ศาลสูงของอินเดีย ร้องขอให้กรมขนส่งทางบก ออกข้อกำหนดให้ชัดเจน ถึงการประกาศห้ามใช้กันชนเสริมด้านหน้า และยังคงไม่ประกาศคำพิพากษา จนกว่าจะถึงการสืบพยานนัดสุดท้าย ในวันที่ 18 เมษายน นี้
หลังจากรัฐมนตรีทางถนน การขนส่ง และทางหลวง (Ministry of Road, Transport and Highways) ออกประกาศห้าม การใช้กันชนเสริมติดตั้งด้านหน้ารถยนต์ ในประเทศอินเดีย ศาลสูงของอินเดีย ก็ได้รับคำร้องคัดค้านจากผู้ผลิตและจำหน่ายกันชนเสริมติดตั้งด้านหน้า ขอให้ออกข้อกำหนดให้ชัดเจน ว่าเป็นกันชนชนิดใดบ้าง ศาลจึงได้นัดไต่สวนพยานครั้งสุดท้าย ในวันที่ 18 เมษายน 2561 และขอให้กรมขนส่งทางบก ออกข้อกำหนดให้ชัดเจนดังกล่าว
นับแต่เดือนธันวาคม 2560 รัฐบาลได้ประกาศให้การใช้กันชนเสริมด้านหน้า ตามระเบียบการขนส่งทางบก มาตรา 52 ปี 2531 ซึ่งติดตั้งบริเวณด้านหน้าของรถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำการขออนุญาต และหลังจากนั้นการจำหน่ายและติดตั้งกันชนเสริมด้านหน้า ก็มีความผิดตามข้อบังคับที่ 190 และ 191 โดยไม่ให้คำจำกัดความให้ชัดเจน
ไม่มีผู้ใดให้คำอธิบายได้ว่า การห้ามติดตั้งกันชนเสริมบริเวณด้านหน้า จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการบาดเจ็บกับคนเดินถนน และความเสียหายกับตัวรถยนต์อย่างไรบ้าง
รถยนต์ในอินเดีย เริ่มติดตั้งกันชนเสริมบริเวณด้านหน้ามานาน โดยผู้จำหน่ายจะชักชวนให้ผู้ซื้อรถยนต์ ติดตั้งตั้งแต่ออกจากโชว์รูม โดยผู้บริโภคก็เชื่อว่า การติดตั้งกันชนเสริม จะช่วยปกป้องความเสียหายกับตัวรถยนต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กันชนด้านหน้า จะยึดติดกับโครงสร้างของรถยนต์เพียง 2 จุดเท่านั้น บริเวณด้านล่างของตัวรถ
หากเกิดอุบัติเหตุ น้ำหนักของการชน จะกระแทกไปยังจุดยึดติดกับตัวรถเพียง 2 จุดเท่านั้น แทนที่จะเป็นตัวป้องกันความเสียหายให้กับตัวรถ ขณะเดียวกัน แรงกระแทกที่เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการสั่งการให้ถุงลมนิรภัยพองตัว เพื่อป้องกันคนในรถด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกัน คนเดินถนนที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ก็จะถูกแรงกระแทกจากกันชนด้านหน้ารถ ซึ่งโดยการออกแบบรถยนต์แล้ว จะช่วยปกป้องคนเดินถนนจากอุบัติเหตุมาเรียบร้อยแล้ว กันชนด้านหน้ารถ มีแต่จะช่วยเพิ่มความรุนแรงจากการบาดเจ็บของคนเดินถนนให้มากขึ้น