รถยนต์นั่งที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ได้รับความนิยมโดยผู้ใช้รถชาวไทยมานานพอสมควรแล้วนะครับ ไม่เว้นแม้แต่รถราคาสูง ที่ผู้ใช้ถือว่า ความเงียบ และกำลังของเครื่องยนต์เป็นหัวข้อที่สำคัญมาก สาเหตุหลักก็คือ ความประหยัดค่าเชื้อเพลิง ที่แม้จะไม่มีผลต่อฐานะทางการเงินของเจ้าของรถระดับนี้ แต่ก็ทำให้มีความรู้สึกที่ดี ทุกครั้งที่เติมเชื้อเพลิง แล้วต้องจ่ายเงินเพียงประมาณครึ่งเดียว ของที่เคยต้องจ่ายในช่วงที่ยังใช้รถเครื่องยนต์เบนซินอยู่ ผมจึงได้รับคำถามมากพอสมควร เกี่ยวกับการใช้ และโดยเฉพาะการเติมของเหลว ที่ช่วยบำบัดไอเสียของรถดีเซลยุคใหม่ ที่รู้จักกันในชื่อ ADBLUE ซึ่งผมขอตอบเป็นข้อ ของคำถามที่ได้รวบรวมไว้ โดยไม่เรียงลำดับความสำคัญนะครับ
ADBLUE คือ ของเหลวที่ใช้ในการบำบัดไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลยุคปัจจุบัน ตามมาตรฐาน EURO 6 ซึ่งเราไม่เรียกว่า “หัวเชื้อ” หรือ ADDITIVE นะครับ เพราะเราไม่ได้ผสมมันเข้ากับน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล แต่ใช้พ่นให้เป็นละออง เพื่อให้คลุกเคล้ากับไอเสียที่ผ่านหม้อกรองเขม่ามาแล้ว ก่อนที่จะเข้าสู่หม้อบำบัดไอเสีย ที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า “แคท” ทำนองเดียวกับของรถเครื่องยนต์เบนซิน
เป็นส่วนผสมระหว่างยูเรียราวๆ 32.5 % กับน้ำที่ผ่านการกรองให้บริสุทธิ์แล้ว เราต้องการให้สารแอมโมเนียในยูเรีย ซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน และไฮโดรเจน ทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ (แกสพิษต่อระบบหายใจของมนุษย์ และสัตว์) ซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน และออกซิเจน เพื่อให้กลายเป็นแกสไนโตรเจนล้วนๆ (ไม่มีพิษ) และให้ไฮโดรเจนจากแอมโมเนีย มาจับคู่กับออกซิเจนของไนโตรเจนออกไซด์ แล้วกลายเป็นไอน้ำ (ซึ่งประกอบด้วยออกซิเจน และไฮโดรเจน และปราศจากพิษเช่นเดียวกัน)
เป็นชื่อที่ตั้งโดยผู้ริเริ่ม คือ สมาคมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมัน และจดสิทธิบัตรไว้ด้วย จึงได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อจากนั้นก็มีการตั้งชื่ออื่นสำหรับของเหลวชนิดนี้กันอีก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่า ADBLUE ครับ ทำไมจึงเพิ่งมาใช้วิธีนี้ ทั้งๆ ที่มีการใช้เครื่องยนต์ดีเซลกับยานพาหนะมานานแล้ว และจากความก้าวหน้าทางด้านการบำบัดไอเสีย รวมทั้งปัญหามลพิษที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนยานพาหนะ อีกทั้งปัญหาสุขภาพของประชาชน ที่ต้องสูดแกสพิษนี้เป็นประจำ
ประมาณ 700 ถึง 1,000 บาท ต่อปริมาตร 10 ลิตรครับ
ประมาณ 1 ลิตร ต่อระยะทางราวๆ 800 ถึง 1,000 กม. ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน ซึ่งก็คือ ตามสัดส่วนของความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงนั่นเองครับ ถ้าลองคำนวณแบบต่ำ คือ ลิตรละ 70 บาท และใช้ได้ 1,000 กม. ก็เท่ากับ กม. ละ 7 สตางค์ เท่านั้นครับ
ไม่ควรจะปล่อยให้เกิดขึ้นนะครับ เมื่อน้ำยาเหลือน้อย จะมีไฟเตือนที่หน้าปัดเสมอ เราสามารถขับต่อไปได้อีกเป็นร้อยกิโลเมตรนะครับ และถ้ายังปล่อยให้หมด ระบบควบคุมจะลดกำลังของเครื่องยนต์ลง ให้เข้าสู่โหมด “คลานไปอู่ หรือคลานกลับบ้าน” เพื่อป้องกันความสียหาย ระหว่างนี้ห้ามแวะทำธุระโดยดับเครื่องยนต์นะครับ เพราะจะติดเครื่องยนต์อีกไม่ได้แล้ว จนกว่าจะเติมน้ำยาเข้าไปในถัง ADBLUE
ก็ “ซวย” สิครับ อาการไม่ต่างจากการเผลอเติมน้ำ หรือของเหลวอื่นลงไป ต้องแจ้งศูนย์บริการให้มายกไปซ่อมครับ ห้ามลองติดเครื่อง หรือลองขับเด็ดขาด
เกิดความเสียหายแน่นอนครับ แต่ไม่น่าจะทำได้สำเร็จง่ายๆ เพราะช่องเติม ADBLUE เล็กกว่าปลายของหัวเติมน้ำมันดีเซลตามปั๊มมาก เสียบเข้าไม่ได้แน่นอน
ของเหลวอะไร ก็ใช้แทนไม่ได้ทั้งนั้นครับ เพราะจะพาลทำความเสียหายให้แก่ระบบนี้ได้หลายอย่าง หัวฉีด ADBLUE อาจจะตัน และ “แคท” หรือหม้อบำบัดไอเสียก็จะชำรุดด้วย
ไม่เลยครับ เพราะเครื่องยนต์ถูกปรับมาเพื่อทำงานร่วมกับระบบนี้ การดัดแปลง หรือใช้งานแบบพลิกแพลง มีแต่จะทำให้กำลังลดลง ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และอาจจะทำความเสียหายให้แก่เครื่องยนต์ด้วย
ประเทศเรายังไม่มีการพัฒนาสูงถึงระดับที่ตรวจสอบ และลงโทษได้ แต่การรับประกันคุณภาพ จะสิ้นสุดทันที ที่ศูนย์บริการตรวจพบครับ
ลองปลดขั้วแบทเตอรีทั้ง 2 ขั้ว รอสัก 15 นาที แล้วประกอบกลับ ถ้ายังไม่ดับ ต้องนำรถไปให้ศูนย์บริการตรวจสอบครับ
มีครับ เราสามารถตัดการทำงานของเซนเซอร์ แล้วใช้ EMULATOR หรือ SOFTWARE “หลอก” ระบบควบคุม ว่าทุกอย่างยังทำงานเหมือนปกติ แต่จะทำไปเพื่ออะไรครับ กับราคาน้ำยานี้แค่ไม่ถึง 10 สตางค์ ต่อกิโลเมตร ส่วนค่าอะไหล่ของระบบนี้ ที่ย่อมเสื่อมตามการใช้งานอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติครับ ถ้ามีเงินพอซื้อรถ ก็ย่อมต้องมีเงินพอที่จะบำรุงรักษามันด้วย และข้อสำคัญ ถ้าดัดแปลงแล้วเครื่องยนต์ชำรุด ใครจะรับผิดชอบครับ เพราะคนพวกนี้จะเก่งเฉพาะตอนเกลี้ยกล่อมเราครับ “สบายมาก ผมทำมาไม่รู้กี่คันแล้ว หลับตาทำก็ยังได้” แต่ตอนเครื่องยนต์ของเราพัง คนพวกนี้จะพูดเหมือนกันหมด “รถพี่มันโทรมอยู่แล้ว ซึ่งไม่รู้ว่าพี่ขับยังไงด้วย เพราะคันอื่นๆ ที่ผมทำ ไม่เคยมีปัญหาเลยนะ”
ไม่ได้ครับ ใครบอกว่าได้ อย่าเชื่อ เพราะผู้ผลิตสารนี้แต่ละราย ใช้สารเคมีคนละชนิด และในสัดส่วนที่ต่างกันด้วย
ไม่เกี่ยวกันเลยครับ เพราะ ADBLUE บำบัดไอเสียที่ผ่านหม้อกรองเขม่า (DPF) มาแล้ว
ประมาณ 1 ปี และต้องเก็บรักษาให้ถูกวิธีด้วย มีแค่ 3 อย่างเองครับ และสามารถใช้กับการเก็บรักษาของเหลวอื่นได้ด้วย ท่องไว้ให้คล่องเลย คือ ให้อยู่ในที่แห้ง เย็น (อย่าร้อนเกิน 28 องศาเซลเซียส) และมืด (ห้ามโดนแสงแดด) ถ้าเราอยากเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นาน ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ได้เลย ท่องไว้ให้ติดปากได้เลย แค่ 3 พยางค์เอง แห้ง เย็น และมืดครับ
บทความแนะนำ