รู้ลึกเรื่องรถ
ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด
เป็นที่รู้กันดีว่าค่าย มาซดา เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของแนวคิด “วังเคล โรตารี” (WANKEL ROTARY) ที่คิดค้นขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมัน “เฟลิกซ์ วังเคล” (FELIX WANKEL) มายาวนาน
- ขุมพลังโรตารียุคแรก ของ มาซดา
- เครื่องยนต์ สกายแอคทีฟ เจเนอเรชันที่ 2
ข้อดีและข้อเสียของระบบ HCCI
ข้อดี
1. เครื่องยนต์ระบบ HCCI เหมาะกับการเผาไหม้ในลักษณะสัดส่วนเชื้อเพลิง “บาง” หรือ FUEL-LEAN เนื่องจากการจุดระเบิดภายใต้ความดันสูง ทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินแบบมีหัวเทียนถึง 30 % 2. ระบบ HC (HOMOGENEOUS CHARGE) ทำให้การคลุกเคล้าผสมผสานเชื้อเพลิงกับอากาศสมบูรณ์แบบ การเผาไหม้สะอาด ปล่อยมลภาวะต่ำ นอกจากนั้นอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ยังต่ำกว่าระบบหัวเทียน ทำให้ไม่มีเขม่า เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ระบบ SC (STRATIFIED CHARGE) 3. สามารถใช้ได้กับเชื้อเพลิงหลากหลายชนิดข้อเสีย
1. หากอากาศเย็นจัด การติดเครื่องยนต์ยาก เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศอาจจะต่ำเกินไป ทำให้ไม่เกิดการเผาไหม้ด้วยตนเอง 2. ความดันในห้องเผาไหม้สูง ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็ว 3. การ “ควบคุม” การชิงจุดระเบิดก่อนเวลาที่ต้องการ (นอค, เขก) ทำได้ยากกว่าเครื่องยนต์ที่มีหัวเทียน และเครื่องยนต์ดีเซล เนื่องจากในเครื่องยนต์ดีเซล หัวฉีดเชื้อเพลิงจะฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ เมื่อถึงจังหวะที่ต้องการเท่านั้น ในขณะที่เครื่องยนต์ระบบ HCCI ทั้งอากาศและเชื้อเพลิงผสมกันมาตั้งแต่ในท่อร่วมไอดีแล้ว 4. เครื่องยนต์ระบบ HCCI มีช่วงของพลังแคบ (NARROW POWER RANGE) เพราะการหมุนรอบไม่จัดเหมือนเครื่องยนต์ดีเซล ด้วยข้อดีและข้อเสียที่กล่าวมา ทำให้มีการทดลองหาความเป็นไปได้ที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้ใน “บางช่วง” การทำงานของเครื่องยนต์ อาทิ ย่านความเร็วต่ำ หรือช่วงขับด้วยความเร็วคงที่ โดยหากต้องการกำลังของเครื่องยนต์ ระบบจะตัดการทำงานไปเป็น ระบบ SI หรือจุดระเบิดด้วยหัวเทียนแทน โดยผู้ที่สร้างเครื่องยนต์ทดลองในรูปแบบ “ลูกผสม” HCCI + SI คือ ค่าย เจเนอรัล มอเตอร์ส และเครื่องยนต์ GCI (GASOLINE COMPRESSION IGNITION) ของค่าย โฟล์คสวาเกน- ขุมพลัง GDCI ที่พัฒนาโดยค่าย ฮันเด มีการติดตั้งระบบอัดอากาศอีกด้วย
ABOUT THE AUTHOR
ภ
ภัทรกิติ์ โกมลกิติ
นิตยสาร 399 ฉบับเดือน เมษายน ปี 2560
คอลัมน์ Online : รู้ลึกเรื่องรถ