ส่วนประกอบสำคัญสำหรับการผลิตชุดแบทเตอรีของรถไฟฟ้า คือ แร่ลิเธียม ปัจจุบันยุคที่บรรดาค่ายรถยนต์ พากันเร่งรัดในการพัฒนารถไฟฟ้า ราคาของแร่ลิเธียม กลับพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก แพงขึ้นถึง 3 เท่าโดยพื้นฐานของ ลิเธียม ถือเป็นธาตุโลหะที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหมด เป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน อาทิ ในแบทเตอรี ถ่านไฟฉาย ช่วงระหว่างกลางปี 2558 จนถึงปี 2561 ความต้องการแร่ลิเธียม เพื่อใช้ในรถไฟฟ้า ซึ่งรวมทั้งหมดของทุกค่ายแล้ว ประมาณ 5 ล้านคัน จึงทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ ต่างพากันแสวงหาแร่ลิเธียม เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตชุดแบทเตอรี ใช้ในรถไฟฟ้า ทำให้ราคาของแร่ลิเธียม พุ่งสูงขึ้นอีกถึง 3 เท่า ขณะเดียวกัน นับแต่ปี 2560 มีการเปิดเหมืองเพิ่มขึ้นถึง 6 แห่ง ในประเทศออสเตรเลีย เพื่อการผลิตแร่ลิเธียม โดยเฉพาะ แต่ในปีที่ผ่านมา ยอดขายรถไฟฟ้า ในประเทศจีน ลดลงอย่างมาก อันเนื่องมาจากการยกเลิก การสนับสนุนเงินภาษี สำหรับผู้บริโภคที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ความต้องการชุดแบทเตอรีลดลงถึง 30 % แต่ราคากลับไม่ได้ลดลงตามความต้องการ Vivienne Lloyd นักวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลในรายงานว่า “ข้อมูลของการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า จะแสดงให้เห็นว่า ในขณะนี้ ยอดการขายกำลังค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่กระนั้นก็ยังคงเป็นปัญหาในความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค” ในไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายรถไฟฟ้าในประเทศจีน เพิ่มขึ้นราว 90 % เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีของนักลงทุน แต่ก็ยังเติบโตน้อยกว่าที่เคยเป็นในช่วงปี 2560 และ 2561 ขณะเดียวกัน ผลผลิตของแร่ลิเธียม จากเหมืองแร่แห่งใหม่ในออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตชั้นนำ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 23 % ในห้วง 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 จาก ชิลี Baldo Prokurica ก็ยืนยันว่า กำลังเร่งให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 เท่า ให้ได้ภายในเวลา 4 ปี แม้แต่การคาดการณ์ความต้องการในอนาคตจะยังคงมีแนวโน้มในทางที่ดีอยู่ แต่กระนั้นบรรดาบริษัทที่นำแร่ลิเธียมจากเหมืองไปสกัด เพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชุดแบทเตอรีได้ ต่างพากันระงับการขยายการผลิต ขยายโรงงาน อันเนื่องมาจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ทำให้ผลผลิตเริ่มลดลง ขณะเดียวกัน บรรดาผู้ผลิตเหล่านี้ ต่างพากันคาดการณ์ในการลดผลกำไร ในระยะสั้น ไปจนถึงปลายปี 2561 อันเนื่องมาจากความต้องการที่ลดลง แม้ว่าราคาจะลดลงตามความต้องการที่ลดลงด้วย แต่ประเมินว่า ความต้องการจะเริ่มต้นเพิ่มมากขึ้น ในปี 2563 คงต้องคอยดูกันว่ามีการผลิตแร่ลิเธียมเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ที่นำแร่ลิเธียมไปสกัดให้สามารถนำไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมการผลิตแบทเตอรี จะประเมินอนาคตแนวทางของรถไฟฟ้ากันอย่างไร ?