ข่าวจากประเทศอังกฤษ ระบุว่า บริษัท Gartner ได้ทำการวิจัยการตลาดรถไฟฟ้า และคาดว่าในอนาคตรถไฟฟ้าจะมีราคาถูกลง โดยสรุปว่า ปัจจัยที่ทำให้รถไฟฟ้าในปัจจุบันมีราคาสูงมาจากต้นทุนการผลิต
โดยแจ้งผลการวิเคราะห์ว่า แบทเตอรีเป็นส่วนสำคัญ ที่มีราคาสูงที่สุด และเป็นชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุดของรถไฟฟ้า ตั้งแต่นี้แบทเตอรีจะมีต้นทุนการผลิตลดลง ประกอบกับผู้ผลิตกำลังปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตชิ้นส่วนรถไปพร้อมกัน
Tesla ผู้บุกเบิกวิธีการผลิตแบบ Giga-Casting เพื่อลดน้ำหนักของรถไฟฟ้ารุ่นต่างๆ ให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ในการหลอมอลูมิเนียมอัลลอยให้มีความแข็งแกร่งสูง โดยเทอลูมิเนียมหลอมเหลวลงในแม่พิมพ์ที่มีอุณหภูมิต่ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการผลิตชิ้นส่วนของรถไฟฟ้าด้วยกระบวนการนี้ กำลังได้รับความนิยมไปอย่างแพร่หลาย
นั่นไม่ได้เป็นมาตรการลดต้นทุนการผลิตเพียงอย่างเดียว Pedro Pacheco รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner แจ้งว่า บริษัทผลิตระดับ OEM รายใหม่ ยังต้องปรับเปลี่ยน ตั้งแต่การใช้นวัตกรรมใหม่ เพื่อทำให้มีกระบวนการผลิตเรียบง่าย และลดต้นทุนได้ เช่น การผลิตพแลทฟอร์มแบบรวมศูนย์ หรือการใช้กระบวนการ Giga-Casting เพื่อลดต้นทุนในระดับโรงงานผลิต และใช้เวลาในการประกอบน้อยลง จนทำให้ผู้ผลิตแบบเดิมต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่เพื่อความอยู่รอด
หากทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย การปรับเปลี่ยนนี้จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของราคารถไฟฟ้า และรถเครื่องยนต์สันดาปภายในมากขึ้น ตั้งแต่กลางทศวรรษนี้ (2568) เป็นต้นไป ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดไว้มาก
แต่การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน ในแง่ของการซ่อมแซมรถไฟฟ้าเหล่านี้ หากรถไฟฟ้าเสียหายจากการชน จะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมากขึ้นตั้งแต่ 30 % จนต้องทิ้งรถไฟฟ้าคันนั้นไป