ธุรกิจ
จีเอส แบทเตอรี ทุ่มเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปิดโรงงานชาร์จแบทเตอรี

สยาม ยีเอสแบทเตอรี่ฯ ทุ่มเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปิดโรงงานผลิตแบทเตอรีในประเทศเมียนมาร์ รองรับตลาดแบทเตอรีชนิดไม่ต้องเติมน้ำกลั่นที่เติบโต มั่นใจครองความนิยมจากลูกค้าในเมียนมาร์ และก้าวสู่ความเป็นหนึ่งในตลาด
ธีรพงษ์ เกษมอานันทนะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามยีเอสแบตเตอรี่ จำกัด ร่วมด้วย คณิต บุญนำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ยีเอสแบตเตอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ เล็งเห็นถึงช่องทางการขยายธุรกิจในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ที่ปัจจุบันเริ่มมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์ จากการวิเคราะห์ตลาดรถยนต์ในประเทศเมียนมาร์ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2011 มีตัวเลขยอดขายรถยนต์โดยประมาณ 280,000 คัน/ปี และต่อมาจนถึงปี 2018 มียอดขายเพิ่มขึ้น 650,000 คัน เติบโตขึ้น 2 เท่า และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ภาครัฐของเมียนมาร์ มีนโยบายการส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศอย่างเต็มที่
บริษัทฯ เล็งเห็นโอกาสในการเพิ่มช่องทางการขยายตลาดให้เติบโตยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของตลาดแบทเตอรีทดแทน (REM) และตลาดผู้ผลิตยานยนต์ (OEM) ในอนาคต โดยบริษัทฯ ทุ่มเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งโรงงานผลิตแบทเตอรีชนิดที่ไม่ต้องดูแลตลอดการใช้งาน (Maintenance Free Battery) ภายใต้การดูของ Siam GS Battery Myanmar Limited. เพื่อรองรับตลาดแบทเตอรีชนิดไม่ต้องเติมน้ำกลั่น โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา บนพื้นที่ 9,000 ตรม. มีกำลังการผลิต 76,000 ลูก/ปี
"จีเอส แบทเตอรี เข้าไปทำตลาดในประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ปี 1995 โดยรูปแบบการทำตลาดจะส่งสินค้าจากประเทศไทยเข้าไปจำหน่าย ทำให้เห็นการเติบโตของประเทศเมียนมาร์ ที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์มีการเติบโตเพิ่มขึ้น มีโรงงานผลิตรถยนต์เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานหลายยี่ห้อ เช่น ซูซูกิ นิสสัน ฟอร์ด ฮันเด โตโยตา ซึ่งในอนาคตผู้ผลิตรถยนต์เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะเป็นลูกค้าของบริษัทฯ ซึ่งขณะนี้ บริษัทฯ ได้ส่งสินค้าให้แก่ ซูซูกิ ปีละ 12,000 ลูก/ปี "
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดเตรียมนโยบายและแผนงานในส่วนงานต่างๆ ไว้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหาร รวมถึงเรื่องของการตลาด ที่เราจะมุ่งเน้นการพัฒนาในทุกภาคส่วน อาทิ ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดส่ง (Improvement of Supply) เน้นขั้นตอนการจัดส่งสินค้าถึงผู้แทนจำหน่าย และผู้บริโภคให้มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยกระดับการจัดสินค้าคงคลังในห่วงโซ่อุปทานลง การยกระดับคุณภาพสินค้า (Quality Support) ด้วยเทคโนโลยี และเครื่องจักรที่ล้ำสมัยช่วยให้การควบคุม และยกระดับคุณภาพสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การสนับสนุนในด้านเชิงเทคนิคการขายและการตลาด มีการทดสอบและอำนวยความสะดวก ในเชิงเทคนิคที่ติดตั้งในโรงงานแห่งนี้ จะช่วยให้การทำงานด้านเทคนิคได้มากขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน การสนับสนุนในเชิงการขาย และการตลาด (Sales Support) เพิ่มทักษะการพัฒนาทีมฝ่ายขายและการตลาดให้มีความรู้ความเข้าใจที่จะเข้าถึงความต้องการลูกค้า และยกระดับประสานงานเพิ่มศักยภาพการขาย และความต้องการของตลาดภายในประเทศ รวมถึงการส่งบุคลากรไปเรียนรู้เทคโนโลยีกับบริษัทแม่ในเมืองไทย และนำความรู้มาปรับปรุงพัฒนางานให้มีศัศักยภาพด้วยจำนวนคนที่น้อยกว่า
“ผมมั่นใจว่าในอนาคตธุรกิจแบทเตอรีในประเทศเมียนมาร์จะเติบโตอย่างสูง โดยเฉพาะแบทเตอรี จีเอส ด้วยความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจรวมถึงการพัฒนาในส่วนต่างจะส่งผลให้ จีเอส แบทเตอรี จะได้รับความไว้วางใจจากทางผู้บริโภค และครองความนิยมจากลูกค้าในเมียนมาร์ ส่งผลให้เราจะเป็นที่ หนึ่งในตลาดแบทเตอรีของเมียนมาร์ได้อย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้”