รายงานข่าวจากเยอรมนี ระบุว่า Ola Källenius ซีอีโอ Mercedes-Benz มีแผนงานที่จะปรับเปลี่ยนชุดแบทเตอรี ให้มีพลังงานน้อยลง เพื่อติดตั้งในรถราคาต่ำ เพื่อตอบสนองราคาชุดแบทเตอรีที่เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องจากวัสดุราคาแพงขึ้น โดยคาดว่าจะใช้กับรถ 2 รุ่นในการให้สัมภาษณ์ Ola Källenius ยืนยันว่า จะใช้ชุดแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน ฟอสเฟท (LFP) สำหรับรถรุ่นใหม่ อย่าง EQA และ EQB นับแต่ปี 2567 ซึ่งเป็นรุ่นที่ราคารถ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถของผู้บริโภค มากกว่ารถซีดานอย่าง EQS โดยจะหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุในการผลิตราคาแพงอย่างนิคเคิล แม้ว่า Ola Källenius จะไม่ได้พูดถึง แต่ข้อเท็จจริงก็เป็นเช่นนั้น ด้วยการใช้นิคเคิลเป็นวัตถุดิบพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น NMC, NCA หรือ NMX จะทำให้ผู้ผลิตในปัจจุบัน ไม่สามารถกำหนดราคาจำหน่ายได้เช่นกัน ทั้งรถรุ่น EQA และ EQB ติดตั้งชุดแบทเตอรีขนาด 66.5 กิโลวัตต์ ด้วยเซลล์พื้นฐานนิคเคิล การเปลี่ยนใช้ชุดแบทเตอรี LFP จะยังไม่มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ปัจจุบัน ก็คาดว่าจะใช้ชุดแบทเตอรี ที่ได้ระยะการเดินทางไกลขึ้น แม้จะไม่ระบุว่าจะใช้ชุดแบทเตอรีจากผู้ผลิตรายใด แต่สำนักข่าว Bloomberg ระบุว่า น่าจะเป็นจาก CATL ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ป้อนชุดแบทเตอรีพื้นฐานนิคเคิล สำหรับ EQS อยู่แล้ว จากสัญญาที่ลงนามไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 Daimler ตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยี cell-to-pack (CTP) ที่พัฒนาโดย CATL สำหรับโครงการ Individual Projects อยู่แล้ว ด้วยเทคโนโลยี CTP เซลล์แบทเตอรี จะติดตั้งเข้าไปในชุดแบทเตอรีโดยตรง แต่จะผ่านโมดูลบังคับอีกครั้ง จะช่วยให้ได้พลังงานย้อนกลับ บางส่วน อย่างน้อยก็จากเปลือกภายนอก ที่สูญเสียไปจากการเชื่อมต่อ ค่าย Tesla ก็ใช้ชุดแบทเตอรีจาก CATL ในปริมาณที่มากทีเดียว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในการประชุมด้านการเงินไตรมาสที่ 3 Elon Musk ยืนยันว่า ยังคงใช้กับรถรุ่นมาตรฐานด้วย LFP ต่อไป ซึ่งปัจจุบันใช้เฉพาะรถที่จำหน่ายในจีนเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า Tesla ยังคงเสาะหาผู้ผลิต ซึ่งลือกันว่าน่าจะเป็น BYD ในขณะที่ ค่าย Volkswagen ก็เตรียมจะใช้ LFP สำหรับรถรุ่น MEB ในอนาคต บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ ต่างพากันเมินชุดแบทเตอรี LFP ลิเธียม-ไอออน ฟอสเฟท เพราะความจุที่น้อย เนื่องจากราคาของ นิคเคิล และแมงกานีส เพิ่มขึ้น ทำให้หลายค่ายต่างพากันหวนกลับมามอง แบทเตอรี LFP อีกครั้ง