เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS
ดโรนขนส่ง หุ่นยนต์ยุคใหม่ ที่จะนำสินค้าไปถึงมือคุณได้ตรงเวลา
ในอนาคตสินค้าที่คุณสั่งทางออนไลน์ จะส่งถึงหน้าประตูบ้านคุณด้วยดโรน บริษัทผู้จำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เช่น AMAZON, UPS และ DOMINO’S กำลังเร่งพัฒนาดโรนขนส่ง และแข่งขันกันเป็นเจ้าแรกที่นำดโรนมาใช้ ในงานเชิงพาณิชย์ปัจจุบัน PRIME AIR DRONE ของ AMAZON ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่ปี 2013 ดูเหมือนจะเป็นผู้นำ เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด และเบา และมีการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศอังกฤษ สำเร็จเป็นครั้งแรกในช่วงปลายปี 2016 ส่วนบริษัท UPS พร้อมกับบริษัทพาร์ทเนอร์ WORKHORSE ก็ตามมาติดๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ อีกบริษัทที่ส่งสินค้าทางอากาศด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง คือ DOMINO’S ผู้ที่จัดส่งพิซซา 2 ถาดด้วยดโรน เป็นเจ้าแรกในนิวซีแลนด์ 2 บริษัทชื่อดังอย่าง DHL และ GOOGLE ก็กำลังพัฒนาระบบขนส่งด้วยดโรนเช่นกัน การแข่งขันจึงเริ่มขึ้น อากาศยานไร้คนขับ (UAV/S) หรือ ดโรน เกิดขึ้นในสนามรบตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 UAV อันแรก คือ KETTERING BUG เป็นทอร์พิโดทางอากาศ (เป็นเวอร์ชันก่อนหน้าของขีปนาวุธทางน้ำ) ที่บินขึ้นฟ้าในปี 1918 และดโรนเชิงพาณิชย์ในวันนี้กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อจัดส่งสินค้า ที่ดีกว่า รู้หรือไม่ ? ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกัน 47 % สนใจการจัดส่งสินค้าด้วยดโรน “มีระบบเซนเซอร์ และกล้อง ช่วยหลีกเลี่ยงการชน” ผู้ผลิตดโรน บริษัทที่กำลังพัฒนาการส่งสินค้าด้วยดโรนมีใครบ้าง DHL หน้าตาอาจจะไม่เหมือนดโรนทั่วไป PARCELCOPTER ลักษณะเป็นเครื่องบินพร้อมปีกสามารถปรับมุมเอียง แนวตั้ง และแนวนอน AMAZON PRIME AIR AMAZON PRIME AIR ประสบความสำเร็จในการทดลองบินเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2016 ขณะที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนา UPS UPS ร่วมกับบริษัทพัฒนายานพาหนะ WORKHORSE ที่ออกแบบ ดโรนชื่อ HORSEFLY เพื่อบินขึ้นจากรถแวนจัดส่งของ DOMINO’S พัฒนาดโรน โดย FLIRTEY บริษัทจัดส่งของ ดโรน DRU เป็นดโรนส่งพิซซาตัวแรก ที่จัดส่งพิซซาให้แก่ลูกค้าในประเทศนิวซีแลนด์ ALPHABET ดโรน PROJECT WING พัฒนาโดย ALPHABET บริษัทแม่ของ GOOGLE ซึ่งหวังว่าจะมีกองทัพดโรน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า น่านฟ้ามีพื้นที่จำกัด หากตั้งใจจะใช้ดโรนในเชิงพาณิชย์ ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ละประเทศมีกฎหมายที่แตกต่างกัน แต่มีข้อตกลงร่วมกันว่า ดโรนไม่สามารถขึ้นบินได้ที่ความสูงเกิน 120 เมตร และห้ามบินเข้าเขตสนามบินโดยเด็ดขาด สำนักงานการบินพลเรือนของอังกฤษ (CAA) ได้สร้าง “DRONE CODE” กำหนดกฎระเบียบในการรับผิดชอบการใช้ดโรน โดยชี้ว่าสถานที่ใดผู้ใช้สามารถบินได้ หรือบินไม่ได้ มีใบอนุญาตที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น CAA หรือ US เทียบเท่า FEDERAL AVIATION AUTHORITY (FAA) จะต้องมีใบอนุญาตทุกครั้งเมื่อจะใช้งานดโรนตัวใหม่ กฎระเบียบของสหราชอาณาจักร ในปัจจุบันระบุว่า ดโรนไม่ควรบินออกจากระยะการมองเห็นของผู้ใช้งาน ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งโดยตรง กับดโรนไร้คนบังคับในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นบริการใหม่ และยังไม่มีการดำเนินการ ระบุสิ่งที่สามารถทำได้ และทำไม่ได้ การออกบิน แรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการจัดส่งสินค้าด้วยดโรน คือ ความต้องการร่นระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า PRIME AIR และ UPS ให้สัญญาว่าจะจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าภายใน 30 นาที เพื่อบรรลุเป้าหมาย สิ่งสำคัญที่ต้องคิด คือ ดโรนจะออกตัวจากที่ใด ทางเลือกแรกถูกค้นพบโดย PRIME AIR ซึ่งจะปล่อยดโรนจากศูนย์จัดส่งที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการเดินทาง และระยะเวลาของแบทเตอรี ดโรนของ AMAZON บินได้ไกลประมาณ 16 กิโลเมตร นั่นหมายความว่าต้องมีศูนย์จัดส่งสินค้าตั้งอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่ UPS ใช้วิธีการปล่อยดโรนอีกแบบหนึ่ง โดยใช้รถตู้สีน้ำตาลที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการปล่อยดโรน เพื่อจัดส่งพัสดุไปยังพื้นที่ชนบทที่พนักงานไปรษณีย์ต้องเดินทางด้วยเท้า บริษัทคาดว่าการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงาน กับดโรน สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/ปี (ประมาณ 1,600 ล้านบาท) ในการแถลงข่าวเปิดตัว มาร์ค วอลเลศ ประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม และความยั่งยืนระดับโลก กล่าวว่า การทดสอบนี้แตกต่างจากทุกสิ่งที่เราเคยทำกับดโรน ซึ่งจะมีผลต่อการจัดส่งสินค้าในอนาคต โดยเฉพาะในพื้นที่แถบชนบทที่รถขนส่งต้องเดินทางหลายกิโลเมตร เพื่อจัดส่งสินค้าเพียงชิ้นเดียว ลอยอยู่ในอากาศ ดโรนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่นเดียวกับเครื่องบิน การออกแบบดโรนขนส่งมีหลายรูปแบบ บางตัวมีใบพัดมากมาย แต่บางตัวมีเพียง 2 ใบพัด ซึ่งคล้ายเครื่องบินมาก เป้าหมายการออกแบบให้มีขนาดเล็ก และมีใบพัด ดโรนที่มี 4 ใบพัด เช่น PRIME AIR ใบพัดทั้ง 4 จะทำงานรักษาสมดุลให้ดโรนไม่เอียงไปมา และยังรักษาตำแหน่งจีพีเอส เมื่อบินอยู่ในอากาศ อย่างไรก็ตาม การจัดส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากต้องคำนวณให้ดี เนื่องจากดโรนจะต้องใช้พลังงานมากในการบรรทุกพัสดุที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักสูงสุดที่สามารถบรรทุกได้ คือ 2.3 กิโลกรัม เส้นทางบิน เมื่อดโรนบินอยู่บนอากาศ มันคือยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ (ไม่ต้องมีคนขับ) เช่น PRIME AIR พวกเขาต้องใช้เทคโนโลยีในการมองเห็นระยะไกล โดยระบบนำทางจีพีเอส เพื่อให้ดโรนสามารถเดินทางไปยังจุดหมายได้ ในขณะเดินทาง สิ่งที่น่ากังวลสำหรับลูกค้า และทีมพัฒนาศักยภาพ คือ สิ่งกีดขวางที่ดโรนอาจต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นนก ต้นไม้ หรือดโรนลำอื่น ระบบ SAA (SENSE AND AVOID) จะหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งในอากาศและบนพื้นดิน เซนเซอร์ และกล้อง สามารถระบุสิ่งกีดขวางที่อยู่ในรัศมี เพื่อให้ดโรนสามารถบินหลีกเลี่ยงได้ แต่ละบริษัทกำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อพัฒนาดโรนเวอร์ชันของตัวเอง ซอฟท์แวร์เบื้องต้นที่เห็นตอนนี้ ยังต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก อนาคตของดโรนขนส่ง แม้ว่าอุตสาหกรรมดโรนขนส่งจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีขั้นสูง แต่หนทางยังอีกไกลกว่าเราจะได้หุ่นยนต์ส่งของที่บินอยู่บนฟ้า กฎหมายการบิน เทคโนโลยี SENSE AND AVOID ฯลฯ เป็นอุปสรรคที่ต้องเอาชนะให้ได้ เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า ในปี 2019 NASA ตั้งใจจะเสนอเส้นทางที่มีศักยภาพสำหรับการใช้โดรนในเชิงพาณิชย์ UPS, DHL และ AMAZON กำลังพัฒนาระบบ และกลยุทธ์ใหม่ เพื่อความสมบูรณ์แบบ AMAZON ถึงขั้นจดสิทธิบัตรศูนย์จัดส่งสินค้าแบบรวงผึ้ง สำหรับการใช้ดโรนส่งสินค้าในเมือง ในอีกไม่กี่ปี การทดลองใช้งาน และพโรแกรม ควบคุมการบิน จะทำให้อนาคตของดโรนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยราวปี 2021 อาจได้เห็นดโรนขนส่งใช้งานได้จริง และเราอาจได้ยินเสียงเพลงของซานตาคลอสควบคู่ไปกับเสียงของดโรน ในการส่งของขวัญวันคริสต์มาส เป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ ดโรนประกาศจะเปลี่ยนแปลงโลก แต่ยังมีอีกหลายอุปสรรคที่ต้องแก้ไข ข้อดี รวดเร็ว ดโรนเชิงพาณิชย์สามารถร่นระยะเวลาในการส่ง เหลือเพียง 30 นาที เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลายบริษัท เช่น UPS กล่าวว่าการใช้ดโรนในการส่งสินค้า สามารถลดการปล่อยไอเสียจากยานพาหนะได้ ราคาถูก แม้ค่าขนส่งโดยใช้ดโรน จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ PRIME AIR ของ AMAZON ใช้งบประมาณในการส่งสินค้าเพียง 1 เหรียญสหรัฐฯ เร่งด่วน ดโรนสามารถบินไปถึงจุดหมายได้โดยตรง ดังนั้น มีโอกาสที่จะได้ใช้ดโรนในการส่งยารักษาโรค ไปยังสถานที่ต่างๆ ข้อเสีย สภาพอากาศ ถ้ามีลมแรง พายุ ฟ้าผ่า และฝนตกหนัก ก็อาจจะกระทบกับการส่งของได้ ระยะทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งสินค้าในเวลาที่กำหนด อาจจะต้องสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับความต้องการ ความปลอดภัย ต้องคำนวณน้ำหนัก เพื่อมั่นใจว่าการส่งสินค้าด้วยดโรนจะปลอดภัย เพราะมีคนเดินอยู่ด้านล่าง และข้อผิดพลาดของอุปกรณ์เทคโนโลยีอาจเกิดขึ้นได้ การลงจอด ดโรนอาจไม่สามารถลงจอดในเมืองที่มีตึกสูงอย่างปลอดภัยได้ เนื่องจากไม่มีที่จอด และผู้คนอาศัยอยู่บนอพาร์ทเมนท์สูงๆ รู้หรือไม่ ? DHL ผลิตดโรน 130 ตัว ขนส่งสินค้าระหว่างหมู่บ้านในแอลพ์ส์ ในโครงการนำร่องเมื่อปีที่แล้ว ดโรนขนส่งตัวอื่นๆ . สถานที่ห่างไกล ไม่ใช่ศูนย์การแพทย์ทุกแห่งบนโลก จะสามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลได้ บางบริษัท เช่น MATTERNET ได้พัฒนาเทคโนโลยีดโรน และซอฟท์แวร์ไพลอท ที่เรียกว่า CLOUD เพื่อจัดส่งยาไปยังพื้นที่ห่างไกล การรักษาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เมื่อบางคนอยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้น เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ดโรนฉุกเฉิน DELFT สามารถเป็นอุปกรณ์รักษาได้ โดยมีเครื่องมือสำหรับทำ CPR พโรเจคท์นี้สร้างขึ้นเพื่อร่นระยะเวลาการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจฉุกเฉิน บรรทุกคน ดโรนสามารถขนส่งคนได้ด้วยระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ดโรน 2 ที่นั่ง สามารถบินไปยังจุดหมายของผู้โดยสารได้ (น่านฟ้าที่อนุญาตให้บินได้) มีใบพัด 16 ใบ เพื่อยกดโรนขึ้น และสามารถบินได้นานถึง 20-25 นาที จัดส่งยา ในประเทศรวันดา การจัดส่งเลือดไปยังโรงพยาบาลใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่ตอนนี้ได้ดโรน ZIPLINE มาช่วย สามารถจัดส่งเลือด และยาต่างๆ ถึงจุดหมายภายใน 30 นาที เปิดตัวในปี 2016 ดโรนช่วยชีวิตลำนี้ทำการขนส่งเลือดมาแล้วกว่า 21 ครั้ง ขั้นตอนการสั่ง ผ่านทางแอพพลิเคชันชอพพิง หรือทางเวบไซท์ ลูกค้าจะเลือกสินค้าที่ดโรนสามารถจัดส่งได้ ศูนย์กระจายสินค้า สินค้าจะถูกเก็บไว้ที่โกดังทั่วประเทศ พร้อมที่จะบรรจุลงในดโรน ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ รู้หรือไม่ ? AMAZON ต้องจ่ายค่าจัดส่งสินค้าถึง 5.75 เหรียญสหรัฐฯ/ชิ้น ในปี 2016 จากศูนย์กระจายสินค้าถึงหน้าบ้านคุณ มาดูกันว่า ดโรนขึ้นบินและจัดส่งของอย่างไร “การทดลองใช้งาน และพโรแกรมไพลอท ทำให้อนาคตของดโรนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น” ขึ้นบิน เมื่อบรรจุสินค้าอย่างปลอดภัย ดโรนจะอยู่ในจุดที่พร้อมปล่อยตัวออกจากศูนย์กระจายสินค้า การบิน ตามกฎหมายการบิน ดโรนจะต้องบินในระดับความสูงไม่เกิน 120 เมตร เพื่อหลีกเลี่ยงเขตห้ามบิน เขตห้ามบิน เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย ดโรนไม่สามารถบินผ่านพื้นที่ใกล้สนามบิน หรือเขตหวงห้ามอื่นๆ ได้ สถานที่ เมื่อจุดหมายปลายทางถูกกำหนดลงใน พโรแกรม ดโรนก็พร้อมขึ้นบิน การลงจอด แผ่นลงจอดจะถูกติดตั้งในสวนของบ้านลูกค้า เพื่อเป็นที่จอดของดโรน การจัดส่ง เทคโนโลยี SENSE AND AVOID ช่วยให้ดโรนลงจอดในพื้นที่ว่างเปล่าที่กำหนดไว้ ก่อนปล่อยสินค้าลงโดยอัตโนมัติ บินกลับ เมื่อดโรนส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว มันจะเข้าสู่ขั้นตอนการขึ้นบิน และเดินทางกลับศูนย์กระจายสินค้า ข้อมูลตัวเลขของดโรนส่งของในอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีดโรนประมาณ 8-86 ล้านตัว 100 เหรียญสหรัฐฯ คือ รายจ่ายโดยเฉลี่ยของแบทเตอรี แบทเตอรีของดโรน จะอยู่ได้ประมาณ 250 ชม. 1 เหรียญสหรัฐฯ คือ ค่าจัดส่งสินค้า/ชิ้น ผ่านดโรน ด้วยน้ำหนัก 2.3 กก. ระยะทางไม่เกิน 16 กม. AMAZON คาดการณ์ไว้ การใช้ดโรนในอุตสาหกรรมขนส่งจะช่วยประหยัดเงินกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หากเปรียบเทียบกับการขนส่งในปัจจุบัน
ABOUT THE AUTHOR
HOW IT WORKS MAGAZINE
ภาพโดย : HOW IT WORKS MAGAZINEนิตยสาร 417 ฉบับเดือน กรกฏาคม ปี 2561
คอลัมน์ Online : เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS