ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
สอท. เผยยอดผลิต เมย. ลดลงร้อยละ 0.40
เดือนเมษายน 2568 ผลิตรถยนต์ 104,250 คัน ลดลงร้อยละ 0.40 ผลิตต่ำสุดในรอบ 44 เดือน ขาย 47,193 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 ส่งออก 65,730 คัน ลดลงร้อยละ 6.31 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 4,764 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 639.75 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 10,981 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 181.56 ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า 660 คันเป็นเดือนแรก
ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ร่วมเปิดเผย จำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนเมษายน 2568 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนเมษายน 2568 มีทั้งสิ้น 104,250 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2568 ร้อยละ 19.75 และลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 0.40 ผลิตลดลงไม่มาก เพราะมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถ SUV ไฟฟ้าทั้ง BEV PHEV และ HEV ในประเทศมากขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 639.75 319.11 35.31 ตามลำดับ แต่ผลิตรถยนต์นั่งสันดาปภายในลดลงร้อยละ 33.60 เพราะผลิตรถยนต์นั่งส่งออกลดลงถึงร้อยละ 36.93 เนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นรถยนต์บางรุ่น รถกระบะยังคงผลิตลดลงร้อยละ 3.06 เพราะผลิตขายในประเทศลดลงร้อยละ 33.16 ตามยอดขายรถกระบะในประเทศที่ยังคงลดลงร้อยละ 22.25
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-เมษายน 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 456,749 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 11.96
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ 40,025 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 4.80 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 15,649 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 33.60
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 4,764 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 639.75
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 1,031 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 319.11
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 18,581 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 35.31
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 มีจำนวน 159,890 คันเท่ากับร้อยละ 35.01 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 17.26 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 68,916 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 41.34
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 14,083 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 327.92
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 7,783 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 333.84
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 69,108 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 2.20
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนเมษายน 2568 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ไม่มีการผลิต
รถยนต์บรรทุก เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ทั้งหมด 64,225 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 3.39 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 296,859 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 8.81
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ทั้งหมด 63,740 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 3.06 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 293,778 คัน เท่ากับร้อยละ 64.32 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 7.03 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 50,126 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 10.44
• รถกระบะ Double Cab 185,141 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 10.19
• รถกระบะ PPV 58,511 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 8.58
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ 485 คันลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 33.10 รวมเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตได้ 3,081 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 67.70
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ 67,085 คัน เท่ากับร้อยละ 64.35 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 6.73 ส่วนเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 303,881 คัน เท่ากับร้อยละ 66.53 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 12.07
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2568 ผลิตเพื่อการส่งออก 13,114 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 36.93 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 54,601 คัน เท่ากับร้อยละ 34.15 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 46.78
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2568 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 53,971 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 5.54 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 249,280 คัน เท่ากับร้อยละ 84.85 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 2.58 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 31,093 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 47.23
• รถกระบะ Double Cab 169,846 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 4.39
• รถกระบะ PPV 48,341 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 9.26
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ 37,165 คัน เท่ากับร้อยละ 35.65 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 13.52 และเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตได้ 152,868 คัน เท่ากับร้อยละ 33.47 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 11.72
รถยนต์นั่ง เดือนเมษายน 2568 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 26,911 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 54.68 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2567 ผลิตได้105,289 คัน เท่ากับร้อยละ 65.85 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-เมษายน 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.16
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนเมษายน 2568 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9,769 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 33.16 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 44,498 คัน เท่ากับร้อยละ 15.15 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 39.04 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 19,033 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 45.39
• รถกระบะ Double Cab 15,295 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 46.32
• รถกระบะ PPV 10,170 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 5.47
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนเมษายน 2568 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ไม่มีการผลิต
รถบรรทุก เดือนเมษายน 2568 ผลิตได้ 485 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 33.10 และตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 3,081 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 67.70
รถจักรยานยนต์
เดือนเมษายน 2568 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 189,547 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 17.07 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 157,091 คันเพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 15.18 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 32,456 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 27.15
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-เมษายน 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 854,032 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 3.94 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 688,549 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 2.80 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 165,483 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 8.93
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเมษายน 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 47,193 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2568 ร้อยละ 15.42 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 0.97 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขายรถยนต์นั่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในขณะที่รถกระบะและรถ PPV ยังคงขายลดลงร้อยละ 21.7 และ 20.5 ตามลำดับจการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถกระบะจากหนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอเพราะดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงลดลงจากอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงลดลงร้อยละ 3.83 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปีนี้ลดลง และจากค่าครองชีพที่ยังสูง ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 31,115 คัน เท่ากับร้อยละ 65.93 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 14.91
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 11,227 คัน เท่ากับร้อยละ 23.79 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 11.99
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 10,901 คัน เท่ากับร้อยละ 23.10 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 179.51
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,083 คันเท่ากับร้อยละ 2.29 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 720.45
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 7,904 คัน เท่ากับร้อยละ 16.75 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.18
รถกระบะมีจำนวน 10,937 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 22.25 รถกระบะไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 80 ในปีที่แล้วไม่มียอดจำหน่าย รถ PPV มีจำนวน 2,879 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 20.51 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,086 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 16.77 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,096 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 5.28
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 131,950 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ร้อยละ 12.81 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 3.86
ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2568 รถยนต์มียอดขาย 200,386 คัน ลดลงจากปี 2567 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.80 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 127,188 คันเท่ากับร้อยละ 63.47 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.38
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 48,784 คัน เท่ากับร้อยละ 24.35 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 13.89
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 33,633 คัน เท่ากับร้อยละ 16.78 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 46.03
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 3,543 คันเท่ากับร้อยละ 1.77 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 409.78
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 41,228 คัน เท่ากับร้อยละ 20.57 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.01
รถกระบะมีจำนวน 51,319 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 15.42 รถกระบะไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 173 คัน ปีที่แล้วไม่มียอดจำหน่าย รถ PPV มีจำนวน12,266 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 8.71 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 4,675 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 15.42 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 4,765 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 14.93
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 587,194 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 2.18
การส่งออก เริ่มส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเดือนแรก
รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนเมษายน 2568 ส่งออกได้ 65,730 คัน ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 18.77 และลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 6.31 เพราะมีการเปลี่ยนรุ่นรถยนต์นั่งบางรุ่น และการเข้มงวดในเรื่องเทคโนโลยีช่วยเหลือเรื่องความปลอดภัย และการปล่อยคาร์บอนในบางประเทศคู่ค้า รถยนต์ HEV จึงส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.96 แต่จำนวนไม่มาก จึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลียตะวันออกกลาง ยุโรปอเมริกาเหนือ คงต้องติดตามผลการเจรจาของประเทศไทย และประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาต่อไป
ประเภทรถยนต์ส่งออกเดือนเมษายน 2568 แบ่งเป็น ดังนี้
• รถกระบะ 44,100 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 67.09 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 5.92
• รถยนต์นั่ง ICE 8,123 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 12.36 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 49.64
• รถยนต์นั่ง BEV 660 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 1.43 ของการส่งออกทั้งหมด ในปี 2567 ไม่มีการส่งออก
• รถยนต์นั่ง HEV 4,701 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 7.15 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 87.96
• รถ PPV 8,146 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 12.39 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 17.68
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 46,031.33 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 4.39
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,286.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 17.12
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 8,537.62 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 47.67
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,038.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 1.57
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนเมษายน 2568 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่มีมูลค่า 59,893.19 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 13.54
เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 290,288 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 14.79 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 187,875 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 64.72 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 4.53
• รถยนต์นั่ง ICE 40,961 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 14.11 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 47.24
• รถยนต์นั่ง BEV 660 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 0.33 ของการส่งออกทั้งหมด ในปี 2567 ไม่มีการส่งออก
• รถยนต์นั่ง HEV 17,040 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 5.87 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 12.25
• รถ PPV 43,752 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 15.07 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 6.61
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 202,219.06 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 14.78 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 12,081.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 24.95
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 50,102.01 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 19.95
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 8,785.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 5.50
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-เมษายน 2568 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 273,187.64 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 14.06
รถจักรยานยนต์
เดือนเมษายน 2568 มีจำนวนส่งออก 61,223 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนมีนาคม 2568 ร้อยละ 33.42 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 16.02 โดยมีมูลค่า 4,335.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 1.50
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 188.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 1.70
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 158.46 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 8.07
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนเมษายน 2568 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,682.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 1.15
เดือนมกราคม-เมษายน 2568 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 303,319 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 1.04 มีมูลค่า 21,861.03 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 8.82
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 694.73 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 17.35
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 844.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 26.01
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-เมษายน 2568 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 23,400.23 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 8.19
เดือนเมษายน 2568 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 64,575.43 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 12.62
เดือนมกราคม-เมษายน 2568 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 296,587.87 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 13.62
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนเมษายน 2568
เดือนเมษายน 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,029 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 32.91 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 6,264 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 53.12
o รถยนต์นั่ง จำนวน 6,093 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 168 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 1 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 2 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 26 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 550
• รถยนต์สามล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 3 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 86.36
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 1,704 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 8.04
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,704 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 3 คัน ลดลงจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 95.08
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 29 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 190
เดือนมกราคม-เมษายน 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 40,020 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายนปีที่แล้วร้อยละ 11.93 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 31,661 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 20.49
o รถยนต์นั่ง จำนวน 31,089 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 431 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 10 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 131 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 108 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 28.95
• รถยนต์สามล้อ มีทั้งสิ้น 8 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 72.41
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล จำนวน 6 คัน
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 2 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 8,105 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 10.53
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 8,104 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 1 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 50 คัน ลดลงเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 53.27
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 88 คัน ลดลงเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 32.82
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนเมษายน 2568
เดือนเมษายน 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 10,476 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 0.60 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 10,376 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 0.05
o รถยนต์นั่ง จำนวน 10,347 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 5 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 14 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 9 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 1 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 100 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 132.56
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 100 คัน
เดือนมกราคม-เมษายน 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 48,641 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายนปีที่แล้วร้อยละ 0.23 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 48,308 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 0.18
o รถยนต์นั่ง จำนวน 48,168 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 14 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 76 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 49 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 1 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 333 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 154.20
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 333 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนเมษายน 2568
เดือนเมษายน 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่ มีจำนวน 3,288 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 414.55 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 3,288 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 414.55
o รถยนต์นั่ง จำนวน 3,288 คัน
เดือนมกราคม-เมษายน 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 7,420 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายนปีที่แล้วร้อยละ 121.56 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 7,420 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ร้อยละ 121.56
o รถยนต์นั่ง จำนวน 7,397 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 20 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 3 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 30 เมษายน 2568
ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 266,863 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 59.48 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 190,791 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 64.62
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 186,771 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 63.47
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,935 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 133.86
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 214 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 245.16
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 174 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 87.10
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค มีจำนวน 694 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 189.17
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 978 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 125.35
• รถยนต์สามล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,029 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 11.73
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 120 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 36.36
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ มีจำนวน 909 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 9.12
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 70,246 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 49.09
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 70,136 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 49.27
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 110 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 15.38
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,836 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 12.23
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 983 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 125.98
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 30 เมษายน 2568
ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 517,573 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 32.13 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 508,001 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 32.79
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 506,708 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 32.76
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 506 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 4.33
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 149 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 129.23
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 265 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 44.81
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 6 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 20
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค มีจำนวน 367 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 135.26
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,569 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 4.60
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,569 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 4.60
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 30 เมษายน 2568
ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 70,534 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 23.16 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 70,534 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 23.16
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 70,439 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 23.15
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1 คัน ในปี 2567 ยังไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 62 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 51.22
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 21 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 8.70
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค มีจำนวน 6 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 20
.........................................................................................................................
เตรียมพบกับ งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 47
สมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ จัด “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 47” ภายใต้แนวคิด “ความหวังยุคหลังสงคราม-The Post-War Hope” ชมรถโบราณทรงคุณค่า หายากกว่า 100 คัน พร้อมกิจกรรมดึงคนรุ่นใหม่ ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ ระหว่างวันที่ 18-22 มิถุนายน 2568
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ นายกสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า งานประกวดรถโบราณ เป็นงานระดับประเทศที่จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 47 โดยแนวคิดของงานปีนี้ คือ “ความหวังยุคหลังสงคราม-The Post-War Hope” ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ ช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุด ผู้คนต่างตั้งความหวังถึงอนาคตที่สดใส จากบรรดาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในห้วงเวลานั้น ทั้งประชากรเจเนอเรชันใหม่ สถาปัตยกรรมเมืองใหม่ แฟชันสไตล์ใหม่ ภาพยนตร์ ดนตรีแนวใหม่ รวมถึงรถยนต์รุ่นใหม่ ที่สะท้อนความหวังยุคหลังสงคราม ผ่านความหรูหรา สะดวกสบาย และเทคโนโลยีระดับสูง
กัลยา กมลรัตน์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค กล่าวว่า ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ ไม่ได้เป็นเพียงชอพพิงเดสติเนชันเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์การค้าที่ตอบโจทย์ทุกเจเนอเรชัน โดยงานประกวดรถโบราณนี้ ถือเป็นอีกไฮไลท์สำคัญที่สะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของเจเนอเรชัน โดยจะมีการจัดแสดงรถโบราณ และรถคลาสสิคกว่า 100 คัน บนพื้นที่กว่า 4,000 ตรม.
งานนี้นอกจากจะถ่ายทอดเสน่ห์ของยานยนต์ระดับตำนาน เพื่อดึงดูดความสนใจคนรุ่นใหม่ให้มาชมงาน แล้วยังมอบประสบการณ์พิเศษด้วยกิจกรรมสนุกสุดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ทุกเพศทุกวัย อาทิ Game Jigsaw Challenge, Rally Scan, เวิร์คชอพทำพวงกุญแจรถคลาสสิค และอื่นๆ อีกมากมาย
การประกวดรถโบราณแบ่งเป็น 7 ประเภท ตามมาตรฐานของสมาพันธ์รถโบราณสากล (FIVA) ได้แก่ รถรุ่นบรรพบุรุษ (ก่อนปี 1904) รถรุ่นผ่านศึก (ปี 1905-1918) รถโบราณ (ปี 1919-1930) รถรุ่นก่อนสงคราม (ปี 1931-1945) รถรุ่นหลังสงคราม (ปี 1946-1960) รถคลาสสิค (ปี 1961-1970) และรถคลาสสิคร่วมสมัย (ปี 1971-ปัจจุบัน-30 ปี)
นอกจากนั้น ยังมีการประกวดอีกหลายประเภท อาทิ รถจำลอง รถดัดแปลง รถประดิษฐ์พิเศษ รถ Jaguar รถ MINI รถ Volkswagen รถอเมริกัน และรถ Fiat พร้อมรถที่นำมาแสดงเป็นพิเศษ อีกทั้งมีกิจกรรมน่าสนใจมากมาย เช่น การประกวด ราชินีแห่งความสง่างาม (Concours D‘Elegance-กงกูรส์ เดเลอกองศ์) เสวนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรถโบราณ คอนเสิร์ทเพลงฮิทในอดีต จำหน่ายสินค้าวินเทจ หนังสือ นิตยสาร แสตมพ์รถโบราณ รถโบราณจำลอง ฯลฯ
ผู้สนใจสามารถส่งรถเข้าประกวดได้ที่ imc.co.th/vintagecarclub/vcct ภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2568 หรือสอบถามรายละเอียดที่ vintagecarclub.or.th และ facebook.com/VintageCarClub และเชิญชมงานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 47 ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ ระหว่างวันที่ 18-22 มิถุนายน 2568
.........................................................................................................................
Bentley แนะนำเฉดสีไฮไลท์ใหม่ ที่ตกแต่งได้ด้วยตัวเอง
Bentley Bangkok โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้า และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ Bentley (เบนท์ลีย์) อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย มอบโอกาสให้แก่ลูกค้ารถยนต์ Bentley ในการรังสรรค์ยนตรกรรมในฝันด้วยตัวเลือกการตกแต่งที่มีให้เลือกสรรอย่างไร้ขีดจำกัด โดยลูกค้ารถยนต์ Bentley สามารถเลือกปรับแต่งภายนอกตัวถังในรุ่น Continental GT (คอนทิเนนทัล จีที) และ Continental GTC (คอนทิเนนทัล จีทีซี) โฉมใหม่ เจเนอเรชันที่ 4 ได้หลากหลายยิ่งขึ้นด้วยออพชันพิเศษจากแผนกออกแบบพิเศษของ Bentley อย่าง Bentley Mulliner (เบนท์ลีย์ มัลลิเนอร์) ที่ได้เพิ่มตัวเลือกเฉดสีไฮไลท์ภายนอก ทำให้ลูกค้ารถยนต์ Bentley สามารถรังสรรค์ยนตรกรรมในฝันให้สะท้อนตัวตนผ่านรายละเอียดในส่วนต่างๆ ที่จะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างพิถีพิถันโดยช่างฝีมือจาก Bentley Mulliner เอกสิทธิ์เฉพาะเมื่อเลือกครอบครองรถยนต์ Bentley กับผู้นำเข้า และตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้น
ตัวเลือกเฉดสีไฮไลท์ได้รวมถึงลายเส้นบนชุดแต่งรอบตัวถัง กระจกมองข้าง และล้ออัลลอยในเฉดสีเดียว หรือ 2 เฉดสีที่คอนทราสต์กัน พร้อมด้วยรายละเอียดของลายเส้น นอกจากนี้ ลูกค้ารถยนต์ Bentley ยังสามารถระบุพื้นผิวของล้ออัลลอยด้วยตัวเลือกของเฉดสีทึบ หรือเฉดสีเมทัลลิค รวมถึงเฉดสีซาติน และเฉดสีมุกได้อีกด้วย
ตัวเลือกสีไฮไลท์ภายนอกสามารถเสริม หรือคอนทราสต์กับเฉดสีของตัวถังภายนอก นอกจากนี้ สีไฮไลท์ยังสามารถสะท้อนถึงการตกแต่งภายในห้องโดยสารด้วยการผสมผสานเฉดสีภายใน และภายนอกเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น เฉดสีโครเมียมโทนเข้มภายในแบบใหม่ในรุ่น Continental GT สามารถจับคู่กับเฉดสีไฮไลท์ภายนอกที่เข้ากันในโทนสีเทาเข้มได้ แนวทางการรังสรรค์ในแบบเฉพาะตัวจาก Bentley Mulliner จึงเป็นเสมือนประตูสู่โลกแห่งความเป็นไปได้ ช่วยให้ลูกค้ารถยนต์ Bentley แต่ละรายสามารถรังสรรค์ยนตรกรรมในฝันที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลได้อย่างดีที่สุด
การตกแต่งที่เน้นสไตล์ และสมรรถนะ
เส้นสายที่เพรียวบาง และแข็งแกร่งของรุ่น Continental GT และ Continental GTC ใหม่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่สีสันที่เป็นเอกลักษณ์ และโดดเด่นได้เป็นอย่างดี Bentley Mulliner จึงได้นำเสนอแถบสีไฮไลท์แบบคอนทราสต์มาตกแต่งในชุดแต่งรอบคันด้วยพื้นผิวแบบเงา หรือซาติน แถบสีที่ออกแบบได้อย่างสมบูรณ์แบบนี้ทอดยาวไปตามแนวชุดแต่งสปอยเลอร์หน้า ที่เหยียบบริเวณกาบประตู และดิฟฟิวเซอร์หลัง นอกจากนี้ยังมีแถบสีไฮไลท์แบบคอนทราสต์ตกแต่งบริเวณฝาครอบกระจกมองข้าง และขอบล้ออัลลอยอีกด้วย
Bentley Mulliner ยังได้นำเสนออีกตัวเลือกที่แตกต่างด้วยหลังคาเฉดสีดำ Beluga ในรุ่น Continental GT โฉมใหม่ สะท้อนรูปลักษณ์ที่โดดเด่น และสมรรถนะที่เหนือชั้น และเป็นการชวนให้นึกถึงรุ่น Continental GT Pikes Peak Edition (คอนทิเนนทัล จีที ไพค์ พีค เอดิชัน) ที่เป็นการเฉลิมฉลองการสร้างสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยเวลาเพียง 10 นาที 18.4 วินาที
รายละเอียดอันประณีตสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ลายเส้นไฮไลท์ในเฉดสีคอนทราสต์ได้นำมาตกแต่งเข้ากับชุดแต่งรอบคันในรุ่น Flying Spur (ฟลายอิง สเปอร์) นอกจากนี้ Bentley Mulliner ยังมอบตัวเลือกชุดแต่งคาร์บอนไฟเบอร์ โดยสามารถเลือกใช้ลวดลายคาร์บอนไฟเบอร์ที่เคลือบแลกเกอร์ หรือจะระบุเฉดสีตามความต้องการของผู้ครอบครอง นอกจากนี้ ชุดแต่งยังตกแต่งด้วยลายเส้นในเฉดสีคอนทราสต์ พร้อมกับขอบล้ออัลลอย และฝาครอบกระจกมองข้างที่ได้รับการตกแต่งด้วยลายเส้นสีที่เข้ากันเพื่อเสริมลุคให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ความสดใส และโดดเด่นในแบบยนตรกรรมอเนกประสงค์
ตัวเลือกเฉดสีไฮไลท์แบบคอนทราสต์ในรุ่น Bentayga มาในรูปแบบลายเส้นบนฝาครอบกระจกมองข้าง และขอบล้ออัลลอย พร้อมกับคาลิเพอร์เบรคในเฉดสีฟ้า Klein Blue สีเหลือง Signal Yellow และสีเงิน Ice Silver นอกจากนี้ ชุดแต่งคาร์บอนไฟเบอร์ของ Bentayga (เบนเทย์กา) ยังสามารถเลือกลายเส้นแบบคอนทราสต์ได้
ล้ออัลลอยกับพื้นผิวที่โดดเด่น
การตกแต่งล้ออัลลอยช่วยสร้างความโดดเด่นให้แก่รูปลักษณ์ของยนตรกรรมอย่างการใช้สีเดียวที่เข้ากับสีตัวถังก็จะช่วยให้ตัวรถดูเป็นหนึ่งเดียว และร่วมสมัย ในทางตรงกันข้าม การใช้สีแบบดูโอโทนเมทัลลิคที่ซี่ล้อ และช่องล้อที่ใช้สีแบบคอนทราสต์ก็จะช่วยดึงดูดสายตาไปที่การออกแบบที่ลึกซึ้ง และให้รายละเอียดที่หรูหรายิ่งขึ้น ซึ่งรายเอียดที่ประณีตสามารถทำได้โดยการใช้ลายเส้นรอบขอบล้ออัลลอยที่ลูกค้าสามารถเลือกล้ออัลลอยที่เป็นเฉดสีทึบ เมทัลลิค ดูโอโทน ซาติน หรือมุกด้วยการใช้ชุดสีเดิม หรือจะสั่งทำเฉดสีพิเศษเฉพาะของตนเองก็ได้เช่นกัน
การรังสรรค์เฉพาะบุคคล
เฉดสีไฮไลท์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานสั่งทำพิเศษของ Bentley Mulliner นักออกแบบแฟชัน Supriya Lele ได้เคยร่วมมือกับนักออกแบบของ Bentley Mulliner เพื่อรังสรรค์ Bentayga S รุ่นพิเศษ เธอได้คิดค้นเฉดสีพิเศษอย่างเฉดสีฟ้า Nīla Blue ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศอินเดีย เฉดสีพิเศษนี้แม้จะดูเรียบง่ายแต่มีความโดดเด่น สะท้อนให้เห็นถึงความสง่างามที่จะคงอยู่ยาวนานซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผลงานเธอ เฉดสีเดียวกันนี้ถูกใช้เป็นสีไฮไลท์บนขอบล้ออัลลอย พร้อมกับสีไฮไลท์อย่าง Mulliner White ที่ใช้ตกแต่งบนชุดแต่งรอบคัน สะท้อนลายเส้นสายสีขาวอันเรียบง่ายที่ใช้ตกแต่งภายในห้องโดยสาร
อีกผลงานพิเศษจากความร่วมมือของ Bentley Naples คือ Continental GT Convertible (คอนทิเนนทัล จีที คอนเวอร์ทิเบิล) รุ่นพิเศษที่รังสรรค์ขึ้นโดย Bentley Mulliner คันแรก ตัวรถมาพร้อมกับจุดเด่นของงานออกแบบภายนอกอัน ได้แก่ เฉดสีม่วง Damson อันหรูหรา และสีเทา Moonbeam ที่เข้ากันกับหนังเฉดสีขาว และสีม่วง Damson พร้อมด้วยขอบเบาะโดยสารในเฉดสีเงิน ผลงานพิเศษชิ้นนี้ได้ถูกนำไปประมูลที่งาน Naples Winter Wine Festival และสามารถระดมทุนได้กว่า 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาส
แนวโน้มที่กำลังเติบโต
รถยนต์ Bentley 1 ใน 4 จากโรงงานได้รับการรังสรรค์ขึ้นด้วยตัวเลือกพิเศษจาก Bentley Mulliner จากความต้องการด้านการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และความโดดเด่นของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง David Parker, Chief Commercial Officer, Bentley Mulliner กล่าวว่า “ทีมนักออกแบบ วิศวกร และช่างฝีมือของเรามุ่งมั่นที่จะให้แน่ใจว่ารสนิยม และบุคลิกของลูกค้าแต่ละรายสามารถสื่อสารออกมาได้ผ่านสี หนัง วัสดุ หรือคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ ข้อจำกัดเดียว คือ จินตนาการ”
.........................................................................................................................
BMW Motorrad แนะนำ S 1000 RR ใหม่
BMW Motorrad ประเทศไทย แนะนำ BMW S 1000 RR (บีเอมดับเบิลยู เอส 1000 อาร์อาร์) ใหม่ มาพร้อมการปรับแต่งมากมายเพื่อยกระดับความแม่นยำ และสมรรถนะสู่ขีดสุด นับตั้งแต่ดีไซจ์นตัวรถที่ปราดเปรียว เสริมประสิทธิภาพด้านแอโรไดนามิค คันเร่งที่ปรับจูนให้ตอบสนองเร็วขึ้น และโหมดการขับขี่เพิ่มเติม
ชิวาภาดา เรย์ ผู้อำนวยการ BMW Motorrad เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้นำเข้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า S 1000 RR เป็นตัวแทนความหลงใหลของ BMW Motorrad (บีเอมดับเบิลยู มอเตอร์ราด) ทั้งสมรรถนะ และความตื่นตาตื่นใจขณะขับขี่ ซูเพอร์ไบค์รุ่นล่าสุดนี้สืบทอดตำนานแห่งความเหนือชั้นที่ส่งตรงจากสนามแข่ง ด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียด เค้นพละกำลังทุกหยดของตัวรถออกมาให้สัมผัสกัน เรามีความภูมิใจที่ได้นำซูเพอร์ไบค์คันนี้มาให้ลูกค้าในไทยได้สัมผัสกัน และผมเองก็ตั้งตารอดูนักบิดไทยพา S 1000 RR ใหม่ โลดแล่นทะลุขีดจำกัดกันอย่างเร้าใจเช่นกัน
BMW S 1000 RR ใหม่ มาพร้อมกับการปรับแต่ง และเปลี่ยนแปลงรอบคัน เริ่มจากด้านหน้ากับแผงข้างตัวรถที่แต่งด้วยครีบทรงเหงือกฉลาม ทำงานผสานกับวิงเลทเพื่อสร้างแรงกดลงที่ล้อหน้ามากขึ้นกว่าเดิมถึง 37 % จึงช่วยให้ล้อหน้ายึดเกาะถนนอย่างยอดเยี่ยม กระจกบังลมด้านหน้ามาในทรงสูง ใช้หลักอากาศพลศาสตร์เบี่ยงกระแสลมออกจากบริเวณศีรษะของผู้ขับขี่ ลดการสั่นสะเทือนของหมวกกันนอคไปพร้อมกัน ฝาครอบล้อหน้าดีไซจ์นใหม่ มีช่องระบายอากาศติดตั้งมาในตัวเพื่อช่วยระบายความร้อนของระบบเบรค คันเร่งทดรอบสไตล์ M ปรับมุมหมุนให้ลดลงมาอยู่ที่ 58 องศา จึงเร่งความเร็วได้ง่ายขึ้น ตอบสนองทันใจกว่าเดิม ขณะที่แบทเตอรีแบบ M Lightweight ถูกปรับแต่งให้มีน้ำหนักเบาลงราว 2 กก.
โหมดการขับขี่แบบ Pro ได้รับการติดตั้งมาเป็นฟังค์ชันมาตรฐานใน RR รุ่นใหม่นี้ โดยผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้งานโหมดใหม่อย่าง Race Pro ที่ปรับคันเร่งให้ตอบสนองรวดเร็วขึ้นไปอีก ปรับจูนทั้งแรงบิดจากเครื่องยนต์ การชะลอความเร็วโดยไม่ใช้เบรก ระบบช่วยออกตัวทางชัน (Hill Start Control Pro) และระบบเบรค ABS ที่ตั้งค่าการทำงานต่างหากได้ถึง 5 ระดับ ส่วนระบบ Dynamic Brake Control (DBC) และ Dynamic Damping Control (DDC) ปรับจูนการทำงานของเบรค และช่วงล่างให้ตัวรถเสถียร ควบคุมได้แม่นยำแม้เมื่อขับขี่บนพื้นถนนที่ขรุขระ อุปกรณ์ใหม่อย่างเซนเซอร์ตรวจจับมุมเอียงของตัวรถ เป็นพื้นฐานของ 2 ระบบใหม่อย่าง Brake Slide Assist และ Slide/Slip Control ที่ป้องกันไม่ให้ตัวรถลื่นไถลขณะชะลอ และเร่งความเร็วตามลำดับ นอกจากนี้ ระบบตรวจแรงดันยางแบบเรียลไทม์ ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยตลอดการขับขี่อีกด้วย
ในด้านความสะดวกสบาย S 1000 RR ใหม่ ยังมีระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ (Cruise Control) และแฮนด์รถพร้อมระบบทำความร้อนอัตโนมัติติดตั้งมาสำหรับผู้ขับขี่ ขณะที่ด้านท้าย ติดตั้งชุดอุปกรณ์ Passenger Package ที่เสริมมาให้ทั้งเบาะหลัง ที่พักเท้าผู้โดยสาร และฝาครอบเบาะหลัง
BMW S 1000 RR ใหม่ ยังคงใช้เครื่องยนต์ 999 ซีซี 4 สูบเรียงแบบ 4 จังหวะ พร้อมระบบระบายความร้อนด้วยน้ำมัน และน้ำ โดยเครื่องยนต์รุ่นนี้ผ่านการรับรองมาตรฐานด้านมลภาวะ Euro 5+ อย่างเป็นทางการ ให้พละกำลังสูงสุดที่ 154 กิโลวัตต์/210 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 113 นิวทันเมตรที่ 10,000 รตน. จึงมอบความแรงได้ถึงขีดสุด ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 303 กม./ชม.
BMW S 1000 RR ใหม่ รุ่นมาตรฐาน สีเทา Bluestone Metallic จำหน่ายในราคา 1,029,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับลูกค้าที่ต้องการยกระดับความสปอร์ทไปอีกขั้น ก็สามารถเลือกรุ่นพิเศษ Light White M Motorsport ที่มาพร้อมกับที่พักเท้าแบบ M Sport เบรคแบบ M Sport และเบาะนั่ง M Sport ล้อสีดำตัดลายเส้นสีแดงแบบ Pinstripe และโทนสีขาว-แดง-น้ำเงิน ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความแรงของ BMW M ราคา 1,059,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
.........................................................................................................................
Bridgestone แนะนำ Turanza 6
บริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์พรีเมียม “Bridgestone Turanza 6 มาพร้อมเทคโนโลยี Enliten” มาตรฐานใหม่แห่งความนุ่มสบายเหนือระดับ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานสำหรับรถยนต์หลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรูจากยุโรป รถยนต์พรีเมียมจากญี่ปุ่น และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า วางจำหน่ายตั้งแต่ขอบ 15-21 นิ้ว รวม 47 ขนาด เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การขับขี่ที่เหนือระดับด้วยความนุ่มสบาย ให้ทุกเส้นทางเต็มไปด้วยความมั่นใจอย่างแท้จริง
อะกิฮิโตะ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จํากัด เผยว่า Bridgestone มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์สู่คุณภาพระดับพรีเมียมอย่างไม่หยุดยั้ง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การเดินทางที่หลากหลายด้วยมาตรฐานความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์พรีเมียม Bridgestone Turanza 6 รุ่นล่าสุดนี้พัฒนาภายใต้เทคโนโลยี Enliten นวัตกรรมของการออกแบบยางรถยนต์จากบริดจสโตน ซึ่งผสมผสานเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยจึงช่วยให้ยางมีน้ำหนักเบา และมีแรงต้านทานการหมุนต่ำ อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงไว้ซึ่งสมรรถนะการขับขี่ที่เหนือระดับและปลอดภัย จึงเหมาะกับการใช้งานสำหรับรถยนต์หลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรูจากยุโรป รถยนต์พรีเมียมจากญี่ปุ่น และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า”
คุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์พรีเมียม Bridgestone Turanza 6 ประกอบด้วย
ความนุ่มสบายในการขับขี่ : ออกแบบการรับและกระจายแรงของโครงยาง เทคโนโลยีสูตรเนื้อยางแบบใหม่ช่วยลดแรงกระแทก และช่วยลดแรงสั่นสะเทือนระหว่างการขับขี่เพื่อมอบความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นบนเส้นทางขรุขระ
ลดเสียงรบกวน : ปรับรูปแบบลายดอกยางบริเวณไหล่ยางและหน้ายาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับเสียงรบกวนในการขับขี่
ปลอดภัยยิ่งขึ้น : การออกแบบที่กระจายแรงกดของยาง เทคโนโลยีสูตรเนื้อยางแบบใหม่ และการปรับขนาดร่องระบายน้ำ ช่วยเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพการยึดเกาะทุกสภาพถนนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะบนพื้นถนนเปียก
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : รูปทรงยางแบบใหม่และเนื้อยางสูตรใหม่ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดน้ำหนักของยาง ส่งผลให้มีแรงต้านทาน
การหมุนที่ลดลง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้น และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อายุการใช้งานยาวนานขึ้น : เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า (อย่างน้อย 5,000 กม.)*
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์พรีเมียม Bridgestone Turanza 6 ยังได้รับความไว้วางใจจาก แบรนด์รถยนต์ชั้นนำให้เป็นยางมาตรฐานติดรถยนต์ในระดับโลกหลากหลายรุ่น เช่น BMW: 7 Series/ 5 Series/X2/X1, Mercedes Benz: EQE/E-Class/CLA-Class, Audi: A5/A4 และ MG: ZS Hybrid+
ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์พรีเมียม Bridgestone Turanza 6 มีให้เลือกตั้งแต่ขอบ 15-21 นิ้ว รวม 47 ขนาด ราคาเริ่มต้นที่ 3,990-18,290 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดของยาง)
