ค่ายรถไฟฟ้า นอกเหนือจากการพัฒนารถไฟฟ้าแบบรถยนต์นั่งและรถกระบะแล้ว ยังมีการพัฒนาเพื่อใช้งานพลังงานไฟฟ้า ในรถบรรทุก โดยเปิดเผยกันออกมาแล้วหลายค่าย แต่สำหรับ Daimler ซึ่งมีรถบรรทุกไฟฟ้าเผยโฉมออกมาแล้ว แถมยังซุ่มพัฒนารถบรรทุกในรูปแบบหัวลากเพิ่มเติมอีกด้วยDaimler Trucks North America ใช้รถบรรทุกยี่ห้อ Freightliner รุ่น eCascadia ซึ่งอยู่ในเครือ ด้วยเงินทุนสนับสนุนจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย 16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 480 ล้านบาท ออกมา พร้อมใช้งาน 2 คัน และจะเข้าประจำการเพื่อทำหน้าที่ใน 2 บริษัท ได้แก่ Penske Truck Leasing และ NFI บริษัททั้ง 2 แห่ง จะใช้รถหัวลากไฟฟ้า ในสภาพการใช้งานจริง เพื่อเป็นการเก็บข้อมูล สำหรับใช้ในการพัฒนารถหัวลาก eCascadia และรถบรรทุกขนาดกลางของ Freightliner ในชื่อ eM2 เพื่อขึ้นสายการผลิตต่อไป Daimler จัดตั้ง สภารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นลูกค้า จำนวน 38 ราย เพื่อทำหน้าที่ “ตรวจสอบและศึกษาความเป็นไปได้ ในการพัฒนารถเพื่อการพาณิชย์ ใช้พลังงานไฟฟ้า ในปริมาณมาก” หลังจากทดลองวิ่งใช้งานบนถนนจริงครบ 1 ปี โดยเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ทีมพัฒนารถบรรทุกของ Daimler ก็ระบุว่า รถหัวลากไฟฟ้า eCascadia ซึ่งใช้ชุดแบทเตอรี ขนาด 550 กิโลวัตต์ชั่วโมง สามารถเดินทางได้ระยะทาง 400 กม. และใช้เวลาในการชาร์จพลังงานไฟฟ้า 80 % ในเวลาเพียง 90 นาที “ในอนาคต เพื่อการเดินทางที่ปราศจากมลภาวะอย่างแท้จริง จะเป็นการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” Roger Nielsen ประธาน Daimler Trucks North America กล่าวในงานประชุมประจำปี ACT Fleet Conference เมื่อเดือนเมษายน “สำหรับในอนาคต ผมมีความเชื่อในพลังงานไฟฟ้า” ณ เวลานั้น Daimler เรียกขานการใช้พลังงานจากแกสธรรมชาติว่าเป็น “พัฒนาการระหว่างกลาง” พร้อมอธิบายว่า ขณะที่การพัฒนารถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง Fuel Cell ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวนาน ดังนั้น สมควรมีสิ่งที่เกิดขึ้น 3 ประการ คือ โครงสร้างสำหรับสถานีบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้า ชุดแบทเตอรีที่ทรงพลัง ราคาถูก น้ำหนักเบา และเงินทุนสนับสนุนเพื่อชักจูงให้ผู้คนหันมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น Daimler ระบุว่า ได้เตรียมการที่จะใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า เพื่อการพาณิชย์เพิ่มอีก 50 คัน การใช้งานในอเมริกาเหนือ และตลอดทั้งปีจะผลิตเพิ่มเติมอีก ค่าย Tesla ผู้ผลิตรถไฟฟ้า ก็พัฒนารถหัวลากเพื่อการพาณิชย์ ใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่เช่นกัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบรถชุดแรกได้ปลายปี 2563 ขณะที่ Daimler ตั้งเป้าหมายที่จะเข้าสู่สายการผลิตที่โรงงานในพอร์ทแลนด์ โอเรกอน ต้นปี 2564