รายงาน(formula)
ทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ CNG
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นไม่หยุด ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถยนต์โดยตรง หลายคนเลิกใช้น้ำมัน หันมาใช้ แกสธรรมชาติอัด หรือ ซีเอนจี (CNG) ตามแรงสนับสนุนของรัฐบาล และ ปตท.เพราะสู้ราคามหาโหดของน้ำมันไม่ไหว ทั้งที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของเชื้อเพลิงใหม่อย่างถ่องแท้
"ฟอร์มูลา" ฉบับนี้จึงอาสาคลายข้อสงสัย และแนะเกร็ดใหม่ๆ ที่น่ารู้ของ ซีเอนจี
ข้อดี และข้อด้อยของ ซีเอนจี
แกสธรรมชาติมาจากไหน ?
ประเทศไทยได้สำรวจแหล่งแกสธรรมชาติในอ่าวไทยและนำขึ้นมาใช้ตั้งแต่ปี 2524 เริ่มแรกใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหินและน้ำมันเตาที่มีราคาสูง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยมูลค่ามหาศาล ขณะเดียวกันยังต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านพลังงาน
การนำแกสธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้ จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการพึ่งพาพลังงานที่มีอยู่ภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม และเนื่องด้วยแกสธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด คุณภาพดี และราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ทำให้ปริมาณการใช้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีผู้รับสัมปทานสำรวจและผลิตแกสจึงเสาะแสวงหาแหล่งใหม่ๆ เพื่อนำขึ้นมาใช้ให้ได้มากที่สุด
ดีอย่างไร ?
แกสธรรมชาติเผาไหม้ได้ดีกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และไม่มีกากของเชื้อเพลิงหลังการเผาไหม้ แกสธรรมชาติไม่มีฝุ่นออกไซด์ของกำมะถัน และไนโตรเจน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อน และปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศโลกน้อยกว่าเชื่อเพลิงชนิดอื่น
นอกจากนี้ยังขนส่งทางท่อ จึงปลอดภัยต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมมากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ซึ่งขนส่งทางรถยนต์ หรือทางเรือ แกสธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการสันดาปดีกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น เช่น ถ่านหินหรือน้ำมัน ไม่ทำลาย หรือกัดกร่อนอุปกรณ์ และวัสดุในกระบวนการผลิต
มีปริมาณเท่าใด ?
อุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทยคาดว่าปริมาณแกธรรมชาติในเมืองไทย มีอยู่อย่างน้อย 45-58 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้แกสไปทั้งสิ้นประมาณ 4.2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หากไม่ค้นพบแหล่งแกสใหม่เพิ่ม ด้วยอัตราการใช้ในปัจจุบันประเทศไทยจะยังมีแกสธรรมชาติเหลือเพียงพอใช้ 60-70 ปี
ปัจจุบันผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมยังค้นพบแหล่งแกสธรรมชาติใหม่อยู่ตลอดเวลา ถ้าดูจากสถิติของ บริษัท ยูโนแคล ฯ ผู้สำรวจและผลิตแกสรายใหญ่ที่สุดของไทยพบว่า 5 ปีที่ผ่านมา สามารถค้นพบแหล่งแกสใหม่ๆ ได้มากกว่าการผลิตขึ้นมาใช้ถึง 1.5 เท่า
นำแกสธรรมชาติมาอัด ได้ ซีเอนจี
ซีเอนจี มีส่วนประกอบของแกสหลายชนิดได้แก่ มีเธน อีเธน โพรเพน และบิวเทน แกสเหล่านี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ต้องแยกแกสออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่มีเธน ใช้ผลิตไฟฟ้าและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้กับรถยนต์ อีเธน และโพรเพน ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมี โพรเพน และบิวเทน ใช้เป็นแกสหุงต้ม และใช้เป็นเชื่อเพลิงในโรงงานและรถยนต์
นอกจากนี้ ซีเอนจี ยังเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ แต่มีปัญหาที่หาซื้อยากกว่าถ่านหิน ขนส่งใส่เรือมาไม่สะดวก และราคาแพงมาก จึงต้องวางท่อแกสมายังโรงไฟฟ้า ซึ่งปกติแล้วต้องมีบางส่วนที่ผ่านป่า ชุมชน และสวนไร่นาชาวบ้าน จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่พอสมควร
แกสธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงที่มี มีเธนเป็นส่วนประกอบหลัก สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน และดีเซล แกสธรรมชาติที่ถูกอัดจนมีความดันสูง (มากกว่า 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว) ซึ่งเรียกว่า CNG (COMPRESSD NATURAL GAS) หรือ แกสธรรมชาติอัด สามารถนำมาใช้กับรถยนต์ทั่วไปได้
เพราะอย่างนี้ ซีเอนจี ถึงน่าใช้
ซีเอนจี มีส่วนดีตรงที่สัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และมีคุณสมบัติเป็นแกส ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์จึงต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น อีกทั้งยังเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดควันดำ หรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั่วไป จึงสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
ปัจจุบัน ซีเอนจี เริ่มได้รับความนิยม และความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะราคาน้ำมันที่ยังพุ่งสูงขึ้น และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงมาเท่าเดิมอีกแล้ว นอกจากนี้ ซีเอนจี ยังเป็นแกสที่ระเหยไปในบรรยากาศได้อย่างรวดเร็วทำให้โอกาสติดไฟแทบไม่มีให้เห็น ความปลอดภัยจึงค่อนข้างสูง
แต่บางที ก็ไม่อยากใช้ เพราะ...
ซีเอนจี ยังมีข้อด้อยกว่าพลังงานอื่นๆ อีกมาก ถึงแม้จะเป็นพลังงานที่ได้รับการสนับสนุนและผลักดันจากภาครัฐ แต่ยังไม่สามารถสร้างกระแสความนิยมได้มาก ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากจำนวนสถานีบริการที่มีน้อย ถึงแม้โครงการติดตั้งปั๊ม ซีเอนจี จะกำลังเร่งดำเนินการที่แล้วเสร็จครอบคลุมทั่วกรุงเทพ ฯ ปริมณฑล รวมถึงในต่างจังหวัดแต่ก็ยังค่อนข้างช้า
นอกจากนี้แรงผลักดันด้านประชาสัมพันธ์ยังมีไม่มาก การให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน โดยเฉพาะในวงการรถยนต์ยังไม่เพียงพอ แถมไม่มีการทดสอบเปรียบเทียบกับพลังงานอื่นๆ ให้เห็น หรือการแนะนำจากผู้รู้ให้เข้าใจแบบละเอียดถี่ถ้วน อีกทั้งราคาค่าติดตั้งที่แพง แม้จะช่วยลดภาษีแล้ว และส่วนใหญ่ต้องใช้อุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
ผู้ที่ต้องการติดตั้งบางรายจึงรอตัดสินใจอยู่ว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีผู้ให้บริการติดตั้งในราคาที่ถูกลงกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งถ้าสามารถผลิตอุปกรณ์ติดตั้งได้เองในประเทศ อาทิ ถัง หรือหม้อต้ม ท่อ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
นอกจากราคาแล้ว ข้อด้อยอีกประการของ ซีเอนจี คือ ต้องเติมแกสบ่อย แม้ถังจะมีขนาดใกล้เคียงกันดังนั้นเมื่อต้องเติมแกสบ่อย แต่จำนวนสถานีบริการก็ยังเติบโตช้า จึงไม่สามารถรองรับและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ต้องการติดตั้งแกสในระบบ ซีเอนจี
ทั้งนี้กระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เร่งแผนส่งเสริมการใช้แกสธรรมชาติ หรือ ซีเอนจี ให้มากยิ่งขึ้น คาดว่าในปี 2551 จะเพิ่มเป็น 1.8 แสนคัน โดยแนวทางการส่งเสริมให้ใช้ ซีเอนจี จะมุ่งไปที่รถซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณมาก หรือใช้งานหนัก อาทิ รถแทกซีในกรุงเทพ ฯ รถขนส่งมวลชน รถโดยสาร รถตู้ ซึ่งรถเหล่านี้จะต้องเสียเงินเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเงินต่อเดือนสูงมาก หากนำมาเปลี่ยนเป็น ซีเอนจี ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงเกือบครึ่งหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน ปตท. เตรียมเปิดขยายสถานีบริการเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20 แห่ง โดยภายในปี 2551 จะเพิ่มเป็น 180 แห่ง เพื่อรองรับแนวโน้มอัตราจำนวนผู้ใช้รถติดตั้ง ซีเอนจี ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้แม้ว่าน้ำมันจะปรับราคาสูงขึ้นในระดับใดก็ตาม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถยนต์ รัฐบาลได้วางแผนกำหนดเพดานราคา ซีเอนจี ไว้ไม่เกิน 10.34 บาท/กก. ดังนี้ ปี 2549 กำหนดราคาร้อยละ 50 ของราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ปี 2550 ปรับเป็นร้อยละ 55 ของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 ปี 2551 ปรับเป็นร้อยละ 60 ของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 ปี 2552 ปรับเป็นร้อยละ 65 ของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91
ติดตั้งอย่างไรดี ?
รถยนต์ที่ใช้แกส ซีเอนจี แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. รถยนต์ใช้ ซีเอนจี เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว (DEDICATED) ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรง ใช้เครื่องยนต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับใช้แกส ซีเอนจี โดยเฉพาะ
2. รถยนต์ใช้ ซีเอนจี ระบบเชื้อเพลิงทวิ (BI-FUEL SYSTEM) ซึ่งสามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซิน หรือใช้แกส โดยเพียงแต่ปรับสวิทช์เลือกใช้เท่านั้น ระบบนี้มีทั้งเครื่องยนต์ที่ผลิตจากโรงงานโดยตรง หรือนำมาติดตั้งอุปกรณ์ภายหลัง
ระบบที่ใช้สำหรับเครื่องเบนซิน
เครื่องยนต์ที่ใช้ ซีเอนจี มีระบบการควบคุมเชื้อเพลิง โดยอาศัยหลักการเดียวกับระบบของเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งมีพัฒนาการตั้งแต่ระบบที่ใช้คาร์บูเรเตอร์ จนถึงระบบหัวฉีดที่ควบคุมด้วยระบบดิจิทอลแยกได้ดังนี้
ระบบดูดแกส (FUMIGATION) มีอุปกรณ์ผสมแกสกับอากาศ (GAS MIXER) ทำหน้าที่ผสมแกสกับอากาศที่เครื่องยนต์ดูดเข้าไป ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับการเผาไหม้ ก่อนที่จะจ่ายเข้าเครื่องยนต์หากจะให้เข้าใจง่ายขึ้นก็เปรียบเสมือนระบบคาร์บูเรเตอร์ในเครื่องยนต์นั้นเอง ระบบนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่จ่ายน้ำมันเบนซินได้ทั้งคาร์บูเรเตอร์และหัวฉีด ราคาค่าติดตั้งประมาณ 30,000-40,000 บาท
สำหรับเครื่องยนต์หัวฉีดที่ติดตั้งระบบนี้ จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง แต่สมรรถนะของเครื่องยนต์จะลดลง นอกจากนี้อาจเกิดปัญหาการเผาไหม้ย้อนกลับ (BACK FIRE) ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับท่อร่วมไอดี ที่ทำจากพลาสติค หรือไฟเบอร์ รวมทั้งไส้กรองอากาศ อาจป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยเปลี่ยนท่อร่วมไอดีเป็นชนิดเหล็กหล่อแทน หรืออุปกรณ์ระบายความดันที่เกิดจากการเผาไหม้ย้อนกลับ
อุปกรณ์หลัก ประกอบด้วย
1. ถังแกส ต้องรับความดัน 200 บาร์ หรือ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว อาจจะทำด้วย เหล็ก อลูมิเนียมหรือเรซินเสริมใยสังเคราะห์ ขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร มีน้ำหนักประมาณ 63 กก. เมื่อรวมกับน้ำหนักแกส ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กก. จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กก.
2. เต้ารับเติมแกส ทำหน้าที่รับแกสไปบรรจุในถัง
3. หม้อต้ม หรืออุปกรณ์ปรับความดันแกส (PRESSURE REGULATOR) เป็นอุปกรณ์ที่ลดความดันแกสจาก 200 บาร์ ลงมาเหลือ 2-3 บาร์ เนื่องจากเมื่อลดความดันแกส ผ่านรูเล็กๆ จะเกิดความเย็นจนอาจทำให้เกิดน้ำแข็งเกาะหรืออุดตันทางไหลของแกสได้ จึงต้องใช้น้ำที่ระบายความร้อนจากเครื่องยนต์มาอุ่น คนทั่วไปจึงเรียกอุปกรณ์ลดความดันนี้ว่า "หม้อต้ม"
4. อุปกรณ์ปรับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ (TIMING ADVANCER) ทำหน้าที่ปรับจังหวะการจุดระเบิดของหัวเทียนให้เหมาะกับการเผาไหม้แกส
5. สวิทช์เลือกชนิดเชื้อเพลิง ทำหน้าที่ตัด/ต่อระบบควบคุมเชื้อเพลิงที่ต้องการใช้
ระบบฉีดแกส (MPI: MULTI POINT INJECTION SYSTEM) ระบบนี้มีการจ่ายเชื้อเพลิงแกส ด้วยหัวฉีดที่ท่อไอดีของแต่ละสูบ และควบคุมส่วนผสม ให้อากาศพอดีสำหรับการเผาไหม้ โดยชุดควบคุมอิเลคทรอนิคส์ทำการประมวลผล ควบคุมการเปิด-ปิดของหัวฉีด ที่ปล่อยแกสไปยังท่อไอดีของแต่ละสูบให้เหมาะสมกับปริมาณอากาศทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ และเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์หากเปรียบให้เห็นภาพก็เหมือนกับระบบหัวฉีดในรถยนต์ ระบบนี้ใช้ได้กับเครื่องยนต์หัวฉีดเพียงอย่าง
เดียวเท่านั้น ราคาค่าติดตั้งของระบบนี้ประมาณ 45,000-60,000 บาท
อุปกรณ์หลัก ประกอบด้วย
1. ถังบรรจุแกส ต้องรับความดัน 200 บาร์ หรือ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว ต้องมีความแข็งแรง อาจจะทำด้วย เหล็ก อลูมิเนียม หรือเรซินเสริมใยสังเคราะห์ ขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร
2. เต้ารับเติมแกส ทำหน้าที่รับแกสไปบรรจุในถัง
3. อุปกรณ์ปรับความดันแกส (PRESSURE REGULATOR) ลดแรงดันจาก 200 บาร์ ลงมาเหลือ 2-3 บาร์
4. อุปกรณ์ปรับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ (TIMING ADVANCER) ทำหน้าที่ปรับจังหวะการจุดระเบิดของหัวเทียนให้เหมาะกับการเผาไหม้แกส
5. ชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์ (ELECTRONIC CONTROL UNIT) ทำหน้าที่ควบคุมการเปิด-ปิดของโซลินอยล์
วาล์ว ปริมาณแกสที่จ่ายจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนที่เหลือจาการเผาไหม้ในท่อไอเสีย โดยใช้ตัวตรวจวัดออกซิเจนและตำแหน่งการเปิด-ปิดของปีกผีเสื้อมาประมวลผลการจ่ายปริมาณแกส ให้เหมาะกับการทำงานของเครื่องยนต์ตามสภาวะการขับขี่ต่างๆ
6. สวิทช์เลือกชนิดเชื้อเพลิง ทำหน้าที่ตัด/ต่อระบบควบคุมเชื้อเพลิงที่ต้องการใช้
7. ชุดจ่ายแกส (GAS DISTRIBUTOR) ทำหน้าที่ปล่อยแกสที่ท่อไอดีแต่ละสูบ
8. ตัวตรวจวัดออกซิเจน (OXYGEN SENSOR) ทำหน้าวัดปริมาณออกซิเจนที่เหลือจากการเผาไหม้ในท่อไอเสีย เพื่อส่งข้อมูลไปยังชุดควบคุม
9. ตัวตรวจวัดตำแหน่งของปีกผีเสื้อ (THROTTLE POSITION SENSOR) ทำหน้าที่ตรวจวัดตำแหน่งของปีกผีเสื้อ เพื่อส่งไปยังชุดควบคุม
ระบบที่ใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล
ระบบที่ใช้ ซีเอนจี ร่วมกับน้ำมันดีเซล อัตราส่วนแกสธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลจะขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์แกส และคุณภาพของแกสที่ใช้ โดยทั่วไปสามารถใช้อัตราส่วนแกส ซีเอนจี ต่อน้ำมันดีเซลได้ร้อยละ 30 ถึง 70 สามารถเลือกใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียวหรือใช้เชื้อเพลิงร่วมก็ได้ โดยการปรับสวิทช์เลือกใช้เชื้อเพลิง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
แบบดูดแกสที่มีระบบควบคุมแบบธรรมดา (MECHANIC CONTROL) มีหลักการทำงานคือ แกสธรรมชาติความดันสูงจากถังบรรจุไหลผ่านมายังอุปกรณ์ลดความดัน จ่ายแกสไปผสมกับอากาศ ที่บริเวณท่อร่วมไอดี โดยใช้อุปกรณ์ผสมแกสกับอากาศ (GAS MIXER) และผ่านเข้าห้องเผาไหม้ ปริมาณการจ่ายแกสจะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งแกส ขณะเดียวกันก็จ่ายน้ำมันดีเซลเข้าห้องเผาไหม้ เพื่อจุดระเบิดนำการเผาไหม้ของแกส และยังสามารถช่วยลดปริมาณควันดำลงด้วย
แบบดูดแกสที่ใช้โพรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการจ่ายแกสและน้ำมันดีเซล โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมอีเลคทรอนิคส์ (ELECTRONIC CONTROL UNIT) หลักการทำงานคล้ายๆ กับแบบธรรมดา แต่จะป้อนโพรแกรมคอมพิวเตอร์ไปควบคุมการจ่ายแกสให้เหมาะสมกับปริมาณอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ และปรับการจ่ายน้ำมันดีเซลที่ปั๊ม เพื่อให้อัตราส่วนแกสต่อน้ำมันดีเซล เหมาะสมสำหรับการเผาไหม้ที่สภาวะการทำงานต่างๆ ของเครื่องยนต์ ทั้งนี้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงร่วม จะขึ้นอยู่กับการออกแบบโพรแกรมควบคุม และการปรับตั้งอัตราส่วนผสมแกสและน้ำมันดีเซล ระบบนี้จะสามารถหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยลดปริมาณควันดำลงเช่นกัน ค่าติดตั้งอุปกรณ์ทั้ง 2 แบบ มีราคาอยู่ระหว่าง 30,000-45,000 บาท
หากเปรียบเทียบรถที่ใช้ ซีเอนจี กับน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงพบว่า ซีเอนจี สามารถลดแกสคาร์บอนมอนอกไซด์ร้อยละ 50-80 แกสไฮโดรคาร์บอน ได้ร้อยละ 60-80 ลดแกสไนโตรเจนออกไซด์ถึงร้อยละ 60-90 และไม่มีฝุ่นละอองปัญหาใหญ่ของแกส ซีเอนจี อยู่ที่ราคาการติดตั้งอุปกรณ์ค่อนข้างแพง เพราะอุปกรณ์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถังบรรจุแกสมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก แต่เติมได้จริงประมาณ 15 กก. เพราะ ซีเอนจี มีแรงดันสูง เติมครั้งหนึ่งวิ่งได้ประมาณ 200 กม. เท่านั้น ส่วนสถานีบริการเติมแกสก็มีอยู่จำนวนน้อย ต่างจังหวัดหาที่เติมยากหรือแทบจะไม่มีสถานีบริการ แต่ทาง ปตท. การันตีว่า จะเพิ่มสถานีบริการเป็น 60 สถานี ภายในสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 200 สถานีในปี 2551 สร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้โดยการลดหย่อนภาษีสำหรับรถยนต์เชื้อเพลิง ซีเอนจี พร้อมออกค่าติดตั้งให้อีก 10,000 บาท
ความเห็นของผู้ใช้ ซีเอนจี
สมเกียรติ ปักปิ่น
อาชีพ ขับแทกซี
"ผมขับแทกซีอยู่ รถของผมเป็นรถโครงการเอื้ออาทร ฉะนั้นจะต้องติดตั้ง ซีเอนจี อยู่แล้ว ในเรื่องความประหยัด เห็นได้ชัดเจน เพราะถ้าเติมแกสเต็มถัง ราคาประมาณ 110 บาท ได้ 15 กก. เคยวิ่งไกลที่สุด 200 กว่ากม. กินน้ำมันแค่ 93 บาท อาชีพอย่างผม ขับแทกซีต้องวิ่งงานทั้งวัน ใช้น้ำมันอย่างเดียว ขาดทุนแน่ พอเมื่อเปลี่ยนมาเติมแกสแล้วประหยัดขึ้นเยอะ แต่เครื่องยนต์จะมีสะดุดนิดหน่อย อืดบ้างเล็กน้อย ก็เฉพาะน้ำหนักถัง เอนจีวี ก็ปาเข้าไป 80 กก. แล้ว"
จสอ. เกรียงไกร สนทอง
อาชีพ รับราชการ
"ผมบอกได้เลย ว่าใช้แล้วดี ประหยัด แต่ติงอย่างเดียว คือ ปั๊มเติมมีน้อยมาก รอต่อคิวเติมทีเกือบครึ่งชั่วโมง อีกอย่างหัวจ่ายก็เสียบ่อย แต่ช่วยผมก็ประหยัดขึ้นกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับการเติมน้ำมัน ในความคิดของผม ผมว่าถ้าติดตั้งในรถยนต์ความจุ 1,800 หรือ 2,000 ซีซี ขึ้นไป จะยิ่งคุ้มค่ามากกว่า ผมว่าการใช้แกส น่าจะเหมาะกับคนที่ใช้รถทุกวัน หรือออกต่างจังหวัด จะยิ่งคุ้มมาก แต่ปัญหาก็มีอยู่บ้าง คือ เครื่องยนต์สะดุดนิดหน่อย อัตราการเร่งก็ช้าลง ไม่ทันใจเหมือนเก่า"
สัมฤทธิ์ บุญเต็ม
อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว
"ผมขับรถตู้ขายข้าวแกง ต้องใช้รถยนต์เกือบทั้งวัน เลยต้องคิดหาวิธีให้เราเซฟน้ำมันที่สุด เลยตัดสินใจติด ซึ่งใช้แล้วก็ดีนะ ประหยัดไปเกือบครึ่ง เติมแกสเต็มถังแค่ 100 กว่าบาทเท่านั้น เคยเติมเต็มถัง วิ่งไป/กลับได้ 500 กว่ากิโล แต่ผมวิ่งสลับกับใช้น้ำมันดีเซลด้วยเหมือนกัน เพราะในต่างจังหวัดปั๊มเติม ซีเอนจี มีน้อย ผมฝากข้อเสียไว้อย่างหนึ่ง คือ ปั๊มยังมีน้อยอยู่ ทำให้คนต่อคิวนานมาก และหัวเติมก็มักมีปัญหา แต่เครื่องยนต์ก็ออกตัวดี ไม่มีปัญหา เราทำธุรกิจค้าขาย ต้องทำอย่างไรให้ประหยัดที่สุด"
วิชาญ เจริญชีพ
อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว
"ต้องบอกก่อนเลยว่า ผมวิ่งทำงานต่างจังหวัดตลอด เดือนหนึ่ง เติมน้ำมันกว่า 12,000 บาท คิดว่าไม่ไหวแน่นอน ผมจึงต้องคิดหาวิธีให้คุ้มค่ากับการทำธุรกิจ จึงตัดสินใจติด ซีเอนจี เมื่อเปลี่ยนมาใช้แกสผลปรากฎว่า ประหยัดน้ำมันขึ้นเยอะ เคยวิ่งออกต่างจังหวัดไกลที่สุด 270 กม. เติมแกสแค่ 150 บาทแต่ถ้าวิ่งออกไปไกลกว่านั้น ยังต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบน้ำมันอยู่ เพราะปั๊มเติม ซีเอนจี ยังมีน้อยอยู่มากเครื่องยนต์ไม่ค่อยสะดุดเท่าไร แต่มีอืดบ้างเล็กน้อย"
ซีเอนจี กับ เอนจีวี
หลายคนอาจคุ้นหูกับ เอนจีวี (NGV: NATURAL GAS VEHICLES) ซึ่งเป็นชื่อที่ ปตท. ใช้เรียกโครงการสนับสนุนแกสธรรมชาติที่นำมาใช้กับรถยนต์
มากกว่า ซีเอนจี (CNG: COMPRESSED NATURAL GAS) ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกต้องของแกสธรรมชาติ ตัวเดียวกันกับที่ใช้ในโครงการ เอนจีวี
สรุปว่า ถ้าเป็นชื่อโครงการของ ปตท. เรียกว่า เอนจีวี แต่ถ้าเป็นชื่อของแกส เรียกว่า ซีเอนจีการรับประกัน และประกันภัย
การรับประกันของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์
ถ้ารถเป็นใหม่ป้ายแดง หรือรถที่ยังไม่พ้นการรับประกัน แล้วนำไปติดตั้ง ซีเอนจี ?
เวลานี้ บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่แจ้งเป็นเสียงเดียวกันว่า "สิ้นสุดการรับประกันทันที" แต่มีบางแห่งที่ยังให้การรับประกันในเงื่อนไขพิเศษ กับรถที่ซื้อไปติดตั้ง ซีเอนจี เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะ เช่น แทกซี
ในอนาคตจึงอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อ ปตท. ผลักดันจนมีผู้ใช้จำนวนมากขึ้น บริษัทรถยนต์ก็มีโอกาสให้การรับประกันกับรถที่ติดตั้ง ซีเอนจี ได้
ประกันภัยภาคสมัครใจ
รถใช้ ซีเอนจี ไม่มีปัญหา ใช้ประกันได้เหมือนเดิม ?
การรับประกันภัยรถยนต์ไม่ได้คำนึงถึงว่ารถยนต์คันนั้นๆ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือเชื้อเพลิงใดในการขับเคลื่อน แต่จะพิจารณาจากประเภทและลักษณะการใช้รถเป็นสำคัญ
ซึ่งหากรถยนต์ที่ใช้ ซีเอนจี ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การใช้ ซีเอนจี ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยก็ไม่มีปัญหาที่บริษัทประกันภัยจะรับประกันภัย
หากใครถูกบริษัทประกันภัยปฏิเสธการรับประกันภัยเนื่องจากการใช้ ซีเอนจี แอลพีจี หรือ แกสโซฮอลก็ตาม ขอความกรุณาแจ้งให้กรมการประกันภัยทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการประกันภัยรถภาคบังคับหากมีบริษัทใดปฏิเสธการรับประกันภัย กรมการประกันภัยจะได้ลงโทษตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ต่อไป
รถใหม่/เก่าเทคนิคต่างกัน
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และ ปตท. ออกมารับรองว่ารถยนต์ทุกยี่ห้อและทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถกระบะ และรถตู้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ ซีเอนจี ได้ทั้งสิ้น โดยรถยนต์แต่ละคันจะติดตั้งอุปกรณ์ ซีเอนจี ระบบใดนั้น แนะนำให้สังเกตจากท่อร่วมไอดี ของเครื่องยนต์ ถ้าท่อร่วมไอดี เป็นพลาสติค (ส่วนมากจะเป็นรถยนต์ใหม่) แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ ซีเอนจี แบบหัวฉีด ส่วนท่อร่วมไอดีเป็นโลหะ (ส่วนมากรถยนต์เก่า) แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ ซีเอนจี แบบดูดแกส ซึ่งถ้ารถที่มีท่อร่วมไอดี เป็นพลาสติค แล้วไปเลือกติดตั้งอุปกรณ์ ซีเอนจี แบบดูดแกส จะต้องระวังมากๆ ในเรื่องของกรณี BACKFIRE หรือเครื่องจาม
รถยนต์ ซีเอนจี จากโรงงานผู้ผลิต
เดมเลอร์ไครสเลอร์ เริ่มส่ง เมร์เซเดส-เบนซ์ อี 200 เอนจีที (NATURAL GAS TECHNOLOGY) ที่ใช้พลังงานได้ทั้งแกสธรรมชาติ และน้ำมันเบนซิน ลุยตลาดทั่วโลกแล้ว โดยสามารถปรับเปลี่ยนระบบได้สะดวก เพราะปุ่มเปลี่ยนระบบการทำงานอยู่ที่พวงมาลัย เครื่องยนต์ทวินพลัสซูเพอร์ชาร์จขนาด 1.8ลิตร เครื่องยนต์ 163 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. 10.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 227 กม./ชม. อัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน 9.0 ลิตร/100 กม. อัตราสิ้นเปลืองแกสธรรมชาติ 6 กก./100 กม. ยังมีอีกหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาแล้วเช่นกัน คาดว่าอีกไม่นานคงผลิตขายเกือบครบทุกยี่ห้อแน่
ซีเอนจี ปลอดภัยแค่ไหน ?
ถังบรรจุแกสธรรมชาติในรถ ซีเอนจี มี 4 ชนิด คือ
1 เหล็ก หรือ อลูมิเนียม
2 เหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
3 แผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 หุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
4 แผ่นพลาสติค หุ้มด้วยใยแก้ว และเส้นใยคาร์บอนผสมกัน
ชนิดแรก มีต้นทุนต่ำที่สุด แต่มีน้ำหนักมาก ส่วนชนิดที่ 2, 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่า แต่ต้นทุนค่อนข้างสูง
ถังบรรจุแกสของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และหน่วยงานอาสาสมัครที่เข้ามาดำเนินการ ต้องผ่านมาตรฐาน NGV2, FMVSS 304, CSA B-51 PART 2 และ ISO/DIS 11439 ซึ่ง ปตท. บอกว่าปลอดภัย ไม่ระเบิดแน่
ข่าวล่า ที่บราซิล
ไม่นานมานี้มีข่าวว่าถัง ซีเอนจี ในรถยนต์ส่วนบุคคลระเบิด แต่เมื่อพิสูจน์แล้วไปเจอถัง แอลพีจี ในรถอีกใบ ซึ่งใบนี้ต่างหากที่ระเบิด ไม่ใช่ถัง ซีเอนจี
ส่วนถัง ซีเอนจี ยังแข็งแกร่งไม่ระเบิด หรือบุบสลาย หนำซ้ำยังช่วยบังแรงระเบิด ไม่ให้ผู้โดยสารที่นั่งตอนหลังได้รับอันตรายถึงชีวิต
นโยบายส่งเสริมผู้ผลิตจาก BOI
BOI (BORD OF INVESTMENT) ได้สนับสนุนขยายการใช้ ซีเอนจี สำหรับกิจการผลิตเครื่องยนต์ ซีเอนจี และอุปกรณ์สำหรับซีเอนจี (ถังบรรจุ/เครื่องยนต์/ชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ที่ใช้ ซีเอนจีเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับสถานีบริการ ซีเอนจี) โดยได้รับการยกเว้นภาษีอากรนำเข้า ยกเว้น CORPORATE TAX เป็นเวลา 8 ปี และไม่จำกัดเขตพื้นที่ในการตั้งโรงงานผลิต นอกจากนี้ กิจการประกอบรถยนต์ สถานีบริการ ได้รับยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรอีกด้วย
ติด ซีเอนจี ต้องดูแลอย่างไร ?
1. ตรวจเชครอยรั่วของท่อแกส ซีเอนจี ทุกเดือน โดยการใช้ฟองสบู่หรือเครื่องตรวจวัดแกสรั่ว
2. ตรวจเชคและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุก 5,000 กม.
3. ตรวจเชคนอท สกรูที่ยึดถังแกสทุกเดือน
4. ตรวจเชค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะทางใช้งาน 40,000-60,000 กม. ทั้งนี้ บ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ใช้ ซีเอนจี มีโอกาสสึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน แนะนำให้ใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ ซีเอนจี บ้างเพื่อให้น้ำมันเบนซินไปเคลือบบ่าวาล์วทำให้บ่าวาล์วมีอายุการใช้งานนานขึ้น
รายชื่อบริษัทรับติดตั้ง ซีเอนจี
บริษัท ส. ศิริแสง จำกัด เลขที่ 300/8-9 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวง/เขตดินแดง กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 0-
2691-9777
บริษัท ซุปเปอร์เซ็นทรัลแก๊ส จำกัด เลขที่ 7/383 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวง/เขตจตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900
โทร. 0-2939-5601-9
บริษัท โพลีเทคโนโลยี จำกัด เลขที่ 108/59 ซอยต้นสน ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัด
นนทบุรี 11120 โทร. 0-2960-5070
บริษัท ก๊าซเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เลขที่ 43/9 ถนนพิบูลสงคราม 22 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
11120 โทร. 0-2527-1571
บริษัท โอโตก๊าซ (ไทยแลนด์) จำกัด เลขที่ 20/2 หมู่บ้านพฤกษชาติ ถนนรามคำแหง แขวง/เขตสะพาน
สูง
กรุงเทพ ฯ 10240 โทร. 0-2729-4767
บริษัท เอ็นจิเนียริ่งโปรดักส์ จำกัด เลขที่ 289/9 ถนนรางรถไฟสายเก่า แขวงสำโรง เขตพระประแดง
กรุงเทพ ฯ 10130 โทร. 0-2743-5010-25
บริษัท ชื่นศิริ จำกัด เลขที่ 1309 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพ ฯ 10120 โทร. 0-
2286-1808-9
บริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด เลขที่ 1/102 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ
10210 โทร. 0-2954-0505-8
บริษัท ทาคูนิ (ประเทศไทย) จำกัด เยื้องเดอะมอลล์บางแค ถนนกาญจนาภิเษก (แถบศาลเจ้าแม่
ทับทิม)
กรุงเทพ ฯ โทร. 0-2803-6375
บริษัท เซทง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด เลขที่ 30/12 ถนนสุขุมวิท 63 เขตวัฒนา กรุงเทพ ฯ 10110 โทร.
0-2713-0281-2
บริษัท อีทูอี จำกัด เลขที่ 207/206 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ ฯ
10400 โทร. 0-2693-8850-3
บริษัท เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (กรีนแก๊สเทคโนโลยี) เลขที่ 140/1
ชั้น 11
อาคารเคี่ยนหงวน 2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10330 โทร. 0-2651-4108-11
บริษัท แอล วี เทค จำกัด เลขที่ 2132 อาคารอยู่สุข ซอยศรีมิตร ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัด
สมุทรปราการ โทร. 0-2383-5730, 0-2383-5738
บริษัท บูลแกส จำกัด เลขที่ 1999 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ
10320 โทร. 0-2718-0427-32
HIGENIC CO., LTD. เลขที่ 38 ถนนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ 10500 โทร. 0-2631-
5127
บริษัท เอ็นจีวีพลัส (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 328-328/1 ถนนบริพัตร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบ
ศัตรูพ่าย กรุงเทพ ฯ 10100 โทร. 0-2225-6113-4, 0-2621-1148, 0-2222-8774
บริษัท บางกอกไครสเลอร์ จำกัด เลขที่ 1934 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพ
ฯ โทร.
0-2319-6809-13
บริษัท แนชเชอรัลแก๊ส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เลขที่ 128/96 ซอยรามคำแหง 24 ถนนรามคำแหง แขวงหัว
หมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพ ฯ 10240 โทร. 0-2719-0368-9
บริษัท มีคุณค่า จำกัด เลขที่ 1518/5 ถนนประชาราษฎร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพ ฯ
10800
โทร. 0-2586-7788
บริษัท นวัตพลัง จำกัด เลขที่ 177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ชั้น 21 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์
เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ 10500 โทร. 0-2634-8620-2
ศูนย์ติดตั้งอุปกรณ์ NGV สาขาถนนจรัญสนิทวงศ์ เลขที่ 684/3 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขต
บางพลัด กรุงเทพ ฯ 10700 โทร. 0-2424-2470
บริษัท พาราเมาท์ อินเตอร์เทรด จำกัด เลขที่ 115 อาคารร่มโพธิ์แมนชั่น ถนนริมทางรถไฟปากน้ำ
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพ ฯ โทร. 0-2941-7981, 0-2361-7482
บริษัท ไบก๊าซ (ไทยแลนด์) จำกัด เลขที่ 211 ถนนสิริธร แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพ ฯ โทร.
0-2435-2981
บริษัท สเทรตไนน์ จำกัด เลขที่ 246/2 หมู่ 3 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 โทร. 0-
3041-7027
บริษัท สระบุรีทรัคเซลล์ จำกัด เลขที่ 1/10 ข้างด่านชั่งตำรวจทางหลวงหินกอง ถนนพหลโยธิน ตำบล
ห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี 18230 โทร. (036) 371-303, (036) 371-321, (036) 371-
371
บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด เลขที่ 69 หมู่ที่ 12 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โทร. 0-2420-0027 ต่อ 1405
บริษัท อารยะ พาวเวอร์ จำกัด เลขที่ 25/50 หมู่ 8 ถนนชักพระ แขวงตลิ่งชัน กรุงเทพ ฯ 10170 โทร. 0-
9686-9328
บริษัท ซุปเปอร์ เค โลจิสติกส์ จำกัด เลขที่ 37/1 ถนนอาจณรงค์ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพ
ฯ 10110 โทร. 0-2249-7570, 0-2249-8484
บริษัท เฟิร์สพาร์ท จำกัด เลขที่ 31 ซอยอินทามระ 26 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวง/เขตดินแดง กรุงเทพ
ฯ 10400 โทร. 0-2693-9604-6
ABOUT THE AUTHOR
ก
กองบรรณาธิการ
ภาพโดย : ฝ่ายภาพนิตยสาร 399 ฉบับเดือน กรกฏาคม ปี 2549
คอลัมน์ Online : รายงาน(formula)