ยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกับในไทยที่ปัจจุบันมีการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายมากขึ้น สำหรับใครที่กำลังเล็งๆ อยากเปลี่ยนรถใหม่ “autoinfo.co.th” จะพามาดู 5 คำถาม-คำตอบ ที่ต้องรู้ก่อนคิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV สักคัน1. ความจุของแบทเตอรี วิ่งได้กี่กิโลเมตร ? เช่น PHEV (Plug-in Hybrid) ใช้พลังงานผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้าจากแบทเตอรีที่เสียบชาร์จไฟ โดยระยะทางวิ่ง ขึ้นอยู่กับความจุของแบทเตอรี ส่วนใหญ่มีความจุแบทเตอรีอยู่ที่ราว 6-14 กิโลวัตต์ วิ่งได้ 25-50 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง หรือ BEV (Battery Electric Vehicle) ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบทเตอรี 100 % ถ้าใช้แบทเตอรีความจุ 60-90 กิโลวัตต์ จะสามารถวิ่งได้ไกลราว 338-473 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง (ถ้าอยากได้รถที่วิ่งระยะทางไกลมากขึ้น ต้องเลือกรุ่นที่แบทเตอรีมีความจุสูงมากขึ้น) 2. ชาร์จนานขนาดไหน ? รถ EV แต่ละยี่ห้อมีเวลาการชาร์จไม่เท่ากัน (ตามขนาดความจุของแบทเตอรี) เช่น ชาร์จแบบธรรมดาใช้ไฟบ้านเป็นกระแสสลับ (AC) บางคันใช้เวลา 10-12 ชม. บางคันใช้เวลาประมาณ 12-16 ชม. ชาร์จแบบรวดเร็วจาก EV Charger บางคันใช้เวลา 1-2 ชม. หรือบางคันใช้เวลา 3-4 ชม. และหากชาร์จด่วนตามสถานีนอกบ้านที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง DC Charger ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที 3. ชาร์จบ่อยไหม และค่าชาร์จไฟแพงไหม ? รถ EV ควรชาร์จไฟจนเต็มประจุ 1 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้ทำงานครบ ช่วยลดการเสื่อมของแบทเตอรี ในการใช้งานระยะยาว ส่วนค่าชาร์จไฟฟ้าของรถ EV ประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการเติมน้ำมัน เช่น ค่าเติมน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.50-3 บาท/กม. ขณะที่ค่าชาร์จไฟรถ EV เฉลี่ยอยู่ที่ 0.26-0.50 บาท/กม. (ถ้าไปชาร์จที่ Charging Station ในห้าง หรือตามปั๊ม อาจมีการบวกค่าบริการเพิ่มเติมแล้วแต่สถานที่) 4. หัวชาร์จแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้าง ? ** หัวชาร์จประเภท AC ชาร์จแบบธรรมดา แบ่งเป็น Type 1 - นิยมใช้ในรถยนต์ EV ของฝั่งอเมริกา และญี่ปุ่น จะมีลักษณะหัวต่อแบบ 5 Pin เป็นการชาร์จแบบไฟ 1 เฟส และรองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 32A หรือ 7.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง Type 2 -นิยมใช้ในรถยนต์ EV ของฝั่งยุโรป จะมีลักษณะหัวต่อแบบ 7 Pin จ่ายไฟอยู่ที่ 3.7 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในผู้ผลิตบางรายได้มีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบการชาร์จไฟ 3 เฟส ทำให้จ่ายไฟได้มากถึง 11-22 กิโลวัตต์ชั่วโมง ** หัวชาร์จประเภท DC ชาร์จแบบด่วน แบ่งเป็น DC CHAdeMo หรือ CHArge de Move ชาร์จไฟแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น จ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด 50 กิโลวัตต์ CCS TYPE 1 (CCS Combo 1) จะสัมพันธ์กับปลั๊กแบบ AC Type 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะของหัวชาร์จมีขนาดเล็กกว่า CCS Type 2 และรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200-500 โวลท์ CCS Type 2 (CCS Combo 2) เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย หัวชาร์จประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จ CCS Type 1 5. รถ EV ชาร์จที่บ้านปลอดภัยไหม ? การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเต้ารับไฟบ้าน ต้องทำการขอมิเตอร์ไฟที่รองรับกระแส 15A จากการไฟฟ้า พร้อมติดตั้งเต้ารับเฉพาะสำหรับใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่อง Wallbox EV Charger (เครื่อง Mode 3) ที่รับกระแสไฟได้ 16-32A สามารถชาร์จได้รวดเร็ว เต็มประสิทธิภาพ และมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็ม พร้อมระบบป้องกันไฟเกินและความร้อนสูง ส่วนใหญ่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) มักมาพร้อมสายชาร์จแถม (สาย Mode 2) ซึ่งเหมาะกับการใช้งานฉุกเฉิน แบบระยะสั้นๆ แค่ชาร์จให้แบทเตอรีพอมีประจุ (กรณีแบทเตอรีรถ EV หมดนอกบ้าน) เพื่อให้สามารถขับต่อกลับบ้าน หรือไปยังสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น ไม่มีระบบในการป้องกันความเสียหายจากไฟฟ้า เมื่อชาร์จเต็มแล้วให้ถอดปลั๊กทันที อ่านต่อ : ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) 40 % : อยากซื้อรถไฟฟ้าต้องดู ! ข้อดี-ข้อเสีย ต่างจากรถน้ำมันอย่างไร ?