บทความ
เกือบไม่ได้ไปต่อ ! สหภาพยุโรปยกเลิกแผนแบน Carbon Fiber

การแก้ไขที่ร่างโดยรัฐสภายุโรปมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคาร์บอนไฟเบอร์ลงในรายชื่อวัสดุอันตรายของสหภาพยุโรป ได้ข้อสรุปแล้วว่าอาจจะต้องยุติลงเพราะสร้างผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างเฉียบพลันHighlight
ผู้ผลิตรถยนต์ใช้คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวิธีในการรักษารถให้เบาแต่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตสปอร์ทคาร์ และรถยนต์ไฟฟ้าชื่นชอบวัสดุน้ำหนักเบาชนิดนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีความทนทาน และน้ำหนักเบา แต่หากสหภาพยุโรปมีความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คาร์บอนไฟเบอร์อาจถูกมองว่าเป็น "วัสดุอันตราย" ตามกฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายสิบรายตกอยู่ในความเสี่ยง
คาร์บอนไฟเบอร์ขึ้นชื่อ น้ำหนักเบา แข็งแรง และทนทางสูง จึงทำให้ค่ายรถสปอร์ทหลายๆ รุ่นนิยมใช้งานมากที่สุด แต่การผลิตของมันมีต้นทุนที่สูง และการใช้พลังงานต้องใช้การผลิตมากกว่าเหล็กทั่วไปถึง 14 เท่า การรีไซเคิลวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์จะต้องใช้วิธีหลอมละลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนในอุณหภูมิ 700 องศา ซึ่งมีผลในการปล่อยสารตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และโครเมียมเฮกซะวาเลนต์ ซึ่งเป็นวัสดุที่ยังคงใช้เพียงเล็กน้อยในการผลิตยานยนต์ และเครื่องบินซึ่งนอกจากจะย่อยสลายยากยังมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
การแก้ไขนี้ถูกเพิ่มภายใต้การแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับยานพาหนะสิ้นอายุการใช้งานของสหภาพยุโรป หรือ EU ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงในการรีไซเคิลรถยนต์ที่ถูกทิ้ง สหภาพยุโรปเชื่อว่าเส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์อาจปลิวไปกับอากาศ และเป็นอันตรายได้หากสัมผัสกับผิวหนังของมนุษย์ เป็นครั้งแรกในโลกที่หน่วยงานของรัฐบาลถือว่าคาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุอันตราย
ระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุ (End of life Vehicles : ELV) หากรัฐสภาลงมติเห็นชอบการแก้ไขอย่างเป็นทางการ การแก้ไขดังกล่าวเดิมทีจะมีผลบังคับใช้ในยุโรปตั้งแต่ปี 2029 เพื่อให้บริษัทต่างๆ จะต้องค่อยๆ ลดการใช้คาร์บอนไฟเบอร์ในการผลิตลง การผลิตยานยนต์เพียงอย่างเดียวคิดเป็น 20 % ของการใช้คาร์บอนไฟเบอร์ทั่วโลก
จากข้อมูลของ Nikkei Asia พบว่า หุ้นของผู้ผลิตคาร์บอนไฟเบอร์ในญี่ปุ่นร่วงลงอย่างรวดเร็วหลังจากการประกาศว่าจะทำการแบนชิ้นส่วน Carbonfiber ของสหภาพยุโรป ที่เห็นชัดอย่างประเทศทางเอเชีย ที่เรียกได้ว่า เจ้าแห่งวงการประดับยนต์ที่มีชื่อเสียง มีหลากหลายแบรนด์ในเอเชีย กำลังได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการห้ามใช้คาร์บอนไฟเบอร์ โดย Teijin, Toray Industries และ Mitsubishi Chemical คิดเป็น 54 % ของตลาดการผลิตคาร์บอนไฟเบอร์ทั่วโลก ยุโรปคิดเป็นส่วนใหญ่ของผู้ผลิตคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งหมด
และแน่นอนว่าผู้ผลิตรถยนต์สปอร์ท และซูเพอร์คาร์ ระดับโลกอย่าง Lamborghini (ลัมโบร์กีนี), Ferrari (แฟร์รารี), McLaren (แมคลาเรน) หรือรถยนต์ไฮเพอร์คาร์อย่าง Pagani (ปากานี) และ Bugatti (บูกัตตี) ก็อาจได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการห้ามดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย รวมไปถึงผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าบางรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่าง BMW (บีเอมดับเบิลยู) เลือกใช้ชิ้นส่วนทำโครงสร้างรถยนต์เพื่อความแข็งแรง หรือแม้แต่ Koenigsegg ต่างก็ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ในการผลิตเกือบทั้งหมด
แน่นอนว่าสำหรับเจ้าวัสดุตัวปัญหานี้ ยังจำเป็นในโลกยานยนต์โดยเฉพาะในรถสปอร์ท และรถแข่ง น้ำหนักที่เบา คือ หัวใจสำคัญของสมรรถนะ รถที่เบากว่าเท่ากับ วิ่งได้ไกลกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า และปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า ทางเลือกอื่นอย่างวัสดุขึ้นรูปแบบ Forged Carbonfiber ซึ่งเป็นวิธีการลดของเสียได้ และให้น้ำหนักที่เบา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านความแข็งแรง
ปฎิเสธไม่ได้ว่าคาร์บอนไฟเบอร์นับเป็นวัสดุอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.83 แสนล้านบาท) ซึ่งหมายถึงการแก้ไขกฏหมาย ELV ดังกล่าวจะเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนักจากภาคการบิน และยานยนต์ก่อนที่จะกลายเป็นกฎหมายใช้งานจริง ต้องรอดูท่าทีกันต่อไปภายในไม่กี่ปีจากนี้ว่าจะยังคงเดินหน้าค้านต่อหรือไม่