ครม. ไฟเขียว สนับสนุนแพคเกจตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งรถยนต์ รถกระบะ และจักรยานยนต์ ลดราคา 70,000-150,000 บาท/คันที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือแพคเกจรถยนต์ EV ซึ่งครอบคลุมทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถกระบะ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ โดยรัฐบาลกำหนดตามเป้าหมายในการผลิตรถ EV ให้ได้ 30 % ของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยภายในปี 2573 มาตรการ “ลดภาษี EV” ปี 2565 - 2568 1. เงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน 2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8 % เป็น 2 % และรถกระบะเป็น 0 % 3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40 % สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566 4. ยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ ค่ายรถที่เข้าร่วมต้องรับเงื่อนไข ได้แก่ ผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ช่วงปี 2565 - 2566 ในปี 2567 แต่ขยายเวลาได้ ถึงปี 2568 จะต้องผลิตในอัตราส่วน 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ผู้ใช้สิทธิ์จะผลิต BEV รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีกราคา 2-7 ล้านบาท ต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามา เป็นต้น มาตรการการสนับสนุน EV แบ่งเป็นรถ 3 ประเภท ดังนี้ 1. รถยนต์ไฟฟ้า ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท (ผลิต และประกอบในประเทศ) ลดภาษีอากรนำเข้า 40 % ลดภาษีสรรพสามิต จาก 8 % เหลือ 2 % (ปี 2565 - 2568) เงินอุดหนุน 70,000 บาท (ขนาดแบทเตอรีต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์/ชั่วโมง) เงินอุดหนุน 150,000 บาท (ขนาดแบทเตอรี 30 กิโลวัตต์/ชั่วโมงขึ้นไป) ราคาขายปลีกแนะนำ 2-7 ล้านบาท ลดภาษีอากรนำเข้า 20 % ลดภาษีสรรพสามิต จาก 8 % เหลือ 2 % (ปี 2565 - 2568) เงื่อนไขการรับสิทธิ์ : ผู้ประกอบการในประเทศ ผลิตรถยนต์ชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนนำเข้า (CBU) ในปี 2565 - 2566 อัตราส่วนนำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน 2. รถกระบะไฟฟ้า ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ลดภาษีสรรพสามิต 0 % (ปี 2565 - 2568) เงินอุดหนุน (ปี 2565 - 2568) 150,000 บาท สำหรับ BEV แบทเตอรี ขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์/ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถผลิตในประเทศ) 3. จักรยานยนต์ไฟฟ้า ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท เงินอุดหนุน 18,000 บาท/คัน ทั้ง CKD และ CBU (ปี 2565 - 2568) เงื่อนไขการรับสิทธิ์ : เป็นผู้ประกอบการในประเทศ ผลิตรถชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนนำเข้า CBU ในปี 2565 - 2566 (ขยายได้ถึงปี 2568) อัตราส่วนนำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงานจะร่วมกันเสนอมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพงที่กระทบค่าครองชีพประชาชน ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปอัตราการปรับลดภาษีที่จะเสนอ ครม. ลงลิตรละ 3 บาท โดยคาดว่ากระทบรายได้รัฐปีละ 70,000 ล้านบาท
บทความแนะนำ