เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS
จักรยานยนต์ยุคหน้า
เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนอนาคตของจักรยานยนต์ให้เป็นยานพาหนะที่น่าตื่นเต้นที่สุด
การพัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รถยนต์ 4 ล้อ เพราะจักรยานยนต์ก็กำลังมุ่งพัฒนาสู่ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี น่าตื่นเต้นไม่แพ้กัน ซึ่งมันก็สมเหตุสมผลแล้ว นวัตกรรมที่ถูกทดสอบในรถยนต์จะถูกจัดอยู่ในตารางการทดสอบของโรงงานผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ด้วย
จักรยานยนต์แห่งอนาคตสุดล้ำสมัย ปรากฏให้เราเห็นได้ในสื่อยอดนิยม เช่น หนังสือการ์ตูนซีรีส์เรื่อง JUDGE DREDD หนังเรื่อง TRON เเละ TERMINATOR SALVATION โดยมีภาพลักษณ์ของจักรยานยนต์ทรงสปอร์ท เครื่องยนต์ที่ทันสมัย และทรงพลัง
กลับมายังโลกปัจจุบัน จักรยานยนต์ถูกพัฒนาคุณภาพเช่นเดียวกับรถยนต์ เช่น ทำอย่างไรให้ค่าบำรุงรักษาต่ำ กินน้ำมันให้น้อยลง และขับเคลื่อนอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีจักรยานยนต์ถูกขับเคลื่อน โดยแรงผลักดันทั้งเชิงพาณิชย์ และความสนใจส่วนตัว
การผลิตจักรยานยนต์ครั้งแรกโดย HILDEBRAND & WOLFMULLER เริ่มขึ้นในปี 1894 เครื่องยนต์มีขนาด 1,500 ซีซี ยิ่งกระบอกสูบใหญ่มากเท่าไรพลังที่เครื่องยนต์จะผลิตได้ก็มากเท่านั้น ปัจจุบันจักรยานยนต์ที่เร็วที่สุด ใช้เครื่องยนต์สมัยใหม่ขนาด 1,000 ซีซี ความเร็วสูงสุดของซูเพอร์ไบค์รุ่นล่าสุดราว 320 กม./ชม. ขณะที่ คาวาซากิ นินจา เอชทูอาร์ สามารถทำอัตราความเร็วสูงสุด 400 กม./ชม. มากกว่าความเร็วของ HILDEBRAND & WOLFMULLER ถึง 10 เท่า
รู้หรือไม่ เครื่องยนต์ 300 แรงม้า ของ คาวาซากิ นินจา เอชทูอาร์ ไม่สามารถเข้ากับเครื่องยนต์ขนาด 500 แรงม้าของ ดอดจ์ โทมาฮอว์ค ได้
เร็ว และดุเดือด
ซูเพอร์ไบค์คันนี้ คือ ผลลัพธ์ของการออกแบบที่ชาญฉลาด ประกอบด้วยเครื่องยนต์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย
1. ใบพัดอัดอากาศ (IMPELLER)
อากาศถูกดูดเข้าไปที่ซูเพอร์ชาร์จ ด้วยการหมุนส่วนประกอบของตัวนี้ จากนั้นก็ผลักเข้าสู่เครื่องยนต์
2. ระบบเกียร์
คาวาซากิ หันเข้าหา แอโรสเปศ ดิวิชัน เพื่อออกแบบเกียร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายพลังงานจากซูเพอร์ชาร์จได้
3. ซูเพอร์ชาร์จแบบ CENTRIFUGAL
ซูเพอร์ชาร์จชนิดนี้จะส่งอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์เป็นหลัก ทำให้เกิดกระบวนการเผาไหม้ภายใน
4. ควบคุมการยกล้อ
โหมดควบคุมที่ทำให้ผู้ขับขี่สามารถเร่งความเร็วสูงสุดได้โดยไม่ยกล้อหน้า
5. การเชื่อมต่อด้วยระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้ารวมถึงฟังค์ชันต่างๆ ที่ช่วยในการเข้าโค้ง แรงฉุด เบรค เร่งความเร็ว เลี้ยว และการเปลี่ยนเกียร์
6. ล้อสุดฮอท
เป็นล้อที่ได้รับรางวัล WORLD SUPERBIKE CHAMPION ทำจากอลูมิเนียมน้ำหนักเบา ในขณะที่ล้อหลังหน้ากว้าง 200 มม. เพื่อการเกาะถนนสูงสุด
7. เครื่องยนต์ 998 ซีซี
เครื่องยนต์ 4 สูบ ถูกปรับแต่งให้ทำงานเข้ากันกับซูเพอร์ชาร์จได้ดี
8. เบรคที่แข็งแรง
จานเบรคแบบ 2 ส่วน ที่มีขนาดใหญ่มาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการเบรคในขณะใช้ความเร็วสูงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
9. แอโรไดนามิค
แฟริงออกแบบโดยวิศวกรการบิน และอวกาศ เพื่อสร้างแรงกดขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง
คาวาซากิ นินจา เอชทูอาร์
คุณจะพบพลังมหาศาลจากเครื่องยนต์อสูรตัวนี้ ที่ออกแบบตามหลักการทางฟิสิคส์ และวิศวกรรมอย่างเที่ยงตรง จักรยานยนต์รุ่นนี้ใช้วิ่งในสนามปิดเท่านั้น เพราะมันมีส่วนประกอบเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อเสริมพลังแรงม้าในปริมาณมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แฟริง หน้าตาคล้ายกับด้านหน้าของเครื่องบินขับไล่ ชุดแฟริงทำมุมที่ถูกต้องเพื่อลดแรงต้านอากาศ และแรงเสียดทาน มีระบบอีเลคทรอนิคส์ล้ำสมัย เพื่อมั่นใจได้ว่าการขับขี่จะเป็นไปอย่างนุ่มนวล ปลอดภัย และสามารถควบคุมได้ แม้จะอยู่ที่อัตราความเร็ว 400 กม./ชม. ก็ตาม
“คาวาซากิ นินจา เอชทูอาร์ ทรงพลังเกินไปหากจะวิ่งบนถนน”
ความเร็วนี้ คือ ผลลัพธ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเครื่องยนต์จักรยานยนต์ สามารถผลิตพลังที่มากกว่า หรือทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ยกตัวอย่างจาก นินจา เอชทูอาร์ ที่เข้ากันพอดีกับซูเพอร์ชาร์จ ซึ่งผลิตพลังงานที่ทรงพลังเกินไปหากจะวิ่งบนถนน รวมถึงซูเพอร์ไบค์อื่นๆ เช่น บีเอมดับเบิลยู เอส 1000 อาร์อาร์ และ ดูกาตี 1299 ปานิกาเล และมันยังมีรูปแบบเครื่องยนต์ที่ซับซ้อน และควบคุมการขับขี่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้รวมถึงระบบ DYNAMIC TRACTION CONTROL ที่ช่วยในเรื่องการยึดเกาะบนถนน ดังนั้น จึงพัฒนาในเรื่องระบบเบรค และอัตราเร่งความเร็ว ที่สำคัญระบบ TRACTION CONTROL จะตรวจสอบทั้ง 2 ล้อ อย่างต่อเนื่อง ว่าเคลื่อนไปด้วยความเร็วเท่ากันหรือไม่ หากจับความแตกต่างได้ พลังที่ส่งไปยังล้อหลังจะถูกปรับให้ช้าลง
อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ บริษัทสัญชาติอิตาเลียน GRIP ONE มีระบบ 3D อัจฉริยะ ซึ่งสามารถรับข้อมูลจากเซนเซอร์ที่วัดค่าตัวแปร เช่น การรับน้ำหนักของล้อ ความเร็ว และมุมเอียงของจักรยานที่ 200 ครั้ง/วินาที
จักรยานต์รุ่นต่อไป จะมีความคล่องตัวมากขึ้น หากใช้วัสดุอัจฉริยะที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เข้ามาแทนที่วัสดุดั้งเดิม ส่วนโครงของจักรยานยนต์ ไอเดียนี้ถูกสร้างขึ้นในจักรยานยนต์ บีเอมดับเบิลยู มอเตอร์ราด เวอร์ชัน เนกซ์ 100 เป็นยานพาหนะ 2 ล้อ ในปี 2040 รถคอนเซพท์ของบริษัทยานยนต์สัญชาติเยอรมัน เป็นจักรยานยนต์ที่เรียกกันว่า ฟเลกซ์ เฟรม คือ เฟรมตัวถังยืดหยุ่น
ผู้ช่วยในการขับขี่จาก ฮอนดา
เทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้จักรยานยนต์ทรงตัวได้ ถึงแม้จะไม่มีขาตั้ง
1. ขับเคลื่อนด้วยตนเอง
ฮอนดา สาธิตระบบช่วยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ตั้งแต่ ออกตัว หยุด และกำหนดเส้นทางผ่านประตูโดยไร้ผู้ขี่
2. ขยับสร้างความสมดุล
แฮนด์บังคับเลี้ยวขยับซ้ายและขวา เพื่อช่วยสร้างสมดุลให้จักรยานยนต์ทรงตัวตลอดเวลา
3. แผงคอปรับองศา (SHAPESHIFTER)
เมื่อรถจอดนิ่ง แผงคอจะปรับองศาอัตโนมัติทำให้มุมของชอคอับคู่หน้ายื่นออกมาข้างหน้ามากขึ้น
4. ไม่มีไจโรสโกพส์
ดีกว่าการใช้ไจโรสโกพส์แบบดั้งเดิม ซึ่งมีน้ำหนักมาก วิศวกร ฮอนดา ใช้เทคโนโลยีความสมดุลแบบเดียวกับหุ่นยนต์ อซิโม
5. เครื่องยนต์ 4 จังหวะของ HILDEBRAND & WOLFMULLER ให้ความเร็ว 45 กม./ชม.
เมื่อต้องการเลี้ยว ฟเลกซ์ เฟรม จะปรับตัวตามการเลี้ยว ตามแบบของ บีเอมดับเบิลยู ล้อถูกปรับแต่งรูปทรงให้เข้ากันกับสภาพภูมิประเทศ และเครื่องยนต์พัฒนาในเรื่องแอโรไดนามิค ขึ้นอยู่กับว่ารถจักรยานยนต์จะเคลื่อนที่ หรือหยุดนิ่ง บีเอมดับเบิลยู ตัวต้นแบบเข้ากันได้ดีกับระบบดิจิทอล ทำงานร่วมกันกับเครื่องยนต์เพื่อให้มันมีประสิทธิภาพที่สุดในสภาพแวดล้อมทั่วไป
ปัจจุบันจักรยานยนต์ระดับพรีเมียมได้เพิ่มมาตรฐานใหม่เข้าไป คือ เทคโนโลยีสมัยใหม่ คันเร่งไฟฟ้าถูกแทนที่การควบคุมคันเร่งสายแบบเก่า ผู้ขับขี่เดินคันเร่ง ตัวอย่างเช่น เมื่อเดินคันเร่งไฟฟ้า เครื่องรับส่งสัญญาณ จะส่งสัญญาณนี้ไปยังกล่องอีเลคทรอนิคส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ให้ดำเนินการอย่างเหมาะสม เช่น จ่ายเชื้อเพลิงมากขึ้น
เทคโนโลยีไร้สายยังเชื่อมต่อระหว่างผู้ขี่กับรถจักรยานยนต์ผ่านชุดขับขี่อีก ถุงมือ สัญญาณบลูทูธ ให้ผู้ขับขี่ควบคุมเพลง และรับโทรศัพท์ได้ ในขณะเดียวกัน หมวกกันนอคอัจฉริยะบแรนด์ SKULLY ทำให้ผู้ขับขี่มีศักยภาพในการขับขี่ที่ดีขึ้น เริ่มต้นแคมเปญ INDIEGOGO ในปี 2014 เพื่อรวบรวมเงินมาพัฒนาหมวกกันนอค ซึ่งทำงานร่วมกันกับกล้องมองหลัง และจอแสดงผล HUD ติดตั้งที่หน้าหมวกเพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน แสดงเส้นทางระบบนำทาง และรับโทรศัพท์
อยู่ระหว่างการพัฒนา ยังไม่ได้เริ่มผลิตเลย แต่มันไม่ใช่แค่หมวกกันนอคอันนี้เท่านั้น
รู้หรือไม่ ในปี 2010 นักศึกษาจากเมลเบิร์น ออกแบบจักรยานยนต์ชื่อ กรีนแอร์ ที่สามารถวิ่งด้วยระบบอัดอากาศ
มอเตอร์ไซค์พลังงานสะอาด
มันไม่ใช่พลังงานแบบเดียวกับรถ 2-3 ล้อพลังงานไอน้ำในยุคศตวรรษที่ 19 แต่ใช้ไฮโดรเจน ออกซิเจน และน้ำเป็นส่วนประกอบเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ให้พลังงานแก่ยานพาหนะ ที่ทำให้จักรยานยนต์สะอาดมากขึ้น
เซลล์เชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับของสารเคมี ที่แยกอีเลคทรอนออกมาจากไฮโดรเจนอตอม ออกซิเจนอาจจะผสมกับอีเลคทรอน และไฮโดรเจนอตอม ส่งผลให้มีน้ำออกมาแทนที่จะเป็นไอเสีย ซูซูกิ ทำการสาธิตรถจักรยานยนต์ชื่อ ครอสสเกจ (CROSSCAGE) ที่งานมหกรรมยานยนต์โตเกียว ในปี 2007 โดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในการชาร์จแบทเตอรี ลิเธียม-ไอออน อย่างไรก็ตามถึงแม้มันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ครอสสเกจ ยังคงเป็นได้แค่โมเดลต้นแบบ สิ่งที่เป็นไปได้มากกว่า คือ การใช้แบทเตอรีที่สามารถชาร์จจากฐานชาร์จหลัก หรือจากสถานีชาร์จ เช่นเดียวกับรถ เทสลา ผู้ผลิตรวมถึง เซโร ฮอนดา ฮาเลย์-เดวิสัน ได้ทำการทดลองรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าแล้ว
ถึงแม้ว่าจักรยานยนต์ล้ำสมัยอย่าง เวอร์ชัน เนกซ์ 100 และ นินจา เอชทูอาร์ นั้นก้าวไปอีกขั้นในคอมพิวเตอร์ คือ ระบบอีเลคทรอนิคส์ที่ให้ผู้ขับขี่สามารถเบรค และเปลี่ยนเกียร์ได้โดยสัมผัสแค่ปุ่มเดียว ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป
สักวันหนึ่งจักรยานยนต์ในอนาคตอาจจะใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง
แอร์บัส เอพี เวิร์คส์ ไลท์ ไรเดอร์
พบกับจักรยานยนต์พลังไฟฟ้าจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งมีน้ำหนักเบาจนสามารถยกได้ด้วยมือเดียว
2. ช่องว่างของโครงรถ
ชิ้นส่วนของเฟรมเป็นโพรงจึงสามารถเดินสายเคเบิลผ่านด้านในได้
3. น้ำหนักเบา
ไลท์ ไรเดอร์ มาจากน้ำหนักที่น้อยเพียง 35 กก.
4. ไม่บุบสลาย
เฟรมทำจากวัสดุที่ป้องกันการกัดกร่อนชื่อ สกัลมัลลอย ที่มีความทนทานพอๆ กับไททาเนียม
5. หลายชั้น
สกัลมัลลอย ทำจากอลูมิเนียมกว่าพันชั้น แต่ละชั้นมีความหนาเพียง 60 ไมครอน
6. เต็มไปด้วยพลัง
มอเตอร์มีพลังมากพอที่จะเร่งอัตราความเร็วจาก 0-45 กม./ชม. ภายใน 3 วินาที
7. ได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริง
ขั้นตอนที่ใช้ในการออกแบบได้มาจากโครงกระดูกธรรมชาติที่แข็งแรง และโครงสร้างสิ่งมีชีวิตเป็นโมเดล
มอเตอร์ไฟฟ้า เซด ฟอร์ศ เห็นได้ในจักรยานยนต์ไฟฟ้า เซโร ซึ่งสามารถชาร์จไฟได้จากสถานีชาร์จทั่วไป
“จักรยานยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟได้จากสถานีชาร์จไฟได้เหมือนกับรถยนต์ เทสลา”
รู้หรือไม่ เดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 บริษัทผลิต ดโรน ของรัสเซีย สาธิตการทำงาน โอเวอร์ไบค์ พลังงานไฟฟ้าตัวแรก
ที่งาน CES 2016 บีเอมดับเบิลยู ได้จัดแสดงดีไซจ์นที่รวมเอาพโรแกรม HUD เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งทีมงาน บีเอมดับเบิลยู ได้คาดการณ์ไปถึงโลกแห่งอนาคต ที่หมวกกันนอคไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป โดยออกแบบกระจกไฮเทค ที่จะจับภาพเป้าสายตาของผู้ขับขี่ และแสดงข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพจากกระจกหลัง แผนที่ และเมนูช่วยเหลือต่างๆ ที่คนขับสามารถใช้งานได้โดยผ่านการสั่งงานด้วยท่าทาง
เพราะ มอเตอร์ไซค์ หรือที่มีชื่อเรียกแดกดันแบบแสบๆ อย่าง WIDOW MAKER หรือ ผู้สร้างแม่ม่าย (สามีขับมอเตอร์ไซค์ แล้วเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต) ถูกมองว่าเป็นสิ่งอันตรายมาช้านาน การศึกษาด้านความเร็ว และอุปกรณ์ต่างๆ ก้าวหน้าไปไกล เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และบรรดาผู้ผลิตต่างก็พยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้การขับขี่มอเตอร์ไซค์ปลอดภัยยิ่งขึ้น ตามรายงานของเมืองวิคทอเรีย สเตท ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2015 ระบุว่า ระบบ เอบีเอส สามารถลดอัตราการบาดเจ็บ และเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 31 มอเตอร์ไซค์ส่วนใหญ่บนท้องถนนจึงติดตั้งระบบนี้เป็นระบบพื้นฐาน
ระบบเบรคของมอเตอร์ไซค์นั้น แบ่งออกเป็นเบรคล้อหน้า และหลัง แบบเดียวกับจักรยาน เซนเซอร์จับความเร็ว ทำหน้าที่ตรวจสอบความเร็วในการหมุนของล้อ และเมื่อคนขับเบรค ระบบเอบีเอส จะใช้ข้อมูลนี้ในการปรับระดับการเบรคให้เหมาะสมกับล้อทั้ง 2 เพื่อไม่ให้ล้อลอค และไถลไปกับถนน แต่ต่อให้มีระบบ เอบีเอส ผู้ขับก็ยังสามารถล้มได้จากสาเหตุอื่นๆ แต่การบาดเจ็บก็ลดน้อยลงกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากชุดที่สวมใส่นั้นมีระบบป้องกันการบาดเจ็บที่ดีขึ้น
D3O บริษัทสัญชาติอังกฤษ ได้พัฒนาโพลีเมอร์แบบพิเศษ ที่มีความยืดหยุ่น และสามารถรับแรงกระแทกได้ดี เหมาะสำหรับเหล่านักแข่งมอเตอร์ไซค์วิบาก ส่วนบริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ก็เริ่มทยอยส่งสินค้าจำพวกเสื้อแจคเกท ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยออกมาจำหน่ายเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น AIR-JACKET ของ ALPINESTARS มีเซนเซอร์ที่ทำหน้าที่เปิดระบบถุงลมนิรภัยให้ทำงานเมื่อผู้ใช้รูดซิพขึ้น และเมื่อคนขับมีแนวโน้มจะหลุดจากตัวรถ ถุงลมนิรภัยก็จะพองตัวขึ้นด้วยความรวดเร็ว เพื่อป้องกันหลัง ไหล่ หน้าอก อย่างไรก็ตาม การหล่นจากรถจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป มอเตอร์ไซค์แบบใหม่ที่สามารถทรงตัวได้เอง ซึ่ง ฮอนดา เรียกโมเดลนี้ของตัวเองว่า RIDING ASSIST โดยมีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีโรโบทิคส์ และทฤษฎีทางฟิสิคส์ในการกำหนดตำแหน่งล้อหน้า RIDING ASSIST จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้คนที่กลัวการทรงตัวหันมาขี่มอเตอร์ไซค์ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น และหลังจากนี้เหล่านักบิดทั้งหลายก็จะเหลือเรื่องให้กังวลเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นเวลาขับอยู่บนท้องถนนที่เต็มไปด้วยรถติด
ปัจจุบันนี้ ด้วยกระแสที่พุ่งโฟคัสไปที่ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ หลังจากมอเตอร์ไซค์ที่สามารถทรงตัวได้เอง เราอาจจะได้เห็นมอเตอร์ไซค์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้ด้วย ซึ่ง กูเกิล ก็ได้เริ่มทดสอบแนวคิดนี้แล้ว และในวีดีโอพโรโมท RIDING ASSIST เราก็จะได้เห็นภาพมอเตอร์ไซค์วิ่งตามเจ้าของ ตามมาด้วยกองทัพรถมอเตอร์ไซค์ตำรวจไร้คนขับ รถเหล่านี้ออกแบบโดย ชาร์ลส์ บอมบาร์เดียร์ ผู้ก่อตั้งบริษัท IMAGINATIVE ซึ่งคาดการณ์ว่ามันสามารถสแกนหาความรุนแรง และการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายได้โดยใช้กล้อง 3 มิติ ในขณะที่ดีไซจ์นเหล่านี้ยังเป็นเพียงแนวคิด แต่มันก็ได้บ่งบอกอนาคตของวงการมอเตอร์ไซค์ว่า มอเตอร์ไซค์จะไม่ได้ถูกพัฒนาด้านความเร็วเพียงอย่างเดียว ด้วยจำนวนรถยนต์ที่มีอยู่มากมายบนท้องถนน ผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายเริ่มให้ความสนใจกับการลดมลภาวะ โดยการใช้แหล่งพลังงานที่เป็นมิตร ไร้การปล่อยไอเสีย แถมยังมีรถจากค่าย โตโยตา อย่าง ไอ-โรด ซึ่งดูออกยากว่าเป็นรถ หรือมอเตอร์ไซค์ เพราะหยิบยืมดีไซจ์นมาจากยานพาหนะทั้ง 2 แบบเข้ามาเสริม แม้นวัตกรรมเหล่านี้ จะยังเป็นเพียงนวัตกรรมต้นแบบ แต่หากมันเป็นจริงขึ้นมาเมื่อไร มอเตอร์ไซค์จะกลายเป็นพาหนะส่วนตัวที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างล้นหลามเลยทีเดียว
จักรยานยนต์ไร้คนขับ
พบกับยานพาหนะคอนเซพท์สายตรวจ 2 ล้อ ที่จะมาแทนที่ BOBBIES ON THE BEAT
1. ตัวถังกันกระสุน
เฟรมทำจากวัสดุที่แข็งแรง น้ำหนักเบา เช่น คาร์บอนไฟเบอร์
2. ความสมดุล
ไจโรสโกพแบบหมุน 2 ตัว จะป้องกันไม่ให้จักรยานยนต์ล้มเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว หรือแล่นในความเร็วต่ำ
3. การออกใบสั่ง
เมื่อผู้กระทำผิดถูกชี้เป้าด้วยการสแกนป้ายทะเบียน ซึ่งสามารถส่งใบสั่งได้ทางข้อความ หรือ อี-เมล
4. มองเห็นรอบทิศทาง
กล้อง 360 องศา ตั้งอยู่ด้านบนสุด สามารถเฝ้าสังเกตกิจกรรมต่างๆ ตลอดเส้นทาง
5. รายงานเหตุการณ์ต่างๆ
หากตรวจพบกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย กล้องจะทำการบันทึก และฉายวีดีโอไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด
6. ไฟสีฟ้า 2 ดวง
ไฟจะส่องแสงเพื่อให้สัญญาณ ดึงความสนใจจากผู้กระทำผิด เช่น ขับรถด้วยความเร็วเกินที่กำหนด
7. นักสืบไฟฟ้า
พลังเครื่องยนต์ไฟฟ้า 24 แรงม้า เงียบพอที่จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ผู้กระทำผิดอย่างช้าๆ และไม่มีการปล่อยไอเสีย
8. ออกตรวจ
ยานพาหนะนี้ออกแบบให้ตรวจตามถนนในเมืองอย่างช้าๆ ดีกว่าการขับไล่ด้วยความเร็วที่เปลืองแบทเตอรี
“วิศวกรของ บีเอมดับเบิลยู จินตนาการโลกที่หมวกกันนอคไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป”
คอนเซพท์จาก บีเอมดับเบิลยู จะแสดงข้อมูลการเดินทางปัจจุบันที่กระบังหน้าหมวกกันนอค
รถ 3 ล้อ ระบบไฟฟ้า ไอ-โรด บังคับเหมือนรถยนต์ แต่แล่นไปตามโค้งเหมือนรถจักรยานยนต์
เหตุการณ์สำคัญของจักรยานยนต์
เหตุการณ์สำคัญบนถนนตั้งแต่ใช้พลังไอน้ำจนถึงซูเพอร์ไบค์
ปี 1867 เออร์เนสต์ มิชูช์ (ERNEST MICHAUX) สร้าง มิชูช์ เปร์รีอูซ์ (MICHAUX PERREAUX) รถจักรยานสองล้อสมัยก่อนพลังไอน้ำ และสิ่งประดิษฐ์ที่คล้ายๆ กันก็ปรากฏขึ้น
ปี 1884 เอดเวิร์ด บัทเลอร์ (EDWARD BUTLER) เปิดตัวจักรยานยนต์ 3 ล้อ BUTLER PETROL CYCLE ที่มีเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
ปี 1894 HILDEBRAND & WOLFMULLER MOTORRAD (ภาษาเยอรมัน แปลว่า จักรยานยนต์) เข้าสู่การผลิต
ปี 1906 โรงงานจักรยานยนต์ ฮาเลย์-เดวิดสัน ที่ใหม่ถูกสร้างขึ้นที่ MILWAUKEE WISCONSIN สหรัฐอเมริกา
ปี 1949 การแข่งขันจักรยานยนต์กรองด์ปรีซ์จัดขึ้นที่ ISLE OF MAN เป็นครั้งแรก
ปี 1951 บริษัท BIRMINGHAM SMALL ARMS เป็นบริษัทผลิตจักรยานยนต์ใหญ่ที่สุดในโลก
ปี 1970 จักรยานยนต์บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น เช่น ซูซูกิ และ ฮอนดา เริ่มมีอิทธิพล
ปี 2010 การออกแบบพิเศษของ ACK ได้ทำสถิติจักรยานยนต์วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกที่ 606 กม./ชม. ที่เมืองยูทาห์
ABOUT THE AUTHOR
GADGET MAGAZINE
ภาพโดย : GADGET MAGAZINEนิตยสาร 399 ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2560
คอลัมน์ Online : เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS