รอบรู้เรื่องรถ
รถทนทาน เพราะผู้สร้าง หรือเพราะผู้ใช้
เป็นคำถาม “ถาวร” ของผู้ใช้รถทุกยุคสมัยครับ ว่ารถที่พวกเราใช้กันอยู่นี้ มันมีอายุขัยที่แท้จริงสักเท่าไร ก่อนที่จะต้อง “ซ่อมใหญ่” หรือว่าต้องเลิกใช้แล้วทิ้งไป เนื่องจากมันถูกประกอบขึ้นมาจากชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย และล้วนแต่เป็นของแข็งที่เสื่อมสภาพได้ยากเวลา หรืออายุของรถ จึงไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญนัก แต่กลับเป็นระยะทางที่รถนั้นควรทำได้มากกว่า ชิ้นส่วนที่สึกหรอมาก หรือน้อยตามแต่ระยะทางที่รถถูกใช้งานนั้น ถ้าไม่นับส่วนที่เปลี่ยนง่ายนับเป็นเรื่องปกติ อย่างผ้าเบรค จานคลัทช์ (ของรถเกียร์ “ธรรมดา”) ก็เหลือเพียงระบบขับเคลื่อนเท่านั้น และถ้าตัดชุดส่งกำลังซึ่งอายุค่อนข้างยืนยาวออกไป ก็จะเหลือส่วนสำคัญที่สุด ที่พวกเราผู้ใช้รถ ล้วนคาดหวังว่าจะให้มันทำหน้าที่ได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ หรือ “ซ่อมใหญ่” เพราะเป็นทั้งงานใหญ่ และยังสิ้นเปลืองเงินมากอีกด้วย มีตัวแปรซึ่งมีผลต่ออายุใช้งานของเครื่องยนต์รถของเราอยู่มากพอสมควรครับ เช่น วิธีขับ (ซึ่งมีตั้งแต่แบบถูกหลัก ทะนุถนอม ไปจนถึงทั้งผิดหลักและยัง “ตะบัน” อีกด้วย) การบำรุงรักษา สภาพแวดล้อมที่รถถูกใช้งาน คุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น หรือแม้แต่คุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำชิ้นส่วนภายในของเครื่องยนต์ ก็ส่งผลต่อความทนทานของเครื่องยนต์อย่างมากครับ ลองนึกภาพแหวนลูกสูบที่ทำจากวัสดุคุณภาพต่ำดูก็ได้ครับ ว่าจะทนต่อความร้อนในห้องเผาไหม้ และการเสียดสีกับผนังกระบอกสูบ ขึ้น/ลงนับพันล้านครั้งได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเช่นนี้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำได้ ก็น่าจะเป็นการดูตัวอย่างจากการใช้งานจริงของรถที่ทนทานเป็นพิเศษหลายๆ ประเภท จากแหล่งผลิตที่ต่างกัน ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน แล้วเราค่อยมาคัดแยกกันอีกที ว่าอะไร คือ ปัจจัยที่ทำให้รถเหล่านี้ทนทานเป็นพิเศษ จากนั้นก็ถอยกลับมาประเมินกันอย่างหยาบๆ ว่ารถระดับเฉลี่ยที่ถูกใช้งานระดับเฉลี่ยทั่วไป ได้รับการบำรุงรักษาตามที่ควรจะเป็นนั้น น่าจะมีอายุใช้งานยืนยาวระดับไหน คงไม่มีประเทศไหนที่เหมาะแก่การหาข้อมูลอ้างอิงในเรื่องนี้ เท่ากับประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน คือ เป็นประเทศที่ราคาเชื้อเพลิงต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพของประชาชน มีขนาดใหญ่มาก ประชาชนใช้รถยนต์เป็นพาหนะหลักในการเดินทาง และไม่มีค่านิยมในการเปลี่ยนรถบ่อย ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้รถก่อนจะเปลี่ยนเป็นคันใหม่ ของผู้ใช้รถในประเทศนี้ คือ 11 ปีเศษครับ ถือว่าคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือยเลย ถึงแม้จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยก็ตาม เราจะเห็นว่าทุกข้อที่กล่าวมานี้ ล้วนเอื้อต่อการพบรถที่ถูกใช้งานยาวนาน และส่วนใหญ่เป็นระยะทางที่มาจากการเดินทางไกล ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้ในภารกิจประจำวันก็ตาม จึงมี “ชนรมรถ 1 ล้านไมล์” หรือกลุ่มผู้รักรถทนทาน ถูกก่อตั้งขึ้นมาหลายแห่งด้วยกัน และผมจะสุ่มเลือกมาเป็นตัวอย่างให้ดูกัน โดยไม่เรียงลำดับระยะทางนะครับ SAAB SPG ปี 1989






ABOUT THE AUTHOR
เ
เจษฎา ตัณฑเศรษฐี
ภาพโดย : ิอินเตอร์เนทนิตยสาร 399 ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2564
คอลัมน์ Online : รอบรู้เรื่องรถ