บทความ
คุมเข้ม ! จีนสั่งแบนคำโฆษณาระบบรถยนต์ไร้คนขับอัจฉริยะ

เขย่าตลาดรถยนต์ทั่วโลก MIIT สั่งห้ามบริษัทรถยนต์ใช้คำโฆษณาที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบช่วยเหลือขับขี่ หลังเกิดอุบัติเหตุคร่า 3 ชีวิตHighlight
เหตุการณ์อุบัติเหตุของรถยนต์ไฟฟ้าค่ายดังอย่าง Xiaomi SU7 (เสียวหมี่ เอสยู 7) พุ่งชนกับแบริเออร์ถนนทางหลวงในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2568 ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย โดยสาเหตุสำคัญครั้งนี้มาจากการเปิดระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ (Autonomous Driving) ที่ทำงานผิดพลาด เรียกได้ว่าเป็นข่าวใหญ่ ที่ทุกบริษัทรถยนต์กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการนำเสนอระบบช่วยเหลือขับขี่รถยนต์แบบไร้คนขับ ที่กลับกลายเป็นปัญหาระดับชาติ
กระทรวงอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน (MIIT) ได้ออกกฎเกณฑ์แจ้งไว้หลากหลายส่วน สำคัญ คือ การจำกัดว่าแบรนด์เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่สามารถขายอะไรได้บ้าง หรือโฆษณาอย่างไร รวมถึงสั่งห้ามใช้คำศัพท์ยอดนิยมอย่าง “ระบบขับขี่อัจฉริยะ” “การขับขี่อัตโนมัติ” และ “การขับขี่อัจฉริยะ” ซึ่งมักใช้ในการส่งเสริมระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ตอนนี้ไม่สามารถใช้ได้อีก และให้เปลี่ยนเป็น "ระบบช่วยขับขี่ L ตามด้วยตัวเลข” เพื่อให้ตามมาตรฐานสากล
สำหรับแบรนด์รถยนต์ต่างๆ ที่จำหน่ายในตอนนี้ ทุกแบรนด์ต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีอยู่ในระดับใดของการขับขี่อัตโนมัติ 6 ระดับของสมาคมวิชาชีพ (SAE) โดยจะใช้รหัส L ที่เหมาะสม ระดับ 0 หมายถึง ไม่มีระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ จนไปถึงระดับ 5 คือ รถยนต์ที่ขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันระดับสูงสุดที่ใช้งาน คือ ระบบระดับ 3 เทคโนโลยีอื่นๆ เกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 2 ซึ่งรวมถึงระบบขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบของ Tesla (เทสลา) ที่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บริโภคทั่วไปไม่สามารถทำการทดสอบระบบขับขี่อัตโนมัติได้เอง หากต้องทำการทดสอบจะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานรัฐอย่างเป็นทางการก่อนเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ประกาศโดย MIIT ครั้งนี้มีผลทำให้บริษัทรถยนต์ทุกยี่ห้อ กำลังถูกสั่งห้ามใช้ฟีเจอร์เรียกรถจากระยะไกล เช่น Actually Smart Summon ซึ่งสั่งให้รถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องมีคนขับอยู่หลังพวงมาลัย และกำลังมีการสอบสวนอย่างต่อเนื่องสำหรับรถยนต์ที่มีฟีเจอร์นี้จะไม่โปรโมทโฆษณาได้ นอกจากนี้ MIIT ยังเรียกร้องให้ปิดการใช้งานระบบติดตามผู้ขับขี่ และเรียกร้องให้ผู้ขับขี่ที่ใช้ระบบช่วยเหลือขับขี่ต้องชะลอความเร็ว หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมพวงมาลัยเป็นเวลา 60 วินาที
สำหรับการทดสอบขั้นเบทาในพื้นที่สาธารณะของฟีเจอร์ ADAS ใหม่ การเปิดตัวซอฟท์แวร์หลังจากข้อบังคับนี้ออกมานั้นก็จะถูกห้ามเช่นกัน รวมถึง MIIT ต้องการให้แบรนด์รถยนต์ต่างๆ ลดความถี่ในการอัพเดท OTA ให้กับตัวรถเนื่องจากความเสี่ยงของระบบที่ไม่เสถียร เกิดขึ้นกับตัวรถ หากเกิดปัญหาฉุกเฉินจะมีการเรียกรถกลับคืน (Recall)
มาตรการทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ในช่วงที่อุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนกำลังเร่งพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยี ADAS และส่งเสริมเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์รุ่นใหม่ๆ แล้ว สิ่งนี้มีผลกระทบอย่างมากกับบริษัทรถยนต์หน้าใหม่ๆ ในจีน และบริษัทรถยนต์ที่มีระบบช่วยขับขี่ แต่กับต่างชาติบางส่วนมองว่าทางการจีนระมัดระวังตัวมากเกินไป หรือเพียงแค่มีเหตุผลที่แอบแฝง และกฎเกณฑ์ใหม่เหล่านี้จะชะลอการพัฒนาของรถยนต์ไร้คนขับให้กลับมาเป็นการควบคุมของมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามบริษัทรถยนต์จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของ MIIT เป็นสำคัญ