รายงานข่าวมาจากเมือง Pittsburgh แหล่งที่เป็นเสมือนบ้านของการพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เพราะทั้งใน Silicon Valley และ เมือง Phoenix มีค่ายรถยนต์ตั้งสำนักงานเพื่อทำการทดลองยานยนต์ไร้คนขับกันหลากหลายยี่ห้อ แต่เมื่อมีการพูดคุยกันในหัวข้อเรื่องว่า อีกนานเท่าใด กว่าเราจะได้เห็นยานยนต์ไร้คนขับ ออกมาวิ่งใช้งานจริงในชีวิตประจำวันคำตอบจากคนที่มองโลกในแง่ดี ประเมินว่า น่าจะอีกสัก 10 ปี แต่ก็มีพวกที่ความเห็นต่าง บอกว่า อย่างน้อยก็น่าจะ 1 ศตวรรษ เพราะยังเห็นบรรดาวิศวกรนักวิจัยและพัฒนา ยังพากันแก้ปัญหาอยู่มากมาย ที่แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็ต้องทำให้ไม่มีปัญหาใดๆ เลย เพราะในการใช้งานจริง จะไม่มีคนนั่งไปบนรถเพื่อคอยแก้ปัญหาอีกต่อไป ในปัจจุบัน มาลองดูเรื่องที่เป็นปัญหาสำหรับยานยนต์ไร้คนขับ ที่วิศวกรยังหาวิธีแก้กันไม่ตก เรื่องแรก เป็นเรื่องของหิมะ และสภาพอากาศโดยรวม ในสหรัฐอเมริกา หรือประเทศแถบทางเหนือของโลก เป็นที่ทราบกันดีว่า สามารถมีหิมะตกในฤดูหนาว ชนิดที่เรียกว่าหิมะปกคลุมจนมองไม่เห็นพื้นถนนกันเลย ทำให้กล้องถ่ายภาพ ไม่สามารถจับภาพเส้นแบ่งเลนบนพื้นถนนได้ จนในปัจจุบัน วิศวกรก็ยังหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ ทำให้การทดสอบยานยนต์ไร้คนขับส่วนใหญ่ จะกระทำกันในเมืองที่สภาพอากาศอบอุ่น อย่างเช่น อริโซน่า ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย กันเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาของหิมะที่ตกอย่างหนัก, ฝนรุนแรง, หมอกควันอย่างหนา และพายุทราย สามารถขัดขวางการทำงานของกล้อง ไม่สามารถจับภาพสิ่งใดได้เลย เวลาสัญญาณที่ส่งออกไปจากเลเซอร์ เซนเซอร์ อาจกระทบกับเกล็ดหิมะ และคิดว่านั่นเป็นสิ่งกีดขวาง ถึงแม้ว่า เรดาร์ จะสามารถทะลุทะลวงผ่านวัตถุต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถระบุขนาดของวัตถุนั้นๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ได้ จึงไม่มีการประมวลผล Raj Rajkumar วิศวกรไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ จาก Carnegie Mellon University กล่าวว่า “มันเหมือนกับคุณมองอะไรไม่เห็น” นักวิจัยทดลองการใช้เลเซอร์ เซนเซอร์ ที่มีความยาวคลื่นของแสงแตกต่างกัน เพื่อพยายามมองผ่านหิมะตก Greg McGuire กรรมการของศูนย์ทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ MCity Autonomous Vehicle Testing Lab แห่ง Michigan State University ระบุว่า ได้พัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นใหม่ เพื่อให้ยานยนต์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างอุปสรรคที่แท้จริง กับหิมะตกอย่างแรง, ฝน,หมอก และสภาพผิดปกติต่างๆ เรื่องที่ 2 เส้นแบ่งเลน และทางโค้ง ทั่วทุกประเทศในโลกนี้ เป็นเหมือนกันไปหมด คือ เส้นแบ่งเลนบนถนน จะต้องลบเลือนไปตามระยะเวลา หรือเส้นที่แสดงขอบเขตทางรถไฟ จะไม่มีมาตรฐานใดๆ ทั้งสิ้น แต่ละประเทศจะลอกเลียนจากประเทศข้างเคียงบ้าง หรือประเทศยักษ์ใหญ่บ้าง ทำให้รถยนต์แต่ละยี่ห้อ จะต้องเจอกับเส้นบนถนนที่หลากหลาย อันอาจทำให้ระบบในรถยนต์ไม่สามารถตัดสินได้ว่า เส้นไหนเป็นเส้นอะไรกันแน่ ถัดไปก็เป็นเรื่องของอุปนิสัยในการขับขี่รถยนต์ของผู้คนแต่ละประเทศ อย่างเป็นที่ทราบกันดีว่า ในบางประเทศ ผู้ขับขี่ไม่สนใจกฎระเบียบใดๆ ทั้งสิ้น นึกจะจอดซ้อนคัน ก็จอดตามสบาย หรือแม้แต่การจอดในทางแยก ทางร่วม เรียกว่า ทำกันตามสบายใจ ส่วนผู้ขับขี่ที่ชำนาญแล้ว จะใช้วิธีการสบตากับรถยนต์ฝั่งตรงข้าม เพื่อให้แน่ใจว่ารถฝั่งตรงข้าม จะไม่ขับตัดหน้าในทันทีทันใด หรือจะไม่เบียดเข้ามาในเลน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในอริโซนา ก็ประสบปัญหามาแล้ว โดยได้รับคำร้องเรียนอย่างน้อย 21 กรณี ในช่วง 2 ปี ที่บรรดายานยนต์ไร้คนขับมาใช้พื้นที่ในการทดสอบ ว่ามีอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไร้คนขับ มีส่วนร่วมในการเกิดอุบัติเหตุนั้นๆ ด้วย ถัดไปเป็นเรื่องการเลี้ยวซ้ายตัดหน้าการจราจร ซึ่งไม่มีไฟสัญญาณจราจร ตามปกติผู้ขับขี่รถพวงมาลัยซ้าย เมื่อจะเลี้ยวซ้ายก็เพียงมองด้านขวา ว่าสามารถเลี้ยวได้โดยไม่กีดขวางรถคันอื่นๆ ก็จะเลี้ยวทันที แต่ก็ทำให้เป็นปัญหากับรถที่วิ่งอยู่ในกระแสการจราจรด้านหน้า อันทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง John Krafcik ซีอีโอ Waymo ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเอาไว้ว่า ยังคงประสบปัญหาบ่อยครั้งในสภาพการจราจรที่เป็นทางร่วมทางแยก “การตัดสินใจของมนุษย์ นับว่ายอดเยี่ยมมาก ซึ่งเราก็ต้องพยายามปรับระบบของเรา ให้เข้ากับระบบที่มนุษย์ใช้เป็นวิธีคิด ให้ได้มากที่สุด” เรื่องสุดท้าย คือการยอมรับจากผู้บริโภค จากการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ เมื่อปีที่แล้ว ที่ ฟีนิกซ์ เท่ากับเป็นการระงับการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับโดยปริยาย รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคเกิดความลังเล หากจะต้องถูกร้องขอให้เป็นผู้ทำการทดลอง นั่งในยานยนต์ไร้คนขับในอนาคต AAA ทำการวิจัยหลังจากเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว พบว่า ผู้บริโภค 71 % กลัวว่าจะต้องนั่งไปในยานยนต์ไร้คนขับ ที่ไม่มีคนขับจริงๆ แต่บรรดาบริษัทผู้ทำการทดลองยานยนต์ไร้คนขับ ก็ยังระบุว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ให้ความเห็นว่า หากได้ทดลองนั่ง และเห็นว่ารถจะวิ่งไปในทิศทางใดแล้ว ก็จะค่อนข้างไว้วางใจได้ โดยหลังจากมีความเชื่อถือในตัวรถแล้ว ผู้บริโภคเหล่านั้น ก็จะสบายใจ และหันไปทำกิจกรรมส่วนตัวเป็นส่วนมาก