ประกันภัย
นอค ฟอร์ นอค
ปัญหาการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างบริษัทประกันภัยกันเอง เกี่ยวเนื่องกับค่ารักษาพยาบาลที่บริษัท ฯ สำรองจ่ายให้ผู้เสียหาย และการใช้สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลซึ่งกันและกัน เป็นปัญหาเรื้อรังมานานเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงาน คปภ. ได้จับมือสมาคมประกันวินาศภัย จัดพิธีลงนามสัญญา สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน ตามเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมการประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย. 02) ระหว่างบริษัทประกันวินาศภัยจำนวน 42 บริษัท เพื่อลดข้อพิพาทของบริษัทประกันภัยในการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างกัน เล็งเป้าหมายเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งนี้ ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย จัดพิธีลงนามในสัญญา สละสิทธิการเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันของบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งเป็นส่วนที่ขยายต่อจากที่เคยมีข้อตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2539 ที่ครอบคลุมเฉพาะความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของการประกันภัยรถประเภท 1 เท่านั้น เช่น เมื่อรถที่ทำประกันภัยชนกัน คู่กรณีจะสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าซ่อมรถที่เกิดขึ้นระหว่างกัน แต่การลงนามในครั้งนี้ จะขยายต่อถึงความคุ้มครองของเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมการประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย. 02) กล่าวคือ เมื่อรถที่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และได้ซื้อความคุ้มครองการประกันภัยค่ารักษาพยาบาลไว้ เกิดอุบัติเหตุชนกันทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นนั้น ผู้บาดเจ็บสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้จากบริษัทประกันภัยของรถยนต์ที่โดยสารมา ในวงเงินที่ซื้อความคุ้มครองไว้ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายถูกก็จะสละสิทธิในการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากฝ่ายผิด ทำให้การดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บของบริษัทประกันภัยทำได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับคดีความตามกฎหมายที่จะต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างกัน นับเป็นพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันของอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อลดข้อพิพาทและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธุรกิจประกันภัย สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับ ได้ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจประกันภัย อย่างต่อเนื่องเพราะนอกจากเกิดภาพลักษณ์ที่ดีสู่สาธารณชนแล้ว ยังช่วยลดข้อพิพาทที่จะเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. รวมถึงการพิจารณาคดีความในชั้นศาลอีกด้วย การทำความตกลงครั้งนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอา ประกันภัย หรือผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะเมื่อบริษัทประกันภัยไม่มีภาระผูกพันที่ต้องดูแลคู่กรณีแล้ว ก็ย่อมให้บริการดีที่สุดต่อผู้เอาประกันภัยที่เป็นลูกค้าของบริษัทเอง ซึ่งขณะนี้ต้องยอมรับว่าธุรกิจประกันภัยหันมาแข่งขันด้านการให้บริการเพิ่มมากขึ้น และสุดท้ายแล้วประชาชนก็จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการแข่งขันของภาคธุรกิจ ในด้านของนายกสมาคมประกันวินาศภัย จีรพันธ์ อัศวะธนกุล กล่าวว่า ในฐานะที่สมาคมประกันวินาศภัยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ผู้เอาประกันภัย การลงนามสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน ตามเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมการประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย. 02) นี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของการพัฒนาการให้บริการของบริษัทประกันวินาศภัย ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ จากบริษัทประกันภัย และเป็นการลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อพิพาทระหว่างกันของบริษัทประกันภัย สมพร สืบถวิลกุล ประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ กล่าวถึงรายละเอียด และวัตถุประสงค์การจัดทำสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันดัง กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากบริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัยรถยนต์ ได้ร่วมลงนามในสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยมีผลใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2539 และต่อมาได้มีบันทึกเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2545 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อพิพาทในการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างบริษัท ประกันภัย รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรียกร้องระหว่างกัน ส่งผลให้จำนวนข้อพิพาทและค่าใช้จ่ายของบริษัทประกันภัยลดลงเป็นอย่างมาก และบริษัทประกันวินาศภัยสามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยได้ อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอพิจารณาความรับผิด แต่ทั้งนี้สัญญาดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะความคุ้มครองหลักตามกรมธรรม์ประกันภัย รถยนต์เท่านั้น เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการบริการที่ดียิ่งขึ้น สมาคมประกันวินาศภัย โดยคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ จึงได้ขยายความร่วมมือและจัดทำสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันตามเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมการประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย. 02) ขึ้น การดำเนินการร่วมกันในครั้งนี้จะทำให้บริษัทประกันภัยมีแนวปฏิบัติที่ถูก ต้องตรงกัน ตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ ที่ผูกพันกับบริษัท อันจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป รายชื่อบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมลงนาม สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน ตามเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมการประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย. 02) 1. บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) 6. บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด 7. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน 9. บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) 11. บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) 12. บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) 13. บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด 14. บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) 15. บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด 16. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) 17. บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) 18. บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด 19. บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด 20. บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) 21. บริษัท ฟินิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 22. บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด 23. บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 24. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 25. บริษัท ยูเนี่ยน อินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 26. บริษัท ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 27. บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด 28. บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด . 29. บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด 30. บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด 31. บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 32. บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) 33. บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย จำกัด 34. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด 35. บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) 36. บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด 37. บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 38. บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด 39. บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) 40. บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 41. บริษัท โอสถสภาประกันภัย จำกัด 42. บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด
ABOUT THE AUTHOR
ก
กฤชกมล นิติธรรมโกศล
นิตยสาร 399 ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2555
คอลัมน์ Online : ประกันภัย