ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
สอท. เผยยอดอุตสาหกรรมรถยนต์ เดือน สค.
สอท. เผยเดือนสิงหาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 119,680 คัน ลดลงร้อยละ 20.56 ขาย 45,190 คัน ลดลงร้อยละ 24.98 ส่งออก 86,066 คัน ลดลงร้อยละ 1.70 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 352 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17,500 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 7,302 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.44
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประ เทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศในเดือนสิงหาคม 2567 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนสิงหาคม 2567 มีทั้งสิ้น 119,680 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 20.56 เพราะผลิตเพื่อขายในประเทศ และผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 40.49 และ 6.62 ตามลำดับจากการผลิตรถกระบะลดลง และลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 4.12
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,005,749 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 17.69
รถยนต์นั่ง เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 46,765 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 8.84 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 31,909 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 15.26
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 352 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 17,500
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 452 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 30.57
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 14,052 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 8.18
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 มีจำนวน 376,034 คันเท่ากับร้อยละ 37.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม2566 ร้อยละ 11.09 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 241,480 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 26.90
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 5,857 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 3,857.43
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 4,013 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 42.84
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 124,684 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 45.94
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนสิงหาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 89.36
รถยนต์บรรทุก เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 72,915 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 26.60 และตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 629,705 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 21.17
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 71,973 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 24.67 และตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 616,549 คัน เท่ากับร้อยละ 61.30 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 20.51 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 97,885 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ29.91
• รถกระบะ Double Cab 409,451 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 19.49
• รถกระบะ PPV 109,213 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ14.31
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 942 คันลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 75.26 รวมเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 13,156 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 43.28
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 82,788 คัน เท่ากับร้อยละ 69.17 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 6.62 ส่วนเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 686,509 คัน เท่ากับร้อยละ 68.26 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.74
รถยนต์นั่ง เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 23,923 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 13.59 และตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 201,389 คัน เท่ากับร้อยละ 53.56 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 4.86
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 58,865 คันลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 12.92 และตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 485,120 คัน เท่ากับร้อยละ 78.68 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.58 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 39,463 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ25.15
• รถกระบะ Double Cab 358,686 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 8.42
• รถกระบะ PPV 86,971 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ25.29
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 36,892 คัน เท่ากับร้อยละ 30.83 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 40.49 และเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 319,240 คัน เท่ากับร้อยละ 31.74 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 38.13
รถยนต์นั่ง เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 22,842 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 24.46 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ผลิตได้ 174,645 คัน เท่ากับร้อยละ 46.44 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ลดลงร้อยละ 24.35
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ13,108 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 53.08 และตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 131,429 คัน เท่ากับร้อยละ 21.32 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 49.81 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 58,422 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ32.79
• รถกระบะ Double Cab 50,765 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ56.57
• รถกระบะ PPV 22,242 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ61.67
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนสิงหาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 89.36
รถบรรทุก เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 942 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 75.26 และตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 13,156 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 43.28
รถจักรยานยนต์
เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 172,064 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 7.95 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 144,244 คันลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 15.78 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 27,820 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 77.65
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น1,548,433 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.29 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,289,764 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 12.20 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 258,669 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 17.90
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนสิงหาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 45,190 คันลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 2.60 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 24.98 เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูงโดยหนี้เสีย (NPL) รถยนต์ ณ ไตรมาส 2 ของปีนี้ สูงถึง 254,484 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 จากไตรมาส 2 ปีที่แล้ว และเศรษฐกิจในประเทศที่เติบโตในอัตราต่ำที่ร้อยละ 2.3 ในไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะดีขึ้นจากรัฐบาลใหม่ที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีนโยบายหลายข้อที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เช่น การแจกเงินหนี่งหมื่นบาทเป็นเงินสดซึ่งจำนวนเงินกว่าหนึ่งแสนล้านบาท การแก้ใขหนี้ทั้งในระบบ และนอกระบบ เป็นต้น รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ก็ทันใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ด้วย และดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ก็เพิ่มขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 0.50 และอาจจะลดอีกครั้งในปีนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 27,754 คัน เท่ากับร้อยละ 61.42 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 13.02
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 11,748 คัน เท่ากับร้อยละ 26 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 39.31
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 7,302 คัน เท่ากับร้อยละ 16.16 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 20.44
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 93 คันเท่ากับร้อยละ 0.21 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.01
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 8,611 คัน เท่ากับร้อยละ 19.06 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 35.46
รถกระบะมีจำนวน 12,303 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 37.10 รถ PPV มีจำนวน 2,667 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 47.30 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,252 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 47.35 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,214 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 8.38
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 131,736 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 6.94 และลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 17.73
ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 399,611 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 23.85 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 239,971 คันเท่ากับร้อยละ 60.05 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 9.12
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 106,245 คัน เท่ากับร้อยละ 26.59 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.91
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 47,645 คัน เท่ากับร้อยละ 11.92 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 13.86
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,456 คันเท่ากับร้อยละ 0.36 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.14
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 84,625 คัน เท่ากับร้อยละ 21.18 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 62.06
รถกระบะมีจำนวน 115,051 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 39.30 รถ PPV มีจำนวน 24,481 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.07 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 10,909 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 38.71 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 9,199 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 11.45
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,163,827 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 10.81 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 1,163,627 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 10.75 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.09
การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนสิงหาคม 2567 ส่งออกได้ 86,066 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.04 แต่ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 1.70 จากปัญหาเรื่องพื้นที่ในเดือนในเรือไม่เพียงพอ และล่าช้าจากสง ครามอิสราเอลกับฮามาส และปัญหาสิ่งสกปรกในท่าเรือที่ติดในรถกระบะที่เตรียมขับขึ้นเรือ จึงผลิตรถกระบะเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 12.92 และส่งออกลดลงในตลาดออสเตรเลีย แอฟริกา ยุโรป แบ่งเป็น
• รถกระบะ 48,201 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 56 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 14.07
• รถยนต์นั่ง ICE 22,677 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 26.35 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 16.11
• รถยนต์นั่ง HEV 3,516 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.09 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 351.93
• รถ PPV 11,672 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.56 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 4.66
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 60,334.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 0.20
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,467.66 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 3.62
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,765.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 2.69
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,333.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2566 ร้อยละ 7.07
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนสิงหาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่มีมูลค่า 82,901.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 0.71
เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 688,633 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.94 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 394,046 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 57.23 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.76
• รถยนต์นั่ง ICE 169,126 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 24.55 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 18.34
• รถยนต์นั่ง HEV 34,712 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.04 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 472.71
• รถ PPV 90,749 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.18 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.37
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 480,206.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.08 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 23,447.72 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.51
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 128,985.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 7.07
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 17,442.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 11.52
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 650,082.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.21
รถจักรยานยนต์
เดือนสิงหาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 58,468 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 0.49 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 19.91 โดยมีมูลค่า 4,329.64 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 4.65
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 219.76 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 3.92
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 260.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 29.53
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนสิงหาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,809.68 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 3.23
เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 531,543 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.68 มีมูลค่า 41,684.24 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 9.56
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,670.47 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 18.61
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,272.10 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 12.61
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราค-สิงหาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 44,626.81 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 10.03
เดือนสิงหาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 87,711.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 0.48
เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 694,708.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 4.08
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนสิงหาคม 2567
เดือนสิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,804 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 3 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 6,376 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 3.67
o รถยนต์นั่ง จำนวน 6,211 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 162 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 233 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 762.96
• รถยนต์ 3 ล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 48 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 100
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 9 คัน
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 39 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 2,091 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 12.07
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 2,090 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 1 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 13 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 44.44
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 43 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 126.32
เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 69,047 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 17.34 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 49,642 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 14.52
o รถยนต์นั่ง จำนวน 48,204 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1,370 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 8 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 57 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 491 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 439.56
• รถยนต์ 3 ล้อ มีทั้งสิ้น 135 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ42.80
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 32 คัน
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 103 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 18,237 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 30.35
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 18,129 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 108 คัน
• รถโดยสารมีทั้งสิ้น 237 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 79.12
• รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 305 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 643.90
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนสิงหาคม 2567
เดือนสิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 11,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 54.80 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 10,932 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 55.31
o รถยนต์นั่ง จำนวน 10,917 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 6 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 7 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 68 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 1.49
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 68 คัน
เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 94,794 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 60.14 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 94,406 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 60.67
o รถยนต์นั่ง จำนวน 94,317 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 23 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 17 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 46 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 388 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 11.21
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 388 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนสิงหาคม 2567
เดือนสิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 854 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 32.70 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 854 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 32.70
o รถยนต์นั่ง จำนวน 854 คัน
เดือนมกราค-สิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสม มีจำนวน 6,576 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 22.80 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 6,576 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 22.80
o รถยนต์นั่ง จำนวน 6,569 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 7 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567
ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 200,109 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 120.13 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 139,059 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 143.78
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 136,574 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ141.35
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,983 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 504.57
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 74 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 270
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 128 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 393.33
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 297 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 219.35
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 769 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 409.27
• รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 1,019 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 42.92
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 114 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 50
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ มีจำนวน 905 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 42.07
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 55,998 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 84.20
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 55,871 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 84.54
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 127 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.60
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,654 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 13.08
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 610 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 143.03
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567
ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 437,504 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.53 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 428,223 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.58
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 427,271 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.60
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 496 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 3.55
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 73 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 73.81
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 202 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 78.76
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 176 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 100
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,278 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1.84
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,278 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี2566 ร้อยละ 1.84
• อื่นๆ
o รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567
ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 60,428 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 18.84 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 60,428 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ1 8.84
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 60,357 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 18.85
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 43 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 4.88
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 20 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
รถยนต์สิงหาคม ฟื้นตัวช้า ลงต่อเนื่อง
Toyota (โตโยตา) รายงานตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม ยังคงฟื้นตัวช้า ยอดขาย 45,190 คัน ลดลง 25 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,305 คัน ลด ลง 22.6 % ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 26,885 คัน ลดลง 26.5 % และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 14,970 คัน ลดลง 39.2 %
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว่า ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม 2567 มียอดขาย 45,190 คัน ลดลง 25 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่ง ทำยอดขาย 18,305 คัน ชะลอตัวที่ 22.6 % ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มียอดขาย 26,885 คัน ชะลอตัวเช่นกันที่ 26.5 % และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขาย 14,970 คัน เติบโตลดลง 39.2 % ในส่วนของตลาด XEV มียอดขายทั้งหมด17,090 คัน คิดเป็นสัดส่วน 38 % ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 20 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่รถยนต์ HEV ยังคงได้รับความนิยม โดยมียอดขายอยู่ที่ 8,658 คัน เติบโตขึ้น 33 % คิดเป็นสัดส่วน 51 % ของตลาด XEV และรถยนต์ BEV มียอดขาย 7,654 คัน เพิ่มขึ้น 16 % คิดเป็นสัดส่วน 45 % ของตลาด XEV ทั้งหมด
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน มีแนวโน้มจะยังคงทรงตัว แต่ยังคงเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวช้า และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมถึงภาวะอุทกภัย อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2567
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 45,190 คัน ลดลง 25 %
อันดับ 1 Toyota 17,843 คัน ลดลง 14.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 39.5 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,145 คัน ลดลง 46 % ส่วนแบ่งตลาด 13.6 %
อันดับที่ 3 Honda 5,005 คัน ลดลง 29.3 % ส่วนแบ่งตลาด 11.1 %
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,305 คัน ลดลง 22.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 5,554 คัน ลดลง 33.5 % ส่วนแบ่งตลาด 30.3 %
อันดับที่ 2 Honda 3,302 คัน ลดลง 24.1 % ส่วนแบ่งตลาด 18 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,375 คัน เพิ่มขึ้น 48 % ส่วนแบ่งตลาด 7.5 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 26,885 คัน ลดลง 26.5 %
อันดับที่ 1 Toyota 12,289 คัน ลดลง 1.9 % ส่วนแบ่งตลาด 45.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu 6,145 คัน ลดลง 46 % ส่วนแบ่งตลาด 22.9 %
อันดับที่ 3 Honda 1,703 คัน ลดลง 37.8 % ส่วนแบ่งตลาด 6.3 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 14,970 คัน ลดลง 39.2 %
อันดับที่ 1 Toyota 7,086 คัน ลดลง 29.2 % ส่วนแบ่งตลาด 47.3 %
อันดับที่ 2 Isuzu 5,275 คัน ลดลง 47.2 % ส่วนแบ่งตลาด 35.2 %
อันดับที่ 3 Ford 1,501 คัน ลดลง 49.2 % ส่วนแบ่งตลาด 10 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,667 คัน
Isuzu 1,158 คัน-Toyota 822 คัน-Ford 542 คัน-Mitsubishi 113 คัน-Nissan 32 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 12,303 คัน ลดลง 37.1 %
อันดับที่ 1 Toyota 6,264 คัน ลดลง 21.4 % ส่วนแบ่งตลาด 50.9 %
อันดับที่ 2 Isuzu 4,117 คัน ลดลง 51.1 % ส่วนแบ่งตลาด 33.5 %
อันดับที่ 3 Ford 959 คัน ลดลง 47.5 % ส่วนแบ่งตลาด 7.8 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม-สิงหาคม 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 399,611 คัน ลดลง 23.9 %
อันดับที่ 1 Toyota 151,907 คัน ลดลง 14.7 % ส่วนแบ่งตลาด 38 %
อันดับที่ 2 Isuzu 59,189 คัน ลดลง 45.9 % ส่วนแบ่งตลาด 14.8 %
อันดับที่ 3 Honda 53,946 คัน ลดลง 11.2 % ส่วนแบ่งตลาด 13.5 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 154,194 คัน ลดลง 20.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 44,131 คัน ลดลง 34.6 % ส่วนแบ่งตลาด 28.6 %
อันดับที่ 2 Honda 30,555 คัน ลดลง 23 % ส่วนแบ่งตลาด 19.8 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 12,345 คัน เพิ่มขึ้น 6.5 % ส่วนแบ่งตลาด 8 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 245,417 คัน ลดลง 25.8 %
อันดับที่ 1 Toyota 107,776 คัน ลดลง 2.7 % ส่วนแบ่งตลาด 43.9 %
อันดับที่ 2 Isuzu 59,189 คัน ลดลง 45.9 % ส่วนแบ่งตลาด 24.1 %
อันดับที่ 3 Honda 23,391 คัน เพิ่มขึ้น 11 % ส่วนแบ่งตลาด 9.5 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 139,532 คัน ลดลง 40 %
อันดับที่ 1 Toyota 64,144 คัน ลดลง 29.2 % ส่วนแบ่งตลาด 46 %
อันดับที่ 2 Isuzu 51,711 คัน ลดลง 47.7 % ส่วนแบ่งตลาด 37.1 %
อันดับที่ 3 Ford 14,730 คัน ลดลง 43 % ส่วนแบ่งตลาด 10.6 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 24,481 คัน
Toyota 8,736 คัน-Isuzu 8,247 คัน-Ford 5,564 คัน-Mitsubishi 1,656 คัน-Nissan 278 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 115,051 คัน ลดลง 39.3 %
อันดับที่ 1 Toyota 55,408 คัน ลดลง 26.2 % ส่วนแบ่งตลาด 48.2 %
อันดับที่ 2 Isuzu 43,464 คัน ลดลง 48 % ส่วนแบ่งตลาด 37.8 %
อันดับที่ 3 Ford 9,166 คัน ลดลง 47.6 % ส่วนแบ่งตลาด 8 %
Zeekr เปิดตัว “Zeekr 009”
บริษัท ซีเคอาร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว “Zeekr 009 (ซีเคอร์ 009)” รถเอมพีวีพลังงานไฟฟ้า เจาะเซกเมนท์ลักชัวรี นำเสนอยนตรกรรมไฟฟ้าที่ผสานความเป็นที่สุด “ความหรูหราระดับเฟิร์สต์คลาสส์ นวัตกรรมอัจฉริยะ สมรรถนะที่เหนือชั้น และความปลอดภัยขั้นสูงสุด” ภายใต้แนวคิด “Every Journey Shines” ให้ทุกโมเมนท์ของการเดินทางมีความหมายกับทุกคนในรถ ราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 3.099 ล้านบาทพร้อมส่งมอบรถประมาณเดือนตุลาคมเป็นต้นไป
เป่า จ้วงเฟย (อเล็กซ์) ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเคอาร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า ความสำเร็จของ Zeekr ในตลาดไทยเริ่มต้นด้วยการเปิดตัว Zeekr X (ซีเคอร์ เอกซ์) ซึ่งได้รับการตอบรับความสนใจอย่างมาก โดยมียอดส่งมอบรถมากกว่า 250 คันภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือนหลังการเปิดตัวซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ไม่เพียงแค่แสดงถึงการยอมรับในผลิตภัณฑ์ แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทยที่มีต่อแบรนด์ Zeekr ครั้งนี้เปิดตัว Zeekr 009 เอมพีวีที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100 % ที่จะเป็นการปฏิวัติแนวคิดของการเดินทางในยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการสร้างความสุขให้แก่ผู้ใช้งานทุกคน ภายใต้แนวคิด "Every Journey Shines" ซึ่ง Zeekr 009 จะสร้างประสบการณ์ที่ดีตลอดการใช้งาน ทำให้ทุกโมเมนท์ของทุกคนมีความหมายและเต็มไปด้วยความสุข ผ่านความเป็นสุดยอดของ Zeekr 009 ได้แก่ "Ultimate Luxury ความหรูหราระดับเฟิร์สต์คลาสส์, Ultimate Intelligence นวัตกรรมอัจฉริยะ,Ultimate Performance สมรรถ นะที่เหนือชั้น และ Ultimate Safety ความปลอดภัยขั้นสูงสุด อีกทั้ง Zeekr 009 ยังให้ความสำคัญกับคนขับ และผู้โดยสารทุกที่นั่ง ให้ความสบาย และความปลอดภัยสูงสุดทุกที่นั่งด้วยแนวคิด "Every Seat Matters" ที่แตกต่างจากเอมพีวีทั่วไปในตลาด Zeekr 009 จึงพร้อมที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ในเมืองไทย
"ตลาดเอมพีวีปี 2567 โตต่อเนื่อง ตอบโจทย์ครอบครัว และการใช้งานอเนกประสงค์ ตลาดยนตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปีนี้คาดการณ์การเติบโตของยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 อาจสูงถึง 18.9 %
นอกจากนี้ ตลาดรถยนต์เอมวีพีที่กำลังไต่ระดับยอดจอง และยอดขาย แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มครอบครัว หรือผู้ที่ต้องการความอเนก ประสงค์ในการใช้งาน ส่งผลให้แต่ละแบรนด์ในตลาดแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อนำเสนอรถเอมพีวีที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีพลังงานสะอาดยังเป็นแนวโน้มที่น่าจับตามองในตลาดนี้ ทำให้สามารถคาดหวังได้ว่าจะได้เห็นรถเอมพีวีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
สัมผัสนวัตกรรมใหม่ภายใต้แนวคิด “Every Journey Shines” กับ Zeekr 009
Zeekr 009 เป็นยนตรกรรมที่ครบครันทั้ง “ความหรูหรา นวัตกรรมอัจฉริยะ สมรรถนะที่เหนือชั้น และความปลอดภัยขั้นสูงสุด” โดดเด่นด้วยแนวคิด "Every Journey Shines" ที่เน้นความสะดวกสบายผสมผสานความหรูหรากับห้องโดยสารที่ถูกออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์คุณภาพระดับเฟิร์สต์คลาสส์ของสายการบิน ด้วยเบาะที่นั่งผู้โดยสารแถว 2 แบบ Sofaro First Class Airline Seats พร้อมโหมดการการปรับแบบ Eames Lounge Chair Mode ที่สามารถปรับเอนนอนได้เพียงปุ่มเดียว และโต๊ะแบบพับเก็บได้ เบาะนั่งบุด้วยหนัง Nappa แบบนุ่ม เบาะนั่งคนขับ, ผู้โดยสารด้านหน้าและผู้โดยสารแถวสองมาพร้อมระบบนวดไฟฟ้า มีหน้าจอ OLED แบบทัชสกรีนขนาด 15.05 นิ้ว และหน้าจอเสมือนบนกระจก AR-HUD ขนาด 35.95 นิ้ว พร้อมหน้าจอเพดาน สำหรับผู้โดยสารด้านหลังแบบ Touch Screen OLED ขนาด 17 นิ้ว ช่วยเพิ่มประสบการณ์การขับขี่อย่างเหนือชั้นด้วยชิพเซท Qualcomm Snapdragon 8295 จำนวน 2 ชุด เพื่อเสริมการประมวลผลที่รวดเร็ว และทรงพลัง รองรับคำสั่งได้ถึง 60 ล้านคำสั่ง/วินาที รวมถึงระบบเสียงรอบทิศทางจาก Yamaha 30 ตัวที่พร้อมให้ความบันเทิงได้ในทุกการเดินทาง
สมรรถนะของ Zeekr 009 โดดเด่นด้วยระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์คู่ที่มีกำลังสูงสุด 450 กิโลวัตต์ หรือเทียบเท่า 603 แรงม้า และแรงบิด 693 นิวทันเมตร ทำให้รถสามารถเร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ได้ในเวลาเพียง 4.5 วินาที แบทเตอรีลิเธียม-ไอออนขนาด 116 กิโลวัตต์ชั่วโมง โดยสามารถวิ่งได้ไกลถึง 686 กม. ตามมาตรฐาน NEDC ทำให้ Zeekr 009 เป็นรถที่มีสมรรถนะสูง และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ขับขี่ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ ยังเพิ่มสุนทรียภาพในการเดินทางด้วย ระบบช่วงล่างถุงลมประสิทธิภาพสูง พร้อมระบบ CCD Electromagnetic Vibration Re duction System ช่วยลดแรงสะเทือนที่จะเข้าสู่ในห้องโดยสาร และ Zeekr 009 ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูงสุดที่ได้รับการออกแบบเพื่อปกป้องผู้โดยสารอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งโครงสร้างด้านท้ายของรถที่ผลิตจากอลูมิเนียมชิ้นเดียวมีความแข็งแรงสูงพร้อมถุงลมนิรภัย 7 ตำแหน่งพร้อมปกป้องผู้ขับขี่ และผู้โดยสารทั่วทั้งคัน
ปูพรมกิจกรรมทางการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายพรีเมียม-ลักชัวรี
Zeekr ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำสมัย หรูหรา แต่ยังเตรียมแผนขยายการรับรู้ และสร้างฐานลูกค้าในประเทศไทย ทั้งการสปอนเซอร์ให้แก่ดีไซจ์เนอร์ชื่อดัง ประภากาศ อังศุสิงห์ แห่งแบรนด์ Hook (Hook‘s by Prapakas Presented by Zeekr) ในแฟชันโชว์ครั้งใหญ่ระดับประเทศ และคอร์สอบรบเพิ่มทักษะการขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยสำหรับเจ้าของรถยนต์ Zeekr ที่สนามแข่งรถแก่งกระจานเซอร์กิท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ ที่จัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนี้ยังเน้นกลยุทธ์ด้านบริการหลังการขายระดับพรีเมียมด้วยโปร แกรมบริการพิเศษสำหรับเจ้าของรถ Zeekr ทุกรุ่น เช่น การรับประกันมอเตอร์ และแบทเตอรีแรงดันสูง 8 ปี และบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. และ Mobile Service นานถึง 5 ปี เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในคุณภาพ และการดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้า
สร้างปรากฏการณ์ใหม่ สู่การเป็นผู้นำตลาดรถไฟฟ้าพรีเมียม-ลักชัวรี
ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ากับดีไซจ์นสุดหรูอันเป็นเอกลักษณ์ Zeekr มุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การขับขี่ระดับพรีเมียมพร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยสมรรถนะอันทรงพลัง และระยะทางขับขี่ ยิ่งไปกว่านั้น Zeekr มุ่งสร้างประสบการณ์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบไร้รอยต่อ ด้วยการพัฒนาและเพิ่มสาขาของ Zeekr House อย่างต่อเนื่องพร้อมดูแลลูกค้าอย่างเหนือชั้น ด้วยความมุ่งมั่นของ Zeekr ในการที่จะก้าวเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
Zeekr 009 ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ให้กำลังขับขี่ 603 แรงม้า สามารถวิ่งได้ไกลถึง 686 กม. ตามมาตรฐาน NEDC ในการชาร์จเพียงครั้งเดียว กับล้อขนาด 20 นิ้ว ภายในห้องโดยสารกว้างขวาง รองรับผู้โดยสารได้ 6 คน ตกแต่งหรูหราพร้อมอุปกรณ์ครบครันทั้งไฟ Ambient Light, หน้าจอแสดงผล 5 จอ รวมถึงจอ AR HUD ขนาด 35.95 นิ้ว พร้อมกับระบบเสียงรอบทิศทางจาก Yamaha ทั้งหมด 30 ตำแหน่ง Zeekr 009 มี 3 โทนสีรถภายนอก ได้แก่ สีขาว Crystal White (ภายในโทนสีดำ) สีน้ำเงิน Electric Blue (ภายในโทนสีดำ หรือภายในทูโทนสีน้ำเงิน/ขาว) และสีดำ Phantom Black (ภายในโทนสีดำ หรือภายในทูโทนสีเทา/ขาว) ราคาเริ่มต้น 3.099 ล้านบาท พร้อมส่งมอบรถประมาณเดือนตุลาคม
พร้อมกันนี้ ยังมาพร้อมกับข้อเสนอพิเศษ ประกันภัยชั้น 1, การรับประกันตัวรถ 5 ปี หรือ 150,000 กม. อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน การรับประกันมอเตอร์ และแบทเตอรีแรงดันสูง 8 ปีหรือ 180,000 กม. อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. และบริการ Mobile Service นาน 5 ปี และพิเศษสุด สำหรับลูกค้า 1,000 ท่านแรก รับฟรี Wallbox จาก “VREMT” พร้อมแพคเกจติดตั้ง* มูลค่า 70,000 บาท
*หมายเหตุ: เมื่อจองและรับรถภายใน 30 พฤศจิกายน พศ. 2567
Hyundai ทุ่มงบพันล้าน รุก EV
บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเดินหน้าลงทุนมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท เร่งเสริมความแข็งแกร่ง และสนับสนุนการเติบโตของอีโคซิสเตมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย หลังได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เต็มรูปแบบ พร้อมเปิดตัว “Ioniq 5N (ไอโอนิก 5 เอน)”
เจ กิว จอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย)ฯ มุ่งมั่นสร้างสรรค์อนาคตแห่งการเดินทางที่ยั่งยืน ผ่านการลงทุนเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมมากมาย โดยเรามุ่งเน้นที่การพัฒนาอีโคซิสเตมยานยนต์ไฟฟ้าที่แข็งแกร่ง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การลงทุนด้านการผลิต และโครงสร้างพื้นฐานในประเทศครั้งนี้ ทำให้เราสามารถวางตำแหน่งประเทศไทยให้กลายเป็นผู้เล่นหลัก ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมขับเคลื่อนความก้าว หน้า ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า และมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังอนาคต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนมากขึ้น
สำหรับการตอกย้ำความมุ่งมั่นการทำตลาดในไทย ด้วยการจัดตั้งโครงการ EV3.5 ผ่าน บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเงินลงทุนสูงกว่า 1 พันล้านบาท โครงการนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม บนเนื้อที่กว่า 28,500 ตรม. โดยมีพื้นที่ใช้สอยอาคาร 17,500 ตรม. ซึ่งมีทั้งส่วนโรงงานประกอบรถยนต์ และแบทเตอรี กำหนดเริ่มการผลิตในปี 2569 ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 5,000 คัน/ปี เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายในประเทศ
โรงงานแห่งใหม่นี้จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นล่าสุดของ Hyundai (ฮันเด) ซึ่งรวมถึงแบรนด์ Ioniq โดยมุ่งเน้นการใช้ส่วนประกอบหลักจากในประเทศ การเสริมสร้างความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ไทย การส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น และการสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ไฟฟ้าของไทย การลงทุนครั้งนี้จึงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ Hyundai ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศในระยะยาว จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับอีโคซิสเตมของยานยนต์ไฟฟ้าที่เข้มแข็ง และมั่นคง
ส่วนแผนการผลิต จะเริ่มที่ Ioniq 5 และหลังจากนั้นจะมีรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันมีจำหน่ายอยู่ 3-4 รุ่น โดย Hyundai ตั้งเป้าผลิต 5 ปี หลังจากนี้อีก 8 รุ่น
วัลลภ เฉลิมวงศาเวช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันยานยนต์ไฮไลท์ คือ Ioniq 5 ซึ่งเป็นรถเอสยูวีไฟฟ้าที่คว้ารางวัลระดับโลกมาแล้วมากมาย จากการผสมผสานมรดกทางวัฒนธรรมของ Hyundai เข้ากับนวัตกรรมใหม่ได้อย่างยอดเยี่ยม มอบระยะการขับขี่ไกลสูงสุดถึง 481 กม. และความสามารถชาร์จไฟเร็วเป็นพิเศษ (10-80 % ในเวลาเพียง 18 นาที) พื้นที่ใช้สอยภายในออกแบบให้มีความอเนกประสงค์ และความยืดหยุ่นสูง พร้อมฟีเจอร์เพื่อความปลอดภัยอันล้ำสมัย เช่น ระบบจอดรถอัตโนมัติ และ Hyundai Smart Sense โดย Ioniq 5 มีรา คาจำหน่ายในเมืองไทยเริ่มต้นที่ 1,699,000-1,829,000 บาท ซึ่งนับว่าคุ้มค่าอย่างมาก สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์
อีกผลิตภัณฑ์ที่มาเติมเต็มความต้องการ คือ Ioniq 6 (ไอโอนิก 6) รถซีดานที่ทันสมัย และเปี่ยมด้วยสไตล์อันโดดเด่น ภายใต้รูปทรงที่โฉบเฉี่ยว และการตกแต่งห้องโดยสารที่กว้างขวาง มอบระยะทางการขับขี่สูงสุด 545 กม. และอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ในเวลาเพียง 7.4 วินาที และสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือ ระบบชาร์จ Multi-Charging System 400V และ 800V ซึ่งอยู่ในรถยนต์ไฟฟ้าสมรรถนะสูง ทั้งยังมีระบบขับเคลื่อนล้อหลังซึ่งมีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ พร้อมมอบอีกระดับแห่งสมรรถนะ และเสถียรภาพของการขับขี่
Ioniq 6 มีราคาเริ่มต้น 1,899,000 บาท พร้อมให้คุณสัมผัสการผสมผสานที่โดดเด่นระหว่างประสิทธิภาพ นวัตกรรม และความยั่งยืน
Ioniq 5N รถยนต์ไฟฟ้าที่มีสมรรถนะสูงสุดของ Hyundai ก้าวข้ามขีดจำกัดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป ด้วยกำลังขับเคลื่อนถึง 601 แรงม้า มอบประสบการณ์การขับขี่ที่เร้าใจอย่างไร้คู่แข่ง เสริมการทำงานด้วยโหมด N Grin Boost ซึ่งจะเพิ่มกำลังสูงสุดเป็น 641 แรงม้า มอบอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ในเวลาเพียง 3.4 วินาที ด้วยสมรรถนะการขับขี่อันน่าทึ่ง ผสานกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำหน้าของ Hyundai Ioniq 5N จึงเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ที่ต้องการความตื่นเต้น พละกำลัง และนวัตกรรมล้ำยุค เพื่อมุ่งสู่อนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าสมรรถนะสูง ด้วยราคาที่ 3,790,000 บาท
“แบรนด์ Ioniq แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Hyundai ในการนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างครอบคลุม Ioniq 5N จึงเป็นอีกหลักชัยสำคัญบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนของเรา ผ่านการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบระหว่างสุดยอดประสิทธิภาพ เทคโนโลยีขั้นสูง และความยั่งยืน เป้าหมายของเรา คือ การเป็นผู้นำในตลาดรถ ยนต์ไฟฟ้าของเมืองไทย พร้อมด้วยโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่กระตุ้นเร้าแรงบันดาลใจ เสริมสร้างความเชื่อมั่น และร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น”
“เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ Hyundai มอบแพคเกจระดับพรีเมียม ด้วยการรับประกันแบทเตอรีไฟฟ้าแรงสูงนาน 8 ปี หรือ 160,000 กม. และการรับประกันคุณภาพรถยนต์นาน 5 ปี หรือ 150,000 กม. เพื่อมอบความมั่นใจในทุกการเดินทาง นอกจากนี้ เรายังเพิ่มความอุ่นใจที่เหนือระดับสำหรับลูกค้า Ioniq ด้วยแพคเกจบริการหลังการขายสุดพิเศษ ด้วยบริการฟรีค่าแรงเชคระยะนาน 10 ปี หรือ 150,000 กม. ฟรีเครื่องชาร์จ Home Charger พร้อมฟรีค่าติดตั้ง พร้อมเครื่องชาร์จพกพากระแสไฟฟ้า AC ความยาวสายไฟ 6 ม. ซึ่งรับประกันนาน 3 ปี ทั้งยังมีบริการชาร์จไฟ V2L ฟรี 3 ปี เหนือสิ่งอื่นใด Hyundai ยังบริการส่งมอบยานยนต์ถึงบ้านปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ Hyundai ยังมอบบริการช่วยเหลือฉุก เฉิน ยกรถฟรีไปยังศูนย์บริการ Hyundai หรือสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุด นานสูงสุดเป็นเวลา 5 ปี โดยไม่จำกัดระยะทาง ซึ่งเป็นบริการพิเศษสุดสำหรับลูกค้า Hyundai เท่านั้น”
นอกจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ Hyundai ยังประกาศความมุ่งมั่น ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่าย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น วิสัยทัศน์ของ Hyundai คือ การสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยมีเครือข่ายสถานีชาร์จที่ครอบคลุม พร้อมสนับสนุนหลังการขายชั้นเลิศ และไม่เป็นเพียงแค่การพัฒ นานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ Hyundai ยังลงทุนในโครงการด้านความยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และชุมชน เพื่อส่งเสริมโครงการสีเขียว และสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยโครงการเหล่านี้ ประเทศไทยจะพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ Ioniq ของ Hyundai จะเป็นแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ พร้อมร่วมเดินทางสู่อนาคตแห่งพลังงานสะอาด เทคโนโลยีอัจฉริยะ และสร้างความยั่งยืนที่มากยิ่งขึ้นร่วมกับทุกคน
ในโอกาสเดียวกันนี้ ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย)ฯ ยังแนะนำ E-Pit สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Ultra-Fast Charging ซึ่งพร้อมให้บริการแล้ววันนี้ที่ Ioniq Lab โดยมาพร้อมกับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 800 โวลท์/350 กิโลวัตต์ สามารถชาร์จไฟเพียง 5 นาทีให้ขับขี่ Ioniq 5 ไปได้ไกลอีก 100 กม. นวัตกรรมที่ชาร์จ E-Pit แห่งนี้สงวนสิทธิ์การให้บริการสำหรับลูกค้า Ioniq 5, Ioniq 6 และ Ioniq 5N เท่านั้น โดยยังให้บริการฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายจนถึงสิ้นปีนี้อีกด้วย ลูกค้า Ioniq สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของ E-Pit ได้ที่ Ioniq Lab นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังมีแผนขยายจุดให้บริการสถานีชาร์จ E-Pit โดยจะติดตั้งเพิ่มขึ้นที่ H-Space ในเร็วๆ นี้
Mercedes-Benz เปิดตัวพลัก-อินไฮบริดรุ่นแรกในไทย
บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว Mercedes-AMG GLE 53 Hybrid 4Matic+ (เมร์เซเดส-เอเอมจี จีแอลอี 53 ไฮบริด 4 เมทิค พลัส) รถเอสยูวีสมรรถนะสูงจาก Mercedes-AMG มาพร้อมระบบขับเคลื่อนแบบ Plug-in Hybrid เจเนเรชันที่ 4 สามารถขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้าระยะทางสูงสุด 86 กม./การชาร์จเต็ม 1 ครั้ง ตามมาตรฐาน WLTP ติดตั้งอุปกรณ์ขั้นสูงแบบจัดเต็ม และเป็นครั้งแรกที่มีการติดตั้งล้อ Forged ดีไซจ์นสปอร์ทจาก AMG ขนาด 22 นิ้ว สำหรับรุ่นประกอบในประเทศ และยังมี AMG Performance 4Matic+, AMG Ride Control+ Suspension, AMG High-Performance Brake System และ AMG Performance Exhaust System โดยเปิดราคาจำหน่ายที่ 5,850,000 บาท ที่ตัวแทนจำหน่าย Mercedes-AMG อย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มส่งมอบรถในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป
Mercedes-AMG GLE 53 Hybrid 4Matic+ มาพร้อมขุมพลังเบนซิน 6 สูบ แถวเรียง 3.0 ลิตร เทอร์โบ (M256M) ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid และแบทเตอรีขนาด 31.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง มีระยะทางการขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 86 กม./การชาร์จเต็ม 1 ครั้ง ตามมาตรฐาน WLTP รองรับการชาร์จแบบ DC สูงสุด 60 กิโลวัตต์ชั่วโมง ใช้เวลาจาก 10-80 % ภายในระยะเว ลา 20 นาที และการชาร์จแบบ AC สูงสุด 11 กิโลวัตต์ชั่วโมง ใช้เวลาจาก 0-100 % ภายในระยะเวลา 3 ชม. ติดตั้งระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ AMG Performance 4Matic+ สามารถกระจายแรงส่งกำลังได้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังแบบอิสระเพื่อให้ตอบโจทย์บนทุกสภาพพื้นผิวถนน ใช้เกียร์อัตโนมัติ 9 จังหวะ AMG Speedshift TCT 9G ให้กำลังสูงสุด 544 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 750 นิวทันเมตร สามารถทำอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ภายในเวลา 4.7 วินาที และสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กม./ชม.
ดีไซจ์นภายนอกเพิ่มความดึงดูดสายตาบนท้องถนนด้วยการตกแต่งแบบ AMG Night Package กับสี Deep Gloss Black ที่ถูกตัดแซมไว้บนชุดกันชนหน้า “A-Wing” กระจกมองข้าง คิ้วขอบกระจก แร็คหลังคา กันชนท้าย และปลายท่อคู่อันทรงพลังเพื่อมอบพลังความสปอร์ท และปราดเปรียวตามแบบฉบับของ AMG Exterior ไฟหน้า Multibeam LED ผสานการทำงานกับ Adaptive High beam Assist Plus ที่จะมอบความปลอดภัยขณะขับขี่แบบไร้กังวล ติดตั้งล้อ Forged ดีไซจ์นสปอร์ทจาก AMG แบบ Cross-Spoke ขนาด 22 นิ้ว พ่นด้วยสีดำด้าน Matte Black
ภายในห้องโดยสารมาพร้อม AMG Interior Package มอบรายละเอียดการตกแต่งที่โดดเด่นตามสไตล์สปอร์ทในทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น พวงมาลัย AMG Performance Steering Wheel พร้อมระบบพวงมาลัย AMG Steering 3 สเตจ ติดตั้งเบาะนั่งหุ้มด้วยหนัง และไมโครไฟเบอร์ หลังคากระจก Panoramic Sunroof ที่ช่วยเพิ่มความโปร่งสบายให้แก่ห้องโดยสาร มอบประสบการณ์การขับขี่ที่เหนือกว่าด้วยระบบปฏิบัติการ MBUX7 แบบ Zero-Layer Concept ที่ออกแบบมาตามรูปแบบโปรแกรม AMG ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอธีมพิเศษของ AMG รวมถึงการวัดทแรคสนาม โดยควบ คุมผ่านจอกลางแบบ Widescreen Cockpit ขนาด 12.3 นิ้ว ที่เชื่อมต่อกับ AMG Head-up Display ขนาด 12.3 นิ้ว ติดตั้งระบบนำทางแสดงภาพเสมือนจริง MBUX Augmented Reality for Navi gation และระบบเสียง Burmester Surround Sound System ลำโพง 13 ตัว กำลังขับ 590 วัตต์ พร้อม Dolby Atmos ช่วยมอบเสียงเพลงที่คมชัดสมจริงรอบทิศทางราวกับอยู่ในสตูดิโอ
ติดตั้งโปรแกรมการขับขี่ AMG Dynamic Selest สามารถปรับเลือกได้ถึง 7 รูปแบบ ตามไลฟ์สไตล์การขับขี่ รวมถึงโหมด Off-Road ที่มาพร้อมการแสดงผลแบบ Transparent Bonnet ที่จะแสดงภาพใต้ท้องรถแบบ Real-Time ทำให้สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผสานการทำงานด้วยระบบกันสะเทือนแบบ AMG Ride Control+ ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับระบบกันสะเทือนแบบถุงลม (Adaptive Airmatic) และระบบเบรคแบบ AMG High-Performance Brake System ด้านหน้า 6 พอร์ท และด้านหลัง 1 พอร์ท ติดตั้งระบบถ่ายทอดเสียงเครื่องยนต์ และเทอร์โบแบบ AMG Performance Exhaust System ซึ่งเป็นนวัตกรรมท่อที่เร้าใจที่สุดของ Mercedes-AMG สามารถเลือกปรับระดับเสียงท่อไอเสียได้ทั้งแบบ Balanced หรือ Po werful ผ่านคอนโซลกลาง หรือบน AMG Steering Wheel Buttons พร้อมเติมเต็มอารมณ์สปอร์ทให้แก่ผู้ขับขี่ได้อย่างเต็มพิกัด
สำหรับเทคโนโลยี และระบบความปลอดภัยนั้น Mercedes-AMG GLE 53 Hybrid 4Matic+ จัดมาให้อย่างเต็มพิกัด ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยเหลือการขับขี่ Driving Assistance Plus Package และระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติในกรณีฉุกเฉิน (Active Emergency Stop Assist) ระบบช่วยเตือนอาการเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (Attention Assist) ระบบรักษาระยะห่างจากรถด้านหน้า และควบคุมความเร็วอัตโนมัติ (Active Distance Assist Distronic) ระบบเบรค Adaptive Brake พร้อมฟังค์ชัน Hold และ Hill-Start Assist ระบบเบรคป้องกันล้อลอค ABS (Anti-Lock Braking System) โปรแกรมควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ ESP (Electronic Stability Program) ระบบเตือนเพื่อนำรถเข้าศูนย์บริการ (ASSYST Service Interval Indicator) ระบบช่วยควบคุมพวงมาลัย (Active Steering Assist) และ Parking Package พร้อมกล้องรอบคัน 360° ฯลฯ
รุ่น |
เครื่องยนต์ |
ความจุ แบทเตอรี |
แรงม้าสูงสุด |
แรงบิดสูงสุด (นิวทันเมตร) |
อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. |
ความเร็วสูงสุด |
Mercedes-AMG |
เบนซิน Plug-in hybrid เทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูเลอร์ |
31.2 |
544 |
750 |
4.7 |
250 |
มีสีตัวถังให้เลือกทั้งหมด 5 สี ได้แก่ สีขาว (Polar White) สีดำ (Obsidian Black) สีเทา (Selenite Grey) สีเทา (Manufaktur Alpine Grey Solid) และสีแดง (Manufaktur Hyacinth Red Metallic)
Omoda & Jaecoo เปิดโชว์รูมพร้อมคลังอะไหล่
โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)ฯ หรือ Omoda & Jaecoo (Thailand) ภายใต้ Chery Automobile บริษัทด้านเทคโนโลยียานยนต์ชั้นนำระดับโลกสัญชาติจีน ผู้ส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรายใหญ่ที่สุดของจีน และเป็นแบรนด์รถยนต์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ผนึกกำลัง DHL Supply Chain ผู้ให้บริการลอจิสติคส์ชั้นนำระดับโลก ยกระดับการให้บริการด้านคลังอะไหล่ (Parts and Compo nents Warehouse) ด้วยพื้นที่จัดเก็บกว่า 1,000 ตรม. และการขนส่งภายในประเทศ (Transportation) เพื่อมุ่งยกระดับการให้บริการหลังการขายแบบไร้รอยต่อผ่านระบบเทคโนโลยีล้ำสมัยของ Chery และ DHL ที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก นอกจากนี้ โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)ฯ ยังได้พิสูจน์ความพร้อมของโชว์รูมของผู้จำหน่าย ทั้งพื้นที่จัดแสดงรถ พื้นที่ให้บริการหลังการขาย และพื้นที่ซ่อมบำรุง รวมถึงศูนย์อบรม (Training Center) และศูนย์ตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ก่อนส่งมอบ (PDI Center) ที่พร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ววันนี้ก่อนรถคันแรกจะส่งมอบถึงมือลูก ค้า สำหรับผู้สนใจสามารถนัดหมายทดลองขับ และจองสิทธิ์รถ Omoda C5 EV (โอโมดา ซี 5 อีวี) และ Jaecoo 6 EV (แจคู 6 อีวี) ได้แล้ววันนี้ พร้อมรับโปรโมชัน และข้อเสนอสุดพิเศษมากมาย ที่ผู้จำหน่าย Omoda & Jaecoo ทั่วประเทศ
จักรพันธ์ สิขิวัฒน์ หัวหน้าส่วนงานบริการหลังการขาย บริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)ฯ เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งเพื่อเติมเต็มประสบการณ์ของผู้ขับขี่ให้รถยนต์เป็น “มากกว่ารถยนต์” และส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการที่ดีที่สุด ล่าสุดได้เปิดตัวโชว์รูม Flagship สุดล้ำสมัยของ Omoda & Jaecoo ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 1,000 ตรม. ซึ่งประกอบไปด้วย ส่วนจัดแสดงรถ และส่วนงานขาย (Sale) ที่จัดแสดงรถไฟฟ้า Omoda C5 EV และ Jaecoo 6 EV หลากหลายรุ่น และสี พร้อมด้วยพื้นที่บริการหลังการขาย (Service ) บริเวณเลาน์จ์ส่วนตัวสำหรับลูกค้า มีบริการเครื่องดื่ม และอาหารว่างตลอดทั้งวัน ให้ความสะดวกสบายอย่างมีระดับตลอดการใช้บริการ รวมทั้งส่วนงานอะไหล่ และซ่อมบำรุง (Spare Parts) ที่บริ หารงานด้วยระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะเชื่อมต่อกับคลังอะไหล่ส่วนกลางแบบไร้รอยต่อ ทำให้ใช้เวลาในการจัดส่งอะไหล่จากคลังหลักไปยังศูนย์บริการของผู้จำหน่ายทั่วประเทศภายใน 3 วันทำการเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์อบรม (Training Center) และศูนย์ตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ก่อนส่งมอบ (PDI Center) ที่พร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ววันนี้ก่อนรถคันแรกจะส่งมอบถึงมือลูกค้าทุกคน
“สำหรับการบริหารคลังอะไหล่ และการขนส่งอะไหล่ และชิ้นส่วนรถยนต์นั้น โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)ฯ ได้ร่วมมือกับ DHL Supply Chain ประเทศไทย โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีมาบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการจัดการคลังสินค้ายานยนต์ระดับโลกของ DHL จะช่วยเสริมย้ำความมั่นใจให้แก่ลูกค้าได้ว่าอะไหล่ และชิ้นส่วนของรถทุกรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยจะพร้อมให้บริการอยู่เสมอ โดยที่ พื้นที่ กทม. และปริมณฑลสามารถส่งอะไหล่ได้รวดเร็วภายใน 1 วันทำการ และภายใน 3 วันทำการ สำหรับการจัดส่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะอะไหล่หลักของรถ อาทิ แบทเตอรี มอเตอร์ขับเคลื่อน ชุด Reducer เป็นต้นครับ”
สตีฟ วอล์กเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DHL Supply Chain กลุ่มธุรกิจประเทศไทย กล่าวว่า DHL Supply Chain ดำเนินงานขนส่ง และจัดการคลังอะไหล่ด้วยเทคโนโลยี และมาตรฐานระดับโลก โดยมีการใช้ระบบขนส่ง Transport Management System (TMS) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึก และระบบติดตามสินค้า Electronic Proof-Of-Delivery หรือ ePOD รวมถึงระบบ Warehouse Management System ในการจัดการคลังสินค้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งมอบอะไหล่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
“เรามีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับ โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)ฯ ในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องความยั่งยืนที่ทั้ง 2 บริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนในระยะยาวในกระ บวนการดำเนินงานผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ อาทิ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่คลังสินค้า และการใช้รถพลังงานไฟฟ้าในการขนส่ง”
คลังอะไหล่ของ Omoda & Jaecoo ตั้งอยู่ที่ DHL บางนาลอจิสติคส์แคมปัสในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยพื้นที่จัดเก็บขนาดกว่า 1,000 ตรม. ทำให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งอะไหล่ และชิ้นส่วนรถยนต์ได้ตั้งแต่ 3,000-80,000 ชิ้น/เดือน และยังสามารถปรับเปลี่ยนขยายได้ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยคลังอะไหล่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย (1) ส่วนอะไหล่ขนาดใหญ่ที่วางบนพาเลทโดยไม่ใช้ชั้นวาง (Block Stack) อาทิ ชุดขับเคลื่อน เป็นต้น (2) ส่วนอะไหล่ที่วางบนชั้นวาง (Rack and Shelving) อาทิ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ อะไหล่ที่เปลี่ยนตามรอบการบำรุงรักษา เป็นต้น และ (3) ส่วนอะไหล่ของรถอีวี (EV Storage) อาทิ แบทเตอรีไฟฟ้าแรงดันสูง เป็นต้น โดยมีระบบส่งต่อข้อมูลความต้องการอะไหล่และชิ้นส่วนจากผู้จำหน่ายทั่วประเทศมายังคลังอะไหล่ของ DHL ผ่านระบบ API Interface ระหว่าง SAP ของ Chery และ MAWM (API ของ DHL) ทำให้ทั้งทางผู้จำหน่าย คลังสินค้า และ Omoda & Jaecoo สามารถติดตามสถานะสินค้าคง คลังได้แบบเรียลไทม์ และสามารถใช้ระบบที่เชื่อมถึงกันสั่งสินค้าเข้ามาเติมในคลังของทั้งผู้จำหน่าย และคลังของ Omoda & Jaecoo เองได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการคาดการณ์ความต้องการ และสั่งสินค้าคงคลังเพื่อให้มีอะไหล่ถูกต้อง และเพียงพอแก่ลูกค้าอยู่เสมอ ทั้งนี้ คลังอะไหล่ของ Omoda & Jaecoo ยังได้รับรองมาตรฐานการจัดการระดับสากลด้วยมาตรฐาน ISO 9002:2015, ISO 14001:2015 และ ISO 45001:2018 อีกด้วย
ROYAL ENFIELD แนะนำโปรแกรมแต่งรถ Make It Yours
Royal Enfield (รอยัล เอนฟีลด์) จัดโปรแกรมการแต่งรถจากโรงงาน Make It Yours สร้างตัวตนที่ใช่ ตามสไตล์ที่ชอบ-พร้อมราคาที่ชัดเจน สามารถสั่งจองการ และติดตั้งที่ตัวแทนจำหน่าย Royal Enfield ทั่วประเทศได้เลย
อนุจ ดัว หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Royal Enfield ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Head of Business, Royal Enfield-APAC) กล่าวว่า การตกแต่งรถจักรยานยนต์ให้เหมาะกับแต่ละบุคคลนั้นแทบจะเหมือนกับวัฒน ธรรมสำหรับนักขี่มอเตอร์ไซค์ และรถจักรยานยนต์ของ Royal Enfield ก็ได้ถูกคัสตอมอย่างสวยงามตลอดหลายปีที่ผ่านมา ชุมชนนักขี่ และผู้ชื่นชอบการขี่ของเราเป็นแรงบันดาลใจให้เรามุ่งมั่นนำเสนอแนวคิด และความคิดริเริ่มใหม่ๆ อยู่เสมอ MIY (Make It Yours) เป็นโครงการที่มีเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงชุมชนนักขี่ที่สร้างสรรค์ของเราซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เรา ด้วยโครงการนี้ ผู้ซื้อจะสามารถปรับแต่งรถจักรยานยนต์ของตนได้ในไม่กี่ขั้นตอนง่ายๆ เราต้องการให้ลูกค้าของเรามีประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ในขณะเดียวกันก็สามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองผ่านรถจักร ยานยนต์ของพวกเขาเอง
โปรแกรม Make It Yours ลูกค้าจะได้รับสิทธิประโยชน์อุปกรณ์ตกแต่งรถจักรยานยนต์ของแท้ที่ติดตั้งมาจากโรงงาน และเชื่อถือได้ซึ่งมาพร้อมกับการรับประกัน 3 ปี ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องยุ่งยากในการซื้อรถจักรยานยนต์แล้วต้องหาซื้ออุปกรณ์เสริมแยกต่างหาก Make It Yours จะเริ่มเปิดตัวในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2024 เพื่อประสบการณ์การคัสตอมที่สะดวก และสนุกกว่าที่เคย
ลูกค้าสามารถตกแต่งรถจักรยานยนต์ของตนได้โดยเลือกอุปกรณ์ป้องกัน เช่น คาร์ดป้องกันเครื่องยนต์ ที่เก็บสัมภาระต่างๆ กระเป๋าสัมภาระ ชั้นวางสัมภาระด้านหลัง เบาะนั่งแบบทัวริงเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และอื่นๆ เพื่อให้รถจักรยานยนต์มีรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นต้น