บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ผสานความร่วมมือกับกระทรวงเกษตร และสหกรณ์พร้อมด้วยกลุ่มเกษตรกร เร่งแก้ไขวิกฤติน้ำท่วม เพิ่มโอกาสในการเพาะปลูกข้าวเสริมความมั่นคงทางเศรษฐ กิจให้เกษตรกร เดินหน้า “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ” โดยการสนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงมูลค่า 1.7 ล้านบาท เร่งบูรณะพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาจากน้ำท่วมขังในฤดูฝน 2 พื้นที่นำร่องในจังหวัดสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ด้วยการบริหารจัดการเร่งระบายน้ำท่วมขังจากในพื้นที่ และนำมาใช้สนับสนุนเกษตรกรให้สามารถเร่งระยะเวลาเพาะปลูกข้าวนาปรังได้เร็วขึ้น พร้อมบูรณาการเตรียมระบบนิเวศการเกษตรให้พร้อมกับการทำนาปรังได้สอดคล้องตามฤดูกาล ลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความมั่นคงด้านการเกษตร และอาหารของประเทศอย่างยั่ง ยืน
อรอุทัย ณ เชียงใหม่ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์ Powering Progress ขับเคลื่อนด้วยพันธกิจของเรา เพื่อจัดหาโซลูชันด้านพลังงานที่สะอาด และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ด้วยเป้าหมายที่จะเป็นตัวเลือกที่หนึ่งในใจของลูกค้าที่มีความต้องการพลังงานคุณภาพสูง จาก World Class เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของ Shell ผ่านการบูรณาการพันธมิตรเครือข่ายระดับโลกของเรา ออกแบบมาด้วยเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ การบรรลุการปล่อยแกสเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การเคารพธรรมชาติ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้น Powering Progress แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะมีบทบาทในการเป็นผู้นำแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการนำความยั่งยืนมาเป็นหัวใจสําคัญของกลยุทธ์ ผนวกกับวิสัยทัศน์ของ Shell คือ การเป็น Energy Solutions ที่ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงคุณภาพสูง พร้อมส่งมอบบริการเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนา การด้านพลังงานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต
Shell พร้อมเป็นพันธมิตรกับทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ด้วยการส่งมอบพลังงานคุณภาพสูงในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยานี้ เป็นการมุ่งแก้ปัญหาการจัดการน้ำท่วมขังอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสในการเพาะปลูกข้าวนาปรังอย่างยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวนาปรังได้เร็วขึ้นจากรอบปกติ พื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยานี้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ และขณะเดียวกันในทุกๆ ปี ก็เป็นพื้นที่เสียสละรับน้ำท่วมจากทางภาคเหนือ ช่วยเป็นด่านป้องกันไม่ให้น้ำท่วมมายังพื้นที่เศรษฐกิจในเขตภาคกลางรวมถึงกรุงเทพฯ
Shell ได้สนับสนุนเชื้อเพลิงคิดเป็นมูลค่า 1.7 ล้านบาท สำหรับใช้กับเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายมวลน้ำหลากจากภาคเหนือกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ด้วยเป้าหมายในการบริหารจัดการน้ำเพียง 10 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 20-30 พฤศจิกายน 2567
และกระจายการใช้ประโยชน์ของน้ำออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งระบายน้ำปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาแทนที่จะปล่อยให้ไหลตามธรรมชาติ และเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ อีกส่วนใช้สำหรับเตรียมพื้นที่การทำนาปรัง ซึ่งการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาในอำเภอทุ่งโพธิ์พระยา จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอทุ่งผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 10,000 ครัวเรือน ได้รับประโยชน์จากการระบายน้ำนี้ไปใช้ในการทำนาปรัง
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ยังได้มีการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว และการจัดเตรียมระบบนิเวศการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถเริ่มทำนาปรังได้เร็วขึ้นถึง 1 เดือนครึ่ง ซึ่งไม่เพียงสร้างรายได้ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยลดความเสียหายที่ไม่อาจประเมินมูลค่าได้ จากภาวะน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงกรุงเทพฯ อีกด้วย