Mahle ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และพาร์ท เนอร์ชั้นนำด้านการวิจัย และพัฒนาจากเมืองชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี เดินหน้าขยายศูนย์วิจัย และพัฒนา (R&D) ในจัง หวัดสมุทรปราการ แผนขยายศูนย์วิจัย และพัฒนาในไทยครั้งนี้ตอกย้ำถึงบทบาทสำ คัญของประเทศไทยในภาคยานยนต์ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ศูนย์วิจัย และพัฒนาแห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี 2565 โดยมีพนักงาน 15 คน ในพื้นที่สำนักงาน 300 ตรม. และพื้นที่ทดสอบ 500 ตรม. Mahle มีแผนเพิ่มพื้นที่ทดสอบเป็น 4,000 ตรม. และเพิ่มพื้นที่สำนักงานเป็น 1,200 ตรม. ภายในปี 2569
พร้อมกันนี้ ยังมีแผนขยายขอบเขตงานสำ หรับพนักงาน 40 คน จากผลิตภัณฑ์เครื่อง ยนต์สันดาปภายใน (ICE) เช่น ระบบกรองและอุปกรณ์เครื่องยนต์ไปสู่โซลูชันที่ครอบ คลุมนอกเหนือจากเครื่องยนต์สันดาปหลังจากปี 2568 การวางแผนกระจายการลงทุนและธุรกิจไปยังภาคส่วนยานยนต์ไฟฟ้านั้นสอดคล้องกับทเรนด์โลกในการทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อม และสะดวกสบายมากขึ้น
Ralf Kiemlen หัวหน้าฝ่ายวิจัย และพัฒนาของศูนย์วิศวกรรมมาห์เลประจำเอเชีย (Mahle Engineering Center Asia) กล่าวว่า การขยายธุรกิจ และการปรับเปลี่ยนจุดโฟคัสครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นของ Mahle ในการเร่งผลักดันกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย ด้วยศักยภาพของบุคลากรที่มีทักษะ และทุ่มเทของไทย
ศูนย์วิศวกรรมเอเชียซึ่งตั้งอยู่ภายในศูนย์วิ จัย และพัฒนาแห่งนี้ปัจจุบันมีพนักงาน 40 คน โดยมีศักยภาพในด้านวิศวกรรมการพัฒ นา ระบบออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) และมีห้องปฏิบัติการทดสอบที่ทันสมัย ให้บริการครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค รวมถึงญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ศูนย์แห่งนี้จะขยายขีดความสามารถให้ครอบคลุมชุดระ บายความร้อนน้ำมัน ชุดระบายความร้อนอลูมิเนียม และชิ้นส่วนพลาสติคสำหรับระบบจัดการความร้อน นอกจากนี้ Mahle ยังมีแผนให้บริการพัฒนาชิ้นส่วนที่ผลิตจาก พลาสติคบางส่วน และชิ้นส่วนอลูมิเนียมแบบหล่อฉีดสำหรับระบบไฟฟ้า และเมคาทรอนิคส์ด้วย การขยายขอบเขตการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นี้สอดคล้องกับความพยายามของ Mahle ในการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับระบบจัดการความร้อนขั้นสูง และโซลูชันไฟฟ้าในอุตสา หกรรมยานยนต์
“เราเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย ในการเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัย และพัฒนาสำหรับแบรนด์ระดับโลกของเรา ประเทศ ไทยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในอุตสาห กรรมยานยนต์ ทั้งยังมีวิศวกรที่มีความเชี่ยว ชาญ และมีทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ ทำให้เหมาะสมอย่างยิ่งกับการเป็นฐานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อจัดส่งไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค”
ยาสุฮิโระ คิโนชิตะ รองประธานกลุ่มธุรกิจระบบกรอง และอุปกรณ์เครื่องยนต์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้เน้นย้ำความสำ คัญเชิงยุทธศาสตร์ของความเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่า การเปิดศูนย์วิศวกรรมเอเชียแห่งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่สอดรับกับกลยุทธ์ Mahle 2030+ ของเรา ซึ่งมุ่งเน้นใน 3 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ ระบบไฟฟ้า การจัดการความร้อน และชิ้นส่วนสำหรับเครื่องยนต์สันดาปที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ความก้าวหน้าครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ และกำหนดทิศทางของการเดินทางขนส่งในอนาคต
ดร. พรเทพ พรประภา ประธานกลุ่มบริษัทสยามกลการ กล่าวย้ำถึงผลพวงที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในวงกว้างว่า นี่เป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพราะเรากำลังก้าวไปไกลกว่าการเป็นแค่ฐานการผลิต วันนี้ เราเปิดโอกาสให้วิศว กรไทยได้มีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งในกระบวน การออกแบบ ศูนย์วิศวกรรมแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นโชว์รูมที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าของเราในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะแสดงให้เห็นกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การวิจัย และพัฒนา ไปจนถึงการผลิต
นอกจากศูนย์วิศวกรรมเอเชียแล้ว Mahle ยังมีฐานการผลิตในประเทศไทยอีก 4 แห่ง มีพนักงานรวมประมาณ 1,500 คน โรงงานเหล่านี้ผลิตสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งระ บบเครื่องยนต์ และส่วนประกอบ ระบบกรองและอุปกรณ์เครื่องยนต์ ระบบจัดการความร้อน อีเลคทรอนิคส์ และเมคาทรอนิคส์