึ้นภาษีากรนำเข้าอีกมากน้อยแค่ไหน
คู่แข่งในประเทศคู่ค้ามีมากขึ้น
ประเทศคู่ค้ามีการผลิตรถกระบะซึ่งอาจลดคำสั่งซื้อ และอาจส่งออกแทนประเทศไทยจากการผลิตรถกระบะลดลง
ความขัดแย้งและการสู้รบในภูมิภาคต่างๆ อาจขยายเพิ่มขึ้นทั้งภูมิภาคเดิม และภูมิภาคใหม่
มาตรการเข้มงวดการปล่อยคาร์บอนของรถยนต์ของประเทศคู่ค้าที่ทำให้รถยนต์บางรุ่นนำเข้าไม่ได้
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 500,000 คัน ปีที่แล้วที่ผลิตได้ 459,856 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73
ปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้
การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าโครงการ EV 3.0 ในอัตรา 1.5 เท่า
เศรษฐกิจในประเทศขยายตัว 2.4-2.9 %
คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากปี 2567
ส่งออกสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรรวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น
การแจกเงินของรัฐบาลให้กลุ่มต่างๆ
การกระตุ้นเศรษฐกิจ E-Receipt
การลงทุนของภาครัฐ
ปี 2567 มีผู้ขอรับส่งเสริมการลงทุนในประเทศสูงถึง 1.12 ล้านล้านบาทสูงที่สุดในรอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากปี 2566 โดยยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 102,366 ล้านบาท
จะมีการลดดอกเบี้ยในประเทศซึ่งจะทำให้ต้นทุน และภาระการชำระหนี้ลดลงช่วยเพิ่มอำนาจซื้อในประเทศ
ราคาน้ำมันอาจลดลงจากการเรียกร้องของประธานาธิบดีสหรัฐซึ่งจะทำให้ภาระค่าใช้จ่าย และต้นทุนการดำเนินงานลดลง อำนาจซื้อของประชาชนมากขึ้น
ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้
ความเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพราะมาตรการการปล่อยสินเชื่อแบบรับผิดชอบจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
ติดตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะยังคงลดลงหรือไม่เพราะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของเศรษฐกิจในประเทศและมีแรงงานถึงร้อยละ 16 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจซื้อในประเทศ
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนอาจจะไม่รุนแรงซึ่งจะทำให้การย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนมายังประเทศไทยชะลอตัวลงได้เพราะประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐอเมริ กาซึ่งจะส่งผลกระทบการจ้างงานในประเทศไทย
หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงอาจจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ค่าครองชีพยังทรงตัวในระดับสูงซึ่งจะส่งผลต่ออำนาจซื้อของประชาชน
รถจักรยานยนต์
ประมาณการการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2568 ประมาณ 2,100,000 คัน มากกว่าปี 2567 ซึ่งมีจำนวน 1,487,605 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.10 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 400,000 คัน เท่ากับร้อยละ 19.04 ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 1,700,000 คัน เท่ากับร้อยละ 80.96 ของยอด
การผลิตทั้งหมด
ผลิตเพื่อการส่งออก จำนวน 400,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 0.10
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 1,700,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 14.28
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนธันวาคม 2567
เดือนธันวาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,146 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 36.12 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,352 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 42.03
รถยนต์นั่ง จำนวน 5,147 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 195 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 8 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 35 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 12.50
รถยนต์สามล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 2 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 95.35
รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 2 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 1,648 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 10.77
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,648 คัน
รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 79 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 1,028.57
รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 30 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 66.67
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 96,804 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 3.21 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 69,979 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 8.07
รถยนต์นั่ง จำนวน 68,023 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1,860 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 12 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 81 คัน
รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 604 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 178.34
รถยนต์สามล้อ มีทั้งสิ้น 147 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 65.97
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล จำนวน 40 คัน
รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 107 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 25,119 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 14.56
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 25,009 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 110 คัน
รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 375 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 69.21
รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 580 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 523.66
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนธันวาคม 2567
เดือนธันวาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 5,986 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 8.66 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,937 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 8.56
รถยนต์นั่ง จำนวน 5,926 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 4 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 7 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 49 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 22.50
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 49 คัน
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 127,214 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 49.54 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 126,646 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 49.92
รถยนต์นั่ง จำนวน 126,525 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 34 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 18 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 66 คัน
รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 568 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 4.22
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 568 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนธันวาคม 2567
เดือนธันวาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 521 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 2.62 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่งแ ละรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 521 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 2.62
รถยนต์นั่ง จำนวน 521 คัน
เดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 9,372 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 19.92 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 9,372 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 ร้อยละ 19.92
รถยนต์นั่ง จำนวน 9,365 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 7 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 227,470 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 72.52 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 159,266 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 77.48
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 156,162 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 75.69
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,480 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 332.40
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 78 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 105.26
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 156 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 300
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 387 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 94.47
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 869 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 211.47
รถยนต์สามล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,017 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 12.87
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 113 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 41.25
รถยนต์รับจ้างสามล้อ มีจำนวน 904 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 10.11
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 62,631 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 63.91
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 62,508 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 64.17
รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 123 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 8.89
อื่นๆ
รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,791 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 15.38
รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 896 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 195.71
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 469,543 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 36.65 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 460,178 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 37.57
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 459,163 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 37.61
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 498 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 4.18
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 72 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 41.18
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 216 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 39.35
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 150
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 224 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 62.32
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,362 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.86
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,362 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.86
อื่นๆ
รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 63,184 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.05 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 63,184 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.05
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 63,113 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 17.07
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 43 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 4.88
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 18 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 14.29
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
..............................................................................................................
Toyota เผยสถิติยอดขายปี 2567
Toyota (โตโยตา) เผยรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 ยังคงอยู่กับสถานการณ์ที่ท้าทายเป็นอย่างมาก จากสภาวะโดยรวม และทิศทางของตลาดในปีที่ผ่านมา สะท้อนมายังตลาดรถ ยนต์ในประเทศ โดยมีตัวเลขยอดขายรวมในปี 2567 อยู่ที่ 572,675 คัน หรือลดลง 26.2 % เมื่อเทียบกับปี 2566
สถิติการขายรถยนต์ในปี 2567 |
ยอดขายปี 2567 |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
|
572,675 คัน |
-26.2 % |
|
224,148 คัน |
-23.4 % |
|
348,527 คัน |
-27.9 % |
|
200,190 คัน |
-38.4 % |
|
163,347 คัน |
-38.3 % |
ทั้งนี้ มีปัจจัยหลากหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อที่ลดลงตามสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ รวมถึงค่าครองชีพ อัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ทรงตัวสูง ตลอดจนความเข้มงวดของมาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีที่ผ่านมา อาทิ การที่ตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะรถยนต์ไฮบริด (HEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เป็นแรงส่งสำคัญในช่วงที่ตลาดยังไม่ฟื้นตัว เห็นได้จากการที่รถยนต์ไฮบริดในไทยมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 29 % แสดงให้เห็นถึงทางเลือกเทคโนโลยีของผู้บริโภคที่หลากหลายขึ้น
สำหรับยอดขายของ Toyota ในปี 2567 มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 220,356 คัน หรือลดลง 17.1 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หากแต่ยังคงความเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 38.5 % ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของรถในกลุ่มอีโคคาร์ของ Toyota ที่เป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์นั่ง ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสัดส่วนยอดขายรถยนต์ในกลุ่มรถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุ่น Yaris Cross (ยารีส ครอสส์) ที่ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้านับตั้งแต่เปิดตัว
ในขณะที่สัดส่วนยอดขายของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ยังคงครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 44 % จากการที่โตโยต้าพัฒนารถกระบะ Hilux (ไฮลักซ์) ให้รองรับการใช้งานต่างๆ จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของ Toyota Hilux Champ (โตโยตา ไฮลักซ์ แชมพ์) ซึ่งให้การปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้เป็นอย่างดี มียอดขายอยู่ที่ 11,743 คัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 7.2 % ในกลุ่มรถกระบะ นอกจากนี้ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการมีผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่หลากหลายของ Toyota ก็มีส่วนทำให้สามารถเข้าถึง และใกล้ชิดกับลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
สถิติการขายรถยนต์ของ Toyota ในปี 2567 |
ยอดขายปี 2567 |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
ส่วนแบ่งตลาด |
|
220,356 คัน |
-17.1 % |
38.5 % |
|
66,912 คัน |
-32.6 % |
29.9 % |
|
153,444 คัน |
-7.9 % |
44.0 % |
|
91,001 คัน |
-29.3 % |
45.5 % |
|
77,987 คัน |
-26.8 % |
47.7 % |
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2568
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2568 คาดว่าจะยังคงอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด โดยมีแรงหนุนด้านอุปสงค์จากกิจกรรมในภาคธุรกิจ และการลงทุนที่จะกระเตื้องขึ้น ภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความต้องการรถยนต์ให้สูงขึ้น นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายให้เร่งตัวขึ้น การขยายตัวของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันมาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตลอดจนกลยุทธการส่งเสริมการขาย และสงครามราคาจากผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ ที่คงจะทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลต่อการส่งออก ตลอดจนสถานการณ์ที่ทางสถาบันการเงินอาจยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เนื่องจากความกังวลต่อความสามารถในการชำระหนี้จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูงและอัตราหนี้เสียที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไป และทิศทางของนโยบายอัตราดอกเบี้ย ทำให้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2568 จะอยู่ที่ 600,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5 % เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2568 |
ยอดขายประมาณการ ปี 2568 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับ ปี 2567 |
|
600,000 คัน |
+5.0 % |
|
235,900 คัน |
+5.0 % |
|
364,100 คัน |
+4.0 % |
สำหรับ Toyota ตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 231,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5 % โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 38.5 %
ประมาณการยอดขายรถยนต์ Toyota ในปี 2568 |
ยอดขายประมาณการ ปี 2568 |
เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2567 |
ส่วนแบ่งตลาด |
|
231,000 คัน |
+5.0 % |
38.5 % |
|
79,300 คัน |
+19 % |
33.6 % |
|
151,700 คัน |
-1.0 % |
41.7 % |
|
87,365 คัน |
-4.0 % |
47.8 % |
|
73,800 คัน |
-5.0 % |
50.7 % |
ปริมาณการส่งออกรถยนต์และการผลิตของ Toyota ในปี 2567
ในปี 2567 Toyota ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปจำนวน 338,107 คัน ลดลง 11 % จากปี 2566 โดยยอดรวมการผลิตรถยนต์สำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกในปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 536,145 คัน หรือลดลง 14 % จากปี 2566
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของ Toyota ในปี 2567 |
ปริมาณในปี 2567 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
|
338,107 คัน |
-11 % |
|
536,145 คัน |
-14 % |
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์และการผลิตของ Toyota ในปี 2568
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของ Toyota ในปี 2568 คาดการณ์ว่ายังต้องเผชิญกับภาวะทรงตัวสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ตลอดจนภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ Toyota ตั้งเป้าปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 336,184 คัน หรือลดลง 1 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของปี 2568 อยู่ที่ราว 537,860 คัน หรือเพิ่มขึ้น 0.3 % จากปีที่ผ่านมา
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของ Toyota ปี 2568 |
ปริมาณในปี 2568 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2567 |
|
336,184 คัน |
-1.0 % |
|
537,860 คัน |
+0.3 % |
แนวทางในการดำเนินงานด้านอื่นๆ ของ Toyota ในประเทศไทย
1. หนึ่งในหลักการที่ Toyota ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการให้แก่ลูกค้า คือ QDR ซึ่งย่อมาจาก Quality, Durability and Reliability หมายถึงคุณภาพ ความทนทาน และความน่าเชื่อถือ แนวคิดนี้ช่วยให้ Toyota มีชื่อเสียงในเรื่องของคุณภาพ และความน่าเชื่อถือของยานยนต์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน สามารถตอบสนองความคาดหวัง และเสริมสร้างความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อ Toyota ได้อย่างต่อเนื่อง
• คุณภาพ (Quality) Toyota มุ่งมั่นในการผลิตยานยนต์ที่มีคุณภาพสูง ทั้งในด้านการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ และกระบวนการผลิต รวมถึงการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต
• ความทนทาน (Durability) Toyota ให้ความสำคัญกับการผลิตรถยนต์ที่มีความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน และทนต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมต่างๆ
• ความน่าเชื่อถือ (Reliability) รถยนต์ที่ผลิตโดย Toyota ถูกออกแบบให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ไม่เกิดปัญหากะทันหันขณะใช้งาน และสามารถพึ่งพาได้ในทุกสถานการณ์
2. ในการเดินหน้าสู่การเป็น Mobility Company Toyota คำนึงถึงการดูแลลูกค้าอย่างครบวงจร ผ่านการผลิตยนตรกรรมคุณภาพสูง ทนทาน และน่าเชื่อถือ พร้อมกับการให้บริการชิ้นส่วนอะไหล่ และศูนย์บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความอุ่นใจขณะใช้รถ Toyota พร้อมมุ่งเน้นการพัฒนาบริการหลังการขายให้มีมาตรฐาน และคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งแนะนำบริการรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อ (Connected) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานของลูกค้า โดยยังให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า พร้อมสนับสนุนการใช้รถที่ปลอดภัย การบำรุงรักษา และไลฟ์สไตล์ประจำวันของลูกค้า โดยมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อตามทันเทคโนโลยี และตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
• T-Connect : ยกระดับการบริการลูกค้ายุคดิจิทอล เพื่อความสะดวก และคุ้มค่าของลูกค้า โดยแบ่งบริการออกเป็น 5 หมวด พร้อมฟังค์ชัน และบริการมากกว่า 20 บริการ อาทิ บริการสินเชื่อ Connec ted Auto Loan (CAL)/ประกันภัยขับดี Pay How You Drive (PHYD)/บริการช่วยเหลือด้านความปลอดภัย เช่น ระบบ Find My Car, Theft Track, SOS ช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชม. ดูแลเคสได้ 100 %/บริการอำนวยความสะดวกในการเข้าศูนย์บริการ แจ้งเตือนเข้าเชคระยะ ติดตามสถานะการซ่อมผ่านแอพพลิเคชัน/สิทธิพิเศษไลฟ์สไตล์ ผ่านความร่วมมือกับ The1 เพื่อแลกส่วนลด และสะสมคะแนนเพื่อใช้ที่เซนทรัล และร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศ
• TCFR Plus+ : ยกระดับการบริการหลังการขายของ Toyota มอบความมั่นใจให้ลูกค้าตลอดระยะเวลาการเป็นเจ้าของรถ Toyota โดยบริการหลังการขายที่มีศูนย์บริการกว่า 450 แห่งทั่วประเทศ ให้บริการที่มีคุณภาพ และมาตรฐานเดียวกัน พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย
• บริการทางเลือกอะไหล่คุณภาพ และรถใช้แล้วคุณภาพดี เพื่อให้ครอบคลุมด้านงานบริการอย่างครบวงจร และให้ลูกค้าเกิดความสบายใจตลอดการใช้รถ สำหรับรถยนต์ที่หมดระยะการรับประกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกันภัย บำรุงรักษา รวมถึงการดูแล ตลอดจนราคาขายต่อของรถที่ยังคงสมเหตุสมผล อาทิ
Fix Fit ศูนย์บริการทางเลือกที่ได้มาตรฐาน สะดวก ไม่ต้องนัดหมาย ใกล้บ้าน บริการรถทุกยี่ห้อ เหมาะสำหรับลูกค้านอกระยะรับประกัน
อะไหล่ทางเลือก (T-OPT) อะไหล่คุณภาพระดับ OEM ที่ได้มาตรฐาน รับประกันความคุ้มค่า มีจำหน่ายที่ศูนย์บริการ Toyota และ Fix Fit ทั่วประเทศ
Toyota Sure บริการรับซื้อ แลกเปลี่ยนรถทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ และยังมีรถใช้แล้วคุณภาพดี Sure Certified by Toyota ที่มาพร้อมกับราคาที่เข้าถึงได้
3. Toyota ยังได้มีในการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) โดยเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง หรือ “Multi Path way” เพื่อทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยแกสเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน โดยมีการร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อดำเนินโครงการเกี่ยวกับการใช้งานยานยนต์ที่หลากหลาย ซึ่งทาง Toyota จัดเตรียมไว้เพื่อให้ทดลองใช้งานในการเดินทางรูปแบบต่างๆ อาทิ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) อีกด้วย
4. ในด้านกิจกรรมสังคมอื่นๆ Toyota ก็ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งเสริมสร้างสิ่งแวด ล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี ผ่านการดำเนินกิจกรรม และขยายผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ
• การรณรงค์ด้านการขับขี่ปลอดภัยกับ “โครงการ โตโยต้า ถนนสีขาว"
• การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนกับ “โครงการ ลดเปลี่ยนโลก”
• การดำเนิน “โครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” โดยแชร์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนไทย
• การดำเนินโครงการ “Toyota Giving ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” ซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนผ่านการให้ในทุกมิติ ทั้งในด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญา และการศึกษา
..............................................................................................................
Suzuki เปิดศูนย์ซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐานเพิ่ม 3 แห่ง
Suzuki (ซูซูกิ) เปิดศูนย์ซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐานเพิ่ม 3 แห่ง ยกระดับงานบริการ สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า ตั้งเป้าขยายครบ 50 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ตามแผนงานด้านการขาย ที่จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ในปีนี้
ทาดาโอะมิ ซูซูกิ ประธานกรรมการบริหาร ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า Suzuki ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนางานบริการทุกด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ “Enhancing The Ability to Compete in The Upcoming Automotive Market” ที่เคยประกาศไว้ โดยยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถของผู้จำหน่ายรถยนต์ให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง พร้อมกับการยกระดับงานบริการรูปแบบใหม่ ตอกย้ำถึงการดูแลลูกค้าด้วยความจริงใจ ผ่านคุณภาพ และมาตรฐานของ Suzuki
จากแผนงานที่ Suzuki ได้ร่วมมือกับทางผู้จำหน่ายทั่วประเทศ ขยายงานบริการศูนย์ซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐาน เพื่อรองรับงานบริการได้อย่างครบครัน ในปีนี้เราเดินหน้าแผนงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ด้วยการเปิดศูนย์บริการซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐาน Suzuki เพิ่มเติมอีก 3 แห่ง และจะทยอยเปิดบริการเพิ่มขึ้นในปีนี้เพื่อให้สามารถรองรับการดูแลลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานของ Suzuki อย่างแท้จริง
นอกจากการขยายศูนย์ซ่อมตัวถัง และสี Suzuki ยังยกระดับไปอีกขั้นด้วยงานบริการแบบ S-Solution ซึ่งเป็นการช่วยเสริมให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการแนะนำผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่เตรียมจะนำมาจำหน่ายตามแผนงานด้านการขายที่จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ภายในปีนี้ ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า และสามารถแข่งขันได้ในอนาคตอย่างแน่นอน
วัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ Suzuki แสดงให้ผู้บริโภคได้รับทราบเสมอมา คือ ความใส่ใจในงานบริการ และการดูแลลูกค้าอย่างจริงใจ ผ่านการร่วมมือร่วมใจกับผู้จำหน่ายในการพัฒนา และเดินหน้าการยกระดับงานบริการให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยที่ผ่านมา Suzuki ร่วมกับผู้จำหน่ายในพิธีแต่งตั้งศูนย์บริ การซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐาน Suzuki อย่างเป็นทางการ จำนวน 3 ราย (4 สาขา) ครอบคลุมพื้นที่บริการในหลายจังหวัดมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
ลำดับ |
ชื่อบริษัทผู้จำหน่าย |
บริหารงานโดย |
จังหวัด |
ภูมิภาค |
1 |
บริษัท ชุนหลี ออโต เซลส์ จำกัด |
นิรันดร์ ตั้งกงพานิช |
สระแก้ว |
กลาง และตะวันออก |
2 |
บริษัท เอส ซี เอ็น ออโต กรุ๊ป จำกัด |
นิรันดร์ ตั้งกงพานิช |
นครนายก |
กลางและตะวันออก |
3 |
บริษัท ไอทีโอเอ ออโต้เซลส์ จำกัด |
ณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ |
ชลบุรี (ศรีราชา) |
กลาง และตะวันออก |
4 |
บริษัท เอ พี เอ็ม ออโตโมบิล จำกัด |
ชานนท์ สุวรรณาภินันท์ |
พระนครศรีอยุธยา |
กลาง และตะวันออก |
โดยผู้จำหน่ายทั้ง 3 ราย ผ่านการรับรองมาตรฐานงานบริการจาก บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ปัจจุบันเราจึงมีศูนย์บริการซ่อมตัวถัง และสีที่ให้บริการทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 41 สาขา ซึ่ง 5 จุดแข็งอันสำคัญที่ทุกศูนย์บริการที่ผ่านมาตรฐานต้องมี ประกอบด้วย
อะไหล่แท้ Suzuki : เชื่อมั่นในคุณภาพของอะไหล่แท้ที่ได้รับรองมาตรฐานของ Suzuki
บริการอย่างมืออาชีพ : มั่นใจในบริการ และการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพเป็นมิตรและใส่ใจทุกรายละเอียดการซ่อมโดยช่างผู้มีความชำนาญที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการอบรมในการซ่อมรถยนต์ Suzuki
เครื่องมือมาตรฐาน Suzuki : ใช้เครื่องมือเฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก Suzuki ช่วยให้การซ่อมมีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมั่นใจในคุณภาพงานซ่อม
สีซ่อมรถยนต์ที่ได้รับรองมาตรฐาน Suzuki : ใช้สีซ่อมรถยนต์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของ Suzuki ทำให้สีรถสวยงาม และทนทาน เหมือนใหม่จากโรงงาน
การรับประกันงานซ่อม : รับประกันงานซ่อมว่ามีคุณภาพ และมาตรฐานสร้างความอุ่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า โดยจะรับประกันงานซ่อม 1 ปี ไม่จำกัดระยะทาง และอะไหล่รับประกัน 1 ปี หรือ 20,000 กม. (อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน)
วัลลภ กล่าวเพิ่มเติมว่า Suzuki ยังมีแผนงานที่จะขยายงานบริการศูนย์ซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐาน Suzuki เพิ่มเติมให้เป็น 50 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจของ Suzuki และรองรับลูกค้าพร้อมส่งมอบบริการ และประสบการณ์การใช้บริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้อย่างครบครันอีกด้วย
นอกจากการขยายศูนย์ซ่อมตัวถัง และสีมาตรฐาน Suzuki งานบริการด้านอื่นๆ ยังถูกยกระดับเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลลูกค้า (Dealer Management Sys tem หรือ DMS) ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ในแบบ Real Time ซึ่งช่วยให้ทราบถึงประวัติการเข้ารับบริการของลูกค้า และสามารถประเมินความต้องการ ไปจนถึงเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการได้อย่างแม่นยำ
อย่างไรก็ตาม ปรัชญา “Suzuki Cause We Care-เหนือกว่าความใส่ใจ คือ ความเข้าใจทุกความต้องการ” นอกจากเป็นแนวทางในการยึดมั่นให้เราพัฒนางานบริการ และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อลูกค้าแล้ว ยังเป็นโครงการที่ต้องการสื่อสารไปยังลูกค้า และคนไทยทุกท่าน ว่านอกเหนือจากที่ Suzuki เป็นผู้ผลิต และจำหน่ายรถยนต์แล้ว เรายังหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการอยู่คู่เคียงข้างชุมชน และสังคมไทยอย่างยั่งยืนอีกด้วย
..............................................................................................................
ไทยฮอนด้าฯ ประกาศแผนงานมอเตอร์สปอร์ท 2025
ไทยฮอนด้าฯ ผู้นำวงการมอเตอร์สปอร์ตไทย แถลงนโยบายมอเตอร์สปอร์ทประจำปี 2025 มุ่งสู่การสานต่อความสำเร็จหลังบรรลุเป้าหมายส่งนักแข่งไทยสู่ MotoGP ได้ในปีนี้ วาง 3 แผนงานสำคัญ เริ่มจากแผนงาน Honda Race to The Dream นำโดย “ก้อง สมเกียรติ จันทรา” สู้ศึก MotoGP เต็มฤดูกาล และแผนงาน Honda Race to The Champion โดยมี “ชิพ-นครินทร์” นำทัพนักแข่งดาวรุ่งล่าแชมพ์ Asia Road Racing Championship และแผนงานใหม่ HRT Junior Talent Program เพื่อพัฒนานักแข่งกลุ่มพิเศษอย่างเข้มข้นด้วยโปรแกรมเฉพาะ มุ่งต่อยอดสู่การเป็นนักแข่งระดับโลกรุ่นต่อไป ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568
ยูอิจิ ชิมิซุ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด เผยว่า มอเตอร์สปอร์ทในปีที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความตื่นเต้น และท้าทาย เราบรรลุเป้าหมายระยะยาวที่เคยประกาศไว้เมื่อหลายปีก่อน คือ การพานักแข่งไทยไป MotoGP แต่ทั้งหมดนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้น สิ่งต่อไปที่ไทยฮอนด้าฯ ต้องทำ คือ การพัฒนานักบิดรุ่นใหม่ที่มีพรสวรรค์ขึ้นมาทดแทนอย่างต่อเนื่อง ด้วยโปรแกรมฝึกใหม่ที่เข้มข้นกว่าเดิม เพื่อต่อยอดความสำเร็จของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ต่อไป ต้องขอขอบคุณท่านผู้สนับสนุน ผู้สื่อข่าว รวมถึงแฟนๆ มอเตอร์สปอร์ททุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีเสมอมา
สำหรับแผนงาน Honda Race to The Dream ที่มีเป้าหมายพานักบิดไทย ไปสร้างชื่อเสียงในระดับโลกนำโดย "ก้อง" สมเกียรติ จันทรา นักบิด MotoGP ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ ที่เซ็นสัญ ญา 2 ปีกับสังกัด Idemitsu Honda LCR ลงบิดในพรีเมียร์คลาสส์ ด้วยรถแข่ง Honda RC213V หมายเลข 35 โดยจะจับคู่กับทีมเมทชาวฝรั่งเศสอย่าง โยฮันน์ ซาร์โก ขณะเดียวกัน "ก๊องส์" ธัชกร บัวศรี นักบิดหมายเลข 5 จาก Honda Asia Team ยังคงได้รับความไว้วางใจให้ไล่ล่าผลงานในศึก Moto3 World Championship เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยจะยกระดับเป้าหมายคว้า Top 15 ของโลก
ในศึกดาวรุ่งชิงแชมพ์โลกส่ง "ไม้คิว" เกียรติศักดิ์ สิงหพงษ์ วัย 19 ปี ขยับขึ้นไปลุยศึกดาวรุ่งชิงแชมพ์โลก 2 รายการ ได้แก่ JuniorGP 2025 และ Red Bull MotoGP Rookie Cup 2025 ส่วนการแข่งขันรายการ Idemitsu Asia Talent Cup 2025 จะมีนักบิดดาวรุ่งจาก Honda Thailand Talent Cup เข้าร่วมแข่งขัน 2 คน ได้แก่ "ออสติน" ธนฉรรต ประทุมทอง และ "อุ้ม" นพรุธพงษ์ บุญประเวศ นอกจากนี้ จะยังคงเดินหน้าพัฒนาประสบการณ์ผ่านการแข่งขัน Honda Thailand Talent Cup 2025 และโครงการ Honda Academy Thailand 2025 โดยมีเป้าหมายในการสร้างพื้นฐานที่แข็ง แกร่ง และการพัฒนาอย่างถูกต้องในช่วงเริ่มต้นอาชีพนักบิด ภายใต้การดูแลของผู้ฝึกสอนระดับมืออาชีพ
ด้านแผนงาน Honda Race to The Champion ในปีนี้ไทยฮอนด้าฯ มีการขยับตัวครั้งสำคัญ โดยจะมีนักบิดหลักในโรดแมพนี้ทั้งสิ้น 4 คน ลงไล่ล่าแชมพ์เอเชีย รายการ Asia Road Racing Cham pionship 2025 นำโดย "ชิพ" นครินทร์ อธิรัฐภูวภัทร์ อดีตนักบิด Moto3 คนแรกของไทยที่จะควบรถแข่ง Honda CBR1000RR-R หมายเลข 41 ลุย ในรุ่น Asia Superbike 1,000 ซีซี (ASB1000) ควบคู่กับรายการ MFJ Superbike All Japan Road Race Championship 2025 ในรุ่น ST1000
ส่วน 2 ดาวรุ่งอย่าง "มิกซ์" ธนัช ละอองปลิว และ "ข้าวก้อง" จักรีภัทร พฤฒิสาร จะจับคู่บิดรถแข่ง Honda CBR600RR รวมถึง "ไฮเป๊ก" กฤษฎา ธนะโชติ ในรุ่น Supersport 600 ซีซี (SS600)
ขณะที่ในคลาสส์ Asia Production 250 ซีซี (AP250) กับรถแข่ง Honda CBR250RR ส่ง 2 นักบิดดาวรุ่ง "เฟอร์" ปัญจรุจน์ จิตวิรุฬห์ฉัตร จับคู่กับ "ชินโจ" ณภัทร จาตูม ซึ่งทั้งคู่จะแข่งขันในรายการ Honda Thailand Talent Cup 2025 ควบคู่กันไปด้วย พร้อมกับนักบิดอีก 3 คนในโครงการอย่าง "ออสติน" ธนฉรรต ประทุมทอง, "อุ้ม" นพรุธพงษ์ บุญประเวศ และ "ไบรท์" เตชินท์ อินทร์อภัย ซึ่ง 3 รายหลังจะลงในรายการ All Japan รุ่น J-GP3 และยังได้รับสิทธิ์ไวลด์การ์ดแข่งขันใน เอเชีย โร้ด เรซซิ่ง หากผลงานเป็นไปตามเป้าหมายอีกด้วย
นอกจากนี้ ในศึกซูเพอร์ไบค์ชิงแชมพ์ประเทศไทย รายการ BRIC Superbike Championship 2025 ยังส่ง "มิกซ์" ธนัช ละอองปลิว และ "ข้าวกล้อง" จักรีภัทร พฤฒิสาร จับคู่ลงแข่งขันร่วมกับทีมอิสระของ Honda เพื่อไล่ล่าแชมพ์ประเทศไทย ภายใต้การนำทีมในฐานะผู้จัดการทีมของ "ฟิล์ม" รัฐภาคย์ วิไลโรจน์ อีกด้วย
สำหรับการแข่งขันทางฝุ่น ในศึกโมโตครอสชิงแชมพ์ประเทศไทย รายการ “FMSCT Thailand Motocross 2025” ส่ง 5 นักบิด ลงแข่งขันภายใต้ทีมอิสระ ประกอบด้วย กฤษฎา จำรูญจารีต สังกัดทีม Honda 17 พรนุภาพ เดิร์ทช็อป อิเดมิตสึ ดันล็อป, ภานุพงศ์ สมสวัสดิ์ สังกัดทีม Honda ส.จ.โก๋ DRTC Idemitsu WRC Singha, จิรัฎฐ์ วรรณลักษณ์ สังกัดทีม Honda Racing Thailand Wanna lak Motorsport และธนรัตน์ พานิชไทย พร้อมทีมเมท พัสกร ปริยวงศธร ภายใต้สังกัดทีม Honda Racing Thailand S Motor ลงชิงชัยโดยมีเป้าหมายคว้าแชมพ์ประเทศไทย
ส่วนแผนงาน Junior Talent Program ซึ้งเป็นหลักสูตรพัฒนานักแข่งด้วยการฝึกอย่างเข้มข้น โดยพัฒนาต่อยอดจากหลักสูตรของ Honda Racing School ซึ่งเป็นต้นแบบการสร้างนักแข่งของ Honda ในระดับเอเชีย และโอเชียเนีย โดยไทยฮอนด้าฯ จะคัดเลือกนักแข่งดาวรุ่งที่มีทั้งพรสวรรค์ และความสามารถ เข้าร่วมโปรแกรม โดยมีการพัฒนาอย่างเข้มข้นใน 5 ด้าน ประกอบด้วย การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย (Physical Strength) การเรียนรู้สไตล์การขับขี่ที่หลากหลาย (Adaptive Riding Skill) การฝึกฝน เพิ่มประสบการณ์การแข่งขัน (Riding Experience) การสร้างความอดทน ทั้งร่างกาย และจิตใจ (Physical & Mental Endurance) และการเสริมสร้างวินัยในแบบนักกีฬาอาชีพ (Discipline) ในปี 2025 จะมีนักแข่งดาวรุ่งที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาทั้ง 5 ด้าน พร้อมกับลงแข่งขันในรายการสำคัญของเอเชีย เพื่อยกระดับขีดความสามารถสู่การเป็นนักแข่งระดับโลกต่อไป
..............................................................................................................
Axalta ประกาศทเรนด์สีรถยนต์ปี 2025
Axalta Coating Systems ผู้นำสีพ่นรถยนต์อันดับ 1 ของโลก ประกาศทเรนด์สีรถยนต์ ประจำปี 2025 ได้แก่ สี Evergreen Sprint นับเป็นปีที่ 11 ในการประกาศทเรนด์สีรถยนต์จาก Axalta และเป็นครั้งที่ 2 ที่ทเรนด์สีแห่งปีเป็นโทนสีเขียว
Evergreen Sprint คือ สีเขียวเข้มป่าขจี ที่เคารพต่อสีเขียวบริทิชเรซิงในตำนาน เฉดสีอันโดดเด่นบนรถแข่งชั้นนำของอังกฤษ เป็นสัญลักษณ์แห่งความเร็ว และสมรรถนะอันยอดเยี่ยม แม้จะสะท้อนความเร้าใจของโลกมอเตอร์สปอร์ท สีรถยนต์แห่งปีล่าสุดนี้จาก Axalta ยังมอบความหรูหราให้แก่รถซีดาน และเอสยูวีด้วย ทำให้ Evergreen Sprint เป็นตัวเลือกที่ลงตัวสำหรับยานยนต์ทุกรูปแบบ
แดน เบนตัน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดด้านสีรถยนต์ของ Axalta กล่าวว่า เฉดสีอันโดดเด่นนี้ช่วยเติมเต็มความตื่นเต้นให้แก่สีรถยนต์แห่งปีของเรา ซึ่ง Evergreen Sprint ให้ความโดดเด่นบนท้องถนน และสะท้อนจิตวิญญาณแห่งสมรรถนะ การแข่งขัน และการผจญภัย สีสันอันมีพลังนี้จะดึงดูดสายตาของผู้ขับขี่ที่หลงใหลในความเร็วอย่างแน่นอน
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสีรถยนต์ของ Axalta ได้ร่วมมือกันทำงานเป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อเผยโฉมเฉดสีใหม่ที่กำลังมาแรงในตลาดยานยนต์ ปีนี้ เฉดสีเขียว ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในทเรนด์ที่กำลังเติบโต และได้รับความนิยม ตามรายงาน Global Automotive 2023 Color Popularity Report ของ Axalta พบว่า สีเขียว มีการใช้กับรถยนต์ทั่วโลกประมาณ 2 %
.............................................................................................................
Red Bull พร้อมสนับสนุน สมเกียรติ จันทรา
ก้อง-สมเกียรติ จันทรา นักแข่งจากทีม Red Bull เตรียมสร้างประวัติศาสตร์ในฐานะนักแข่งหน้าใหม่ของประเทศไทยในรายการ MotoGP ภายหลังการเซ็นสัญญากับ ทีม LCR Honda ในฤดูกาลปี 2568 พร้อมลงทดสอบ MotoGP ช่วงวินเทอร์ เทสต์ ที่สนามเซปังฯ
นักบิดวัย 26 ปี จากจังหวัดชลบุรี จะขึ้นแท่นมาแข่งขันในรายการชั้นนำระดับโลก จากการสนับสนุนของ Red Bull แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังสัญชาติยุโรป
พร้อมเผชิญหน้าทุกความท้าทาย
ก้อง-สมเกียรติ บิดคันเร่งเข้าสู่ฤดูกาลปี 2568 ด้วยแรงขับเคลื่อนที่จะสร้างผลงานในการแข่งขัน MotoGP เริ่มจากช่วงวินเทอร์ เทสต์ ที่สนามเซปังฯ โดยนักแข่ง Rookie วางแผนที่จะขัดเกลาทักษะ และปรับตัวให้พร้อมก้าวขึ้นสู่การแข่งขันมอเดอร์ไซค์ระดับโลก
สมเกียรติ จันทรา กล่าวว่า ตั้งแต่ผมยังเป็นเด็ก ผมเคยฝันเสมอว่าอยากเป็นนักแข่ง MotoGP แต่ไม่เคยคิดเลยว่าความฝันนั้นจะกลายเป็นจริงได้ แม้การได้ลงแข่งใน Moto2 ก็ถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เกินฝันสำหรับสำหรับผมแล้วแต่วันนี้การได้มาเป็นนักแข่งใน MotoGP มันยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ผมเคยจินตนาการไว้จริงๆ
"ผมตื่นเต้นมาก และนับถอยหลังรอคอย วินเทอร์ เทสต์ ที่สนามเซปังฯ ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้ไปทำการทดสอบที่สนามคาตาลุนญา ประเทศสเปน ซึ่งช่วงเวลาที่มีคุณ ค่ามาก เพราะประสบการณ์ครั้งนี้ช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้แก่ผม ทำให้ผมได้รู้ว่าผมยังต้องปรับตัว และทำความเข้าใจ กับเครื่องยนต์ไหม่อีกมากสำหรับการทดสอบที่เซปังที่กำลังจะเกิดขึ้น เป้าหมายของผม คือ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมให้สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับการลงสนามในฤดูกาล MotoGP ที่กำลังจะมาถึง"
สำหรับการทดสอบ วินเทอร์ เทสต์ ในครั้งนี้ จะประเมินความพร้อมสำหรับศึก MotoGP ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ในฤดูกาลปี 2568 ในฐานะนักแข่งทีม LCR Honda
ฤดูกาลของการเปิดตัวนักแข่ง ที่สนับสนุนโดย Red Bull แบรนด์ระดับโลกจากยุโรป
ก้อง-สมเกียรติ เปิดตัวฤดูกาลแรก โดยร่วมมือกับ Red Bull ในปี 2568 ในฐานะนักแข่ง Rookie ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ Red Bull แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังสัญชาติยุโรปที่มีกระป๋องสีน้ำเงิน และสีเงินอันเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนการสปอนเซอร์ของแบรนด์อื่นๆ ทั่วไปแต่จะเป็นการช่วยผลักดันให้ ก้อง-สมเกียรติ สามารถปลดลอคศักยภาพในฐานะนักกีฬาระดับโลกเพื่อเปิดตัวอย่าง "สมเกียรติ" ในสนาม MotoGP ที่กำลังจะมาถึง
นอกเหนือจากการร่วมงานกับนักโกชนาการ, ทเรเนอร์ด้านการออกกำลัง, และทีมดูแลสภาพจิตใจระดับชั้นนำแล้ว ก้อง-สมเกียรติ ยังสามารถเข้าถึงโปรแกรมการฝึกซ้อม และศูนย์พัฒนาสมรรถภาพทางการกีฬาระดับสูงอย่าง Athlete Performance Center (APC) ที่นักแข่ง F1 ระดับโลก เช่น มักซ์ แฟร์สดัปเปิน/แมกซ์ เวอร์สแตพเพน รวมถึงนักแข่ง MotoGP คนอื่นๆ เช่น เปโดร อคอสตา, แบรด บินเดอร์, และแจค มิลเลอร์ มาทเรนอีกด้วย
สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า รู้สึกภูมิใจที่มีโลโก Red Bull อยู่บนหมวกกันนอคของผมถือเป็นเกียรติอย่างสูง และอีกความฝันตั้งแต่วัยเด็กที่เป็นจริง จึงถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ผมภูมิใจที่สุดในชีวิต ผมขอขอบคุณ Red Bull ที่เชื่อมั่นในตัวผม และเห็นศักยภาพของผม
"ผมตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ไปที่ Red Bull Athlete Performance Center (APC) ที่ประเทศออสเตรีย ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมปีนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าประสบการณ์นี้จะช่วยพัฒนาความสามารถของผมให้ก้าวไปอีกระดับ การสนับสนุนจาก Red Bull เป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้ผมมุ่งมั่นพัฒนาตัวเอง
อย่างไม่หยุดยั้ง และผมจะทำทุกอย่างให้สมกับกับความไว้วางใจที่ Red Bull มอบให้
ห้ามพลาด กับการแข่งขัน MotoGP นัดเปิดฤดูกาล ปี 2568 วันที่ 28 กพ-2 มีค. ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิท