เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS
เทคโนโลยีกู้โลก
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก กำลังสร้างหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ขณะที่ เอลอน มัสค์ ตั้งเป้าจะผลิตรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และตอนนี้ กูเกิลร่วมมือกับยูเอนเพื่อขจัดความยากจนให้หมดไปภายในปี 2030 ไอเดียของพวกเขาล้วนน่าชมเชย แต่เทคโนโลยีจะสามารถช่วยโลกได้จริงหรือ ?ในอดีตบรรดาผู้ลงทุนรายใหญ่ต่างพยายามหลีกเลี่ยงการลงทุนในกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นผลจากการจัดการที่ผิดพลาด ในช่วงแรกๆ ทำให้พวกเขาหวาดกลัว และเปลี่ยนใจไปลงทุนในธุรกิจอื่นที่สามารถสร้างกำไรได้แน่นอนแทน แต่ในปี 2015 บางอย่างได้เปลี่ยนไป เพราะระดับของเทคโนโลยีที่พัฒนาจนล้ำสมัย (เทคโนโลยีแสงอาทิตย์กลับมายิ่งใหญ่กว่าเดิมถึง 12 เท่าในเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น) และการสนับสนุนเงินทุนจาก บิลล์ เกทส์ ส่งผลให้เทคโนโลยีแสงอาทิตย์ มีความน่าสนใจมากขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกด้านหนึ่งของตลาดเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในตอนนี้ เป็นตลาดที่กำลังเคลื่อนตัวออกห่างจากนวัตกรรมพื้นฐานของผู้บริโภค เพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ ลองคิดดูว่า เงินที่คุณได้มาจากธุรกิจต่างๆ จะมีประโยชน์อะไร หากไม่มีโลกใบนี้ให้ใช้เงิน หลายต่อหลายปี ที่เราใช้ทรัพยากรในทางที่ผิด และเพิกเฉยต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้น มันจึงถึงเวลาแล้ว ที่กลุ่มผู้ลงทุนจะต้องคิดหาวิธีซ่อมแซมโลกใบนี้



8 เทคโนโลยี ที่สามารถช่วยโลกได้
สภาพอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนไปอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่เรายังโชคดีที่มีเทคโนโลยีอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ในการช่วยลดความเสียหาย และนี่เป็นตัวอย่างบางส่วนของสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีกู้โลก กระจกโซลาร์







“ปัจจุบันมนุษย์มีเครื่องมือมากมายเพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจ STARTUP และก้าวไปข้างหน้าเพื่อสิ่งที่ดีกว่า”
การจัดหาเงินทุนจำต้องมีรากฐานการตลาดที่มั่นคง เขาพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ซึ่งบริษัท AMAZON FOR IRAN สามารถให้บริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ แก่ประชาชนที่เคยปฏิเสธพวกเขามาก่อนได้อย่างไม่มีสาเหตุ แถมยังดึงดูดสมาชิกถึง 350 คนได้ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือน “อุปสรรคในการเข้าถึงสำหรับเทคโนโลยี STARTUP ลดน้อยลงอย่างมากภายในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา” ดาวลิง อธิบาย “เมื่อ THE LEAN STARTUP หนังสือของ เอริค ไรส์ เปิดตัว ทำให้ STARTUP กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และทำให้ผู้คนเข้าใจมันมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีมีต้นทุนต่ำลง คนจึงสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ด้วยราคาราวๆ 10,000 ปอนด์ หรือประมาณ 440,000 บาท หรือจะประยุกต์ใช้เองก็ยังได้ อย่างชายคนหนึ่งจากไนโรบิ ที่หลังจากอ่านหนังสือเล่มนั้น แล้วเริ่มต้นทำบางอย่าง" ดาวลิง กล่าวถึงสิ่งที่เขาได้พบเห็นในไนโรบิว่า หมอคนหนึ่งติดตั้งห้องผ่าตัดขนาดเล็กในที่ทำการไปรษณีย์ท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีที่หาได้ เพื่อเฝ้าสังเกตอาการของคนไข้โรคหัวใจ ทำให้ในปัจจุบัน คนไข้สามารถเข้าถึงความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว แต่เทคโนโลยีใหม่นี้ ไม่ได้หยุดอยู่แค่การดูแลสุขภาพ เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม ที่จะพัฒนาให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันดีขึ้น “สิ่งหนึ่งที่เราปรึกษากันในการประชุมเรื่องเทคโนโลยีต่อต้านความยากจน คือ การแบ่งสันปันส่วนพลังงาน และสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้มนุษย์ต้องการติดตามและกักเก็บพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้ไอเดียทางเทคโนโลยีที่ชื่อว่า BLOCK CHAIN เป็นเครือข่ายแจกจ่ายพลังงานทั่วโลก ในที่ที่คุณสามารถสร้างพลังงานเล็กๆ จากแผงโซลาร์เซลล์ จากกังหันลม และมีอำนาจในแหล่งพลังงานนั้น ซึ่งเป็นไอเดียที่สามารถปฏิวัติโลกนี้ได้เลยทีเดียว” ดาวลิง พูดถูก การเปลี่ยนกระบวนทัศน์สามารถเปลี่ยนความสมดุลของพลังงานให้ไกลจากการค้ากำไรเกินควรของกลุ่มบริษัท และทำให้เราเข้าถึงแหล่งพลังงานมากขึ้น เสมือนการกระจายอำนาจจากจุดศูนย์กลาง เราได้เห็นแล้วว่าราคาและความต้องการน้ำมันเป็นเช่นไร และงานที่ ฟาราเดย์ ฟิวเจอร์ และเอลอน มัสค์ ทำนั้นจะแค่ตัดราคาให้ต่ำลงในอนาคตเท่านั้น ชุมชนในแอฟริกาสามารถรวบรวมทุนตามความสามารถเพื่อสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ ในขณะที่ชาวบริทิชสามารถสร้างพลังงานจากลม กลุ่มประเทศริมทะเลบอลทิคสร้างพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง เราสามารถมองเห็นแหล่งพลังงานที่สะอาดและน่าเชื่อถือได้ทั่วโลก มันอาจจะฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่นี่คือเรื่องจริงที่สามารถเข้าถึงได้ ตามความคิดของ ดาวลิง “สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา เรากำลังพูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า ปัจจัยหลักๆ มีแล้ว แถมยังฝังลึกอยู่ในค่านิยมแบบใหม่ BLOCK CHAIN นั้นดีมากในการระบุว่าใครสามารถให้พลังงานได้ ทุกองค์ประกอบอยู่ในที่ที่ถูกที่ควรหรือยัง ผมคิดว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าไอเดียนั้นจะเริ่มใช้ได้” แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เทคโนโลยีที่มีจะสามารถช่วยเรา หรืออย่างน้อยสามารถทำอะไรบางอย่างในการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร

"คุณไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่อทดสอบคุณภาพของน้ำได้ แต่สามารถติดตั้งเซนเซอร์ที่ทำหน้าที่นั้นได้"

แต่เทคโนโลยี กำลังทำร้ายโลกอยู่หรือไม่ ?
ทะเลสาบฮอยดัส, แคนาดา ทะเลสาบทางเหนือของแคนาดามีเป้าหมายที่จะทำเหมืองแร่หายากได้ให้ 10 % ของ 1 พันล้าน ซึ่งเป็นปริมาณการบริโภคธาตุหายากที่อเมริกาเหนือต้องการ ทะเลสาบฮอยดัสอยู่ในที่ห่างไกล จึงมีผลกระทบทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม จากการทำเหมืองน้อยมาก คเวนฟ์เจลด์, กรีนแลนด์ บริษัทสัญชาติจีนสนับสนุนการทำเหมืองทางใต้ของกรีนแลนด์ แต่การทำเหมืองแร่ในบริเวณนั้นมีออกไซด์ ธาตุหายาก เพียง 1 % เท่านั้น จึงเกิดความตึงเครียดเมื่อยูเอนแนะนำกรีนแลนด์ว่าอย่าให้จีนเข้ามาครอบครองการทำเหมือง แต่กรีนแลนด์กลับเพิกเฉย เกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือมีปริมาณแร่ธาตุหายากเป็นอันดับ 2 ของโลก ประมาณ 20 ล้านตัน โดยได้ทำการค้ากับประเทศจีนตั้งแต่ปี 2014 สร้างความท้อใจให้ยูเอนอย่างมาก ซิลลาไม, เอสโตเนีย มีการทำเหมืองแร่ธาตุหายากจากซากปรังที่เหลือมาจากการทำเหมืองแร่ยูเรเนียมเมื่อ 50 ปีก่อนในเอสโตเนีย จึงทำให้เอสโตเนียส่งออกได้เพียง 2 % ของการผลิตธาตุหายากในโลก แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ประเทศจีน มีปริมาณการทำเหมืองแร่ธาตุหายากมากในระดับโลก แต่สหรัฐอเมริกากลับต้องการสะสมไว้เป็นคลังทรัพยากรของตัวเอง จึงได้เริ่มการทำเหมืองหุบเขาในปี 2012 ซึ่งให้ผลผลิตแร่ธาตุหายากถึง 4 ชนิดหลัก เมนแลนด์, จีน ประเทศจีนเป็นผู้จำหน่ายแร่ธาตุหายากระดับโลก มีการส่งออกในปริมาณมากกว่า 30,000 ตัน ในช่วงที่มีการทำเหมืองที่มากที่สุดในปี 2011 จึงถูกจำกัดโควทาไม่ให้ขุดเหมืองมากเกินไป แร่ธาตุหายาก เป็นธาตุเคมีที่พบได้ในเปลือกโลก มีความจำเป็นต่อหลายเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบัน เช่น ในอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ เเละระบบป้องกันประเทศ ซึ่งต้องรีบทำให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสมรรถนะที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของเรา แต่พวกมันมาจากไหน และจะมีให้ใช้ตลอดไปหรือไม่ ?

ABOUT THE AUTHOR
G
GADGET MAGAZINE
ภาพโดย : GADGET MAGAZINEนิตยสาร 399 ฉบับเดือน มิถุนายน ปี 2560
คอลัมน์ Online : เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS