รายงานข่าวจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า สำนักงานเพื่อความปลอดภัยในการจราจรบนทางหลวง หรือ National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ออกแถลงการณ์ว่า ได้เปิดการไต่สวนในกรณีถุงลมนิรภัย ที่ผลิตนับแต่ปี 2554-2562 เกิดการระเบิดขึ้น ซึ่งผลิตโดย Takata ที่ล้มละลายไปแล้ว โดยไม่มีการเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบNHTSA องค์กรเพื่อความปลอดภัย ต้องมีการไต่สวนจำนวนถุงลมทั้งหมด ประมาณ 30 ล้านใบ ที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์มากกว่า 200 รุ่น จากผู้ผลิตรถยนต์และรถบรรทุก 20 ราย เพราะยังมีโอกาสที่จะเกิดการระเบิด โดยไม่มีอุบัติเหตุใดๆ เกิดขึ้น การไต่สวนครั้งนี้ เพื่อยืนยันคำตัดสินที่ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว ว่าไม่ได้สั่งการให้มีการเรียกรถเข้าตรวจสอบถุงลมนิรภัย ซึ่งประกอบด้วยสารเคมี เพื่อดูดความชื้น ที่อาจเกิดความชื้นได้เอง ยังไม่มีการยืนยันว่า องค์กรเพื่อความปลอดภัยมีประเด็นใดในการเปิดการไต่สวนครั้งนี้ หลังจากที่ได้ตัดสินใจเมื่อปีที่แล้ว ว่าไม่จำเป็นต้องเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ ตามข้อมูลของผลการวิจัยด้านอุตสาหกรรม และกล่าวว่าจะจับตาดูอย่างใกล้ชิด แถลงการณ์ของสำนักงาน ระบุว่า “ขณะที่ยังไม่มีการชี้แจงปัญหาด้านความปลอดภัย ยังต้องมีการดำเนินการต่อเนื่องในอนาคตเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย กรณีไม่มีการเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ” ค่ายรถยนต์ที่อยู่ในข่ายต้องมีการตรวจสอบ อาทิ Honda, กลุ่ม FCA (ปัจจุบัน คือ กลุ่ม Stellantis), GM, Ford, Nissan, Tesla, Toyota, Jaguar Land Rover, Mitsubishi, Subaru, Mercedes-Benz, Ferrari, McLaren, Porsche, Mazda เป็นต้น รถรุ่นที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา ที่ต้องตรวจสอบ อาทิ กระบะ Chevrolet Silverado รุ่นปี 2557 และปี 2558, Jeep Grand Cherokee บางรุ่นจากปี 2554-2562 และ Honda CR-V รุ่นปี 2555-2558 แถลงการณ์ระบุว่า ขณะการใช้งานไม่มีรถที่รับการตรวจสอบถุงลมนิรภัยเกิดระเบิด ได้มีการสอบถามผู้ขับขี่ที่ใช้รถประมาณ 25 ล้านคัน หรือผู้โดยสารที่นั่งหน้า ระบุว่า ถุงลมนิรภัย ที่ติดตั้งจากโรงงาน และในจำนวนนี้ประมาณ 5 ล้านราย มีการปรับปรุงที่เกี่ยวข้องกับถุงลมนิรภัย หรือการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ ที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ และมีการเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบแล้ว สำนักงานฯ ไม่สามารถตอบคำถามที่ว่า ทำไมจึงเปิดการไต่สวนอีกครั้ง ระบุเพียงว่า ขอให้รอคอยผลการตรวจสอบ และแจ้งว่า เจ้าของรถ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ และ “NHTSA จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบด้วยตนเอง และตัดสินใจดำเนินการทุกประการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด” ในสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ราย รวมแล้วทั่วโลก 28 ราย ที่ได้รับรายงานว่า เสียชีวิตจากการระเบิดของถุงลมนิรภัย ขณะที่มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 400 ราย ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ใช้สารแอมโมเนียม ไนเตรท ทำให้เกิดการระเบิด เพื่อให้ถุงลมพองตัว ในกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป สารเคมีนี้ สามารถเกิดความชื้นขึ้นได้เอง จากความชื้นในอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูง ทำให้เกิดการระเบิดได้เอง และก่ออันตรายต่อผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ปัญหาดังกล่าว จึงเรียกรถเข้ารับบริการครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา มีการเรียกรถยนต์อย่างน้อย 67 ล้านคัน เพื่อการตรวจสอบ และเรียกรถยนต์ทั่วโลกเข้ารับการตรวจสอบ ประมาณ 100 ล้านคัน