เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS
ยอดรถสายลุยพันธุ์ดุ ! ยานพาหนะโคตรทรหดเหล่านี้ พิชิตเส้นทางวิบากได้อย่างไร
รู้หรือไม่ ? ในปี 1966 NATIONAL OFF-ROAD RACING ASSOCIATION เป็นองค์กรแรกที่ดูแลการแข่งขันรถวิบากรถขับเคลื่อน 4 ล้อ และยานพาหนะสำหรับทุกสภาพพื้นผิว เดิมที รถยนต์ขับเคลื่อนแค่ 2 ล้อ หมายความว่ามีแค่ 2 ล้อที่ส่งกำลังขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ ไปสู่ล้อคู่หน้า หรือคู่หลัง และพวกมันมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนรถยนต์ทั้งคัน มันเหมาะกับถนน และบนไฮเวย์ เนื่องจากมีน้ำหนักเบา และง่ายในการผลิต แต่มันขาดคุณสมบัติในการยึดเกาะพื้นถนนวิบาก เพราะยังมีอีก 2 ล้อที่หมุนตามแต่ไม่มีกำลังขับเคลื่อน ดังนั้นมันอาจจะติดหล่มหรือลื่น การประดิษฐ์รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) ในปี 1800 ทำให้ขอบเขตการเดินทางกว้างออกไป และประสบความสำเร็จในการปฏิวัติการขับรถของพวกเรา ให้อิสระในการเดินทางอย่างไร้ข้อจำกัดด้วยสภาพถนน และทำให้เราสามารถเดินทางได้เกือบทุกสภาพพื้นผิว รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ถูกออกแบบมาให้วิ่งข้ามทะเลทราย ลุยหิมะ และฝ่าแม่น้ำ เราจึงสามารถบุกเบิกโลกของเราได้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน รถวิบากที่ประสบความสำเร็จถูกสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างที่แข็งแรง และมีน้ำหนักเบา พร้อมกับยางขนาดใหญ่ที่มีดอกยางลึก และแก้มยางที่แข็งแกร่ง บ่อยครั้งที่ยานพาหนะที่แข็งแรงนี้สามารถนำทางไปยังพื้นที่เข้าถึงยาก ต้องใช้เกียร์ที่ต่ำมาก ชื่อเล่นคือ กแรนนี เกียร์ ทำให้รถสามารถข้ามหินได้ รถเหล่านี้วิ่งได้แม้จะไม่มีถนน ซึ่งรถประเภท ALL-TERRAIN VEHICLES หรือรถเอทีวี จะโดดเด่นมากเนื่องจากเป็นยานพาหนะสำหรับทุกพื้นผิว รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ถูกจำกัดการใช้งาน เนื่องจากต้องทำให้เป็นรถยนต์ที่มีสมรรถนะดีบนถนน เอทีวี หรือ QUAD BIKE 4 ล้อ จึงเหมาะแก่การรับมือกับทางวิบาก มันมีประโยชน์อย่างมาก เป็นรถขนาดเล็ก การขับขี่เหมือนรถจักรยานยนต์แต่เดินทางได้กว้างกว่าด้วยล้อที่มีกำลังขับเคลื่อนไม่มาก และประกอบด้วยแฮนด์บาร์เพื่อบังคับเลี้ยว รถวิบากต้องมีคุณสมบัติอย่างไร มาดูกันว่ารถวิบากต้องการอะไร เพื่อรับมือกับสภาพถนนสุดหิน มุมปะทะ มุมปะทะกำหนดความชันที่รถสามารถไต่ขึ้นเนินไปได้โดยไม่โดนกันชน มุมยิ่งกว้างยิ่งดี ไม่ว่าจะเป็นทางชัน เนินเขา รถก็สามารถขึ้นไปได้ เพลาขับ เพลาขับ หมายถึง ส่วนต่อเนื่องส่งกำลังจากชุดเกียร์ไปสู่ล้อทั้งขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ แผ่นกันแครงค์ แผ่นนี้จะอยู่ด้านล่างของตัวรถ เพื่อป้องกันส่วนประกอบที่สำคัญใต้ท้องรถ เช่น ถังน้ำมัน และท่อไอเสียจากการขูดกับพื้นถนน ระบบลอคเฟือง คือ การลอคล้อทั้งหมดเข้าด้วยกัน ดังนั้นมันจะหมุนด้วยความเร็วที่เท่ากัน และได้รับพลังงานในปริมาณที่เท่ากัน ฉะนั้นล้อจะไม่ติดหล่ม และหยุดหมุน มุมคร่อม มุมคร่อมจะขึ้นอยู่กับมุมเงย และมุมจาก ว่ารถจะเอียงได้มากสุดเท่าไรโดยใต้ท้องรถจะไม่สัมผัสกับพื้นถนน ความสูงจากพื้นรถ ยิ่งมีพื้นที่ระหว่างพื้นกับใต้ท้องรถมากเท่าไร ก็จะป้องกันความเสียหายจากหิน และตอไม้ที่จะกระแทกกับใต้ท้องรถได้มากเท่านั้น มุมจาก มุมจาก คือ รถสามารถลงจากพื้นที่ลาดเอียงโดยไม่ลากท้ายรถไปกับถนน มุมจากมากก็จะสามารถลงจากเนินชันได้ดี หากต้องเป็นอุปสรรคแก่รถคันอื่นในเส้นทาง ก็ไม่ใช่รถวิบาก เอทีวี มีการควบคุมคล้ายจักรยานยนต์แต่ขับขี่ได้มั่นคงกว่า รถ 4x4 สามารถทิ้งถนนดำไว้เบื้องหลังเพื่อค้นหาภูมิทัศน์ใหม่ๆ ฟอร์มูลา ออฟโรด ฟอร์มูลา ออฟโรด คือ กีฬาอีกประเภทหนึ่งที่รวบรวมการขับรถอย่างแม่นยำ ความเร็ว การไต่เขา หิน และลุยน้ำเข้าด้วยกัน กีฬาชนิดนี้เริ่มขึ้นที่ไอซ์แลนด์ แต่ตอนนี้เป็นที่นิยมในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย และสหรัฐอเมริกา การแข่งขันจะจัดขึ้นในสถานที่ปิด ไม่มีการจราจร เช่น เหมืองหิน ปล่องภูเขาไฟ เนื่องจากจะมีถนนหิน มีการกำหนดจุด เส้นทางด้วยเสาหรือธง และมีจุดปรับโทษให้หยุด และถอยไปยังจุดที่กำหนดไว้บนเส้นทาง คนขับจะถูกป้องกันด้วยโครงรถ หมวกกันนอค ที่รองคอ เข็มขัดรัด 5 จุด ชุดป้องกันเปลวไฟ รองเท้า ถุงมือ และเข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันไม่ให้กระเด็นออกนอกตัวรถ โดยจะมีทีมงานที่คอยจัดเตรียมรถ และซ่อมบำรุงตลอดการแข่งขัน ถามตอบกับคนขับรถ ฟอร์มูลา ออฟโรด เราได้พูดคุยกับ อาร์มี พาลส์สัน เกี่ยวกับช่วงเวลาลุยโคลน ใช้ความเร็วที่ปล่องภูเขาไฟในไอซ์แลนด์กับรถ จีพ วิลลีส์ ดัดแปลงของเขา อาร์มี พาลส์สัน เกิดและโตในไอซ์แลนด์ เริ่มขับ ฟอร์มูลา ออฟโรด ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น โดยดัดแปลงรถด้วยตัวเอง เขาแข่งขันตลอดระยะเวลา 5 ปี ได้รับชัยชนะหลายสนาม และสร้างชื่อเสียงในการขับรถอย่างไร้ความกลัวในแบบของเขาเอง คุณเริ่มสนใจกีฬาชนิดนี้เมื่อใด ? ผมมีรถคันเก่าอยู่ และสามารถทำอะไรกับมันก็ได้ ดังนั้นเลยดัดแปลงมันโดยการเปลี่ยนเพลา ขับเครื่องยนต์ หลังจากเข้าร่วมการแข่งขันแรก ผมมีความสนใจการแข่งขันมากขึ้น ผมใช้เงินของผมทั้งหมดไปกับกีฬานี้ ซื้อเครื่องยนต์จากสหรัฐอเมริกา ลุงผมเป็นกัปตันเรือ จึงขนส่งเครื่องยนต์มาให้ผมที่ไอซ์แลนด์ได้ ทำให้งบประมาณถูกลง หลังจากนั้นผมก็สร้างรถแข่งกับเพื่อน ที่คอยปรับแต่งให้มันดียิ่งขึ้น ทั้งเพลาขับ ล้อ โครงรถ และอื่นๆ อีกมากมาย คุณแข่งขันมานานแค่ไหน ? ผมเริ่มแข่งขันปี 1993 และลงแข่งครั้งสุดท้ายในปี 1998 เนื่องจากโชคไม่ดี ผมถังแตก เลยต้องขายรถไป คุณชอบอะไรในกีฬานี้มากที่สุด ? ผมชอบทุกอย่าง โดยเฉพาะเวลาที่คุณขับด้วยความเร็ว และทำบางอย่างที่น่าประทับใจแก่ทุกๆ คน และคนดูส่งเสียงเชียร์คุณ ช่วงเวลาที่ผมชอบ คือ เวลามีการแข่งขัน มันเป็นงานหนักที่ต้องสร้างรถขึ้นมา แต่เมื่อคุณลงแข่ง มันคุ้มค่าจริงๆ ผู้เข้าแข่งขัน ฟอร์มูลา ออฟโรด กำลังรับมือกับเนินสูงชัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ น่าแปลกใจที่นักขับ ฟอร์มูลา ออฟโรด ได้รับบาดเจ็บจุดสำคัญเพียงเล็กน้อยเท่านั้น “รถ 4x4 ให้อิสระแก่เราในเรื่องสภาพถนน และทำให้เราสามารถเดินทางไปได้เกือบทุกพื้นที่” “รู้หรือไม่ ?” ทีม ICELANDIC SEARCH AND RESCUE สร้างรถ ฟอร์มูลา ออฟโรด ขับเพื่อเป็นทางในการหาเงินมอบให้การกุศล ดาการ์ แรลลี เป็นการแข่งขันทางวิบาก ที่ผลักดันนวัตกรรมรถวิบากให้ถึงขีดสุด การแข่งขันจะมีขึ้นปีละครั้งโดย AMAURY SPORT ORGANISATION จัดขึ้นครั้งแรกในปี 1978 ระยะทาง 10,000 กม. จากปารีสสู่ดาการ์ ประเทศเซเนกัล ใช้เวลาในการแข่งขันทั้งหมด 16 วัน แต่ปี 2009 การแข่งขันถูกจัดขึ้นที่อเมริกาใต้ เนื่องจากเหตุผลด้านความไม่ปลอดภัยในมอริเตเนีย การแข่งขันมีทั้งประเภทจักรยาน QUADS รถยนต์ และรถกะบะ ผู้เข้าแข่งขันก็มีทั้งมือสมัครเล่น และมืออาชีพ เรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่อันตรายที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 1979 มีผู้เข้าแข่งขันเสียชีวิตไปแล้ว 70 คน การแข่งขัน ดาการ์ แรลลี ตอนนี้ต้องเดินทาง 8,000 กม. โดยผ่านอเมริกาใต้รวมถึงทะเลทรายอตาคามา และความสูงของภูเขาแอนดีส แบ่งออกเป็น 14 ด่าน บางด่านก็สั้นมาก และบางด่านอาจจะต้องเดินทาง 900 กม./วัน ผู้เข้าแข่งขันต้องต่อสู้กับถนนที่แย่ที่สุด ขับฝ่าสภาพอากาศที่โหดร้าย ผ่านสัตว์ป่าต่างๆ มีเพียงผู้ขับรถวิบากเพียงผู้เดียวที่จะสามารถขับรถเข้าเส้นชัยได้ จักรยานยนต์วิบาก มีอีกชื่อหนึ่งว่า DIRT BIKES เป็นรถที่มีน้ำหนักเบา และทนทาน เครื่องยนต์ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 500 ซีซี) เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่ว ใช้งานง่าย และมีน้ำหนักเบากว่ารถทั่วไป มีระบบกันสะเทือนที่ยืดหยุ่น เพื่อให้รถสามารถกระโดดได้ มียางดอกหนาสำหรับวิ่งทางวิบาก และมีความสูงจากพื้นรถที่สูงมาก ทำให้ DIRT BIKE สามารถฝ่าได้เกือบทุกสภาพถนน DIRT BIKES ที่ได้รับความนิยมเรียกว่า โมโทครอสส์ การแข่งขันจัดขึ้นครั้งแรกที่ CAMBERLEY ชื่อ SSURREY ในปี 1924 โมโทครอสส์ แข่งในระยะทางที่ค่อนข้างสั้น และเป็นสนามปิด เส้นทางวิบากที่มีอุปสรรครวมถึงแม่น้ำ ผู้ขับจะมีน้ำมันถังเล็กสำรอง เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระยะไกล และชอคอับที่สามารถกระโดดได้บนความเร็ว ด้วยจักรยานยนต์วิบากยอดนิยม คือ เอนดูโร ซึ่งเป็น DIRT BIKES ที่ขับได้อย่างถูกกฎหมาย และมีป้ายทะเบียน การแข่งขันรถทางวิบากใหญ่ที่สุด คือ ดาการ์ แรลลี ที่เดินทางผ่านเปรู โบลิเวีย และอาร์เจนตินา ในปี 2018 และบาฮา 1000 ในเมกซิโก บาฮา แคลิฟอร์เนีย เพนินซูลา ดาการ์ แรลลี เป็นการแข่งขันที่อันตรายที่สุดในโลก สนามโมโทครอสส์ อาจจะเป็นทางลูกรัง โคลน หรือหญ้า ระบบกันสะเทือนของรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ทำงานอย่างไร ? ยานพาหนะต่างๆ จะขับสบายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระบบกันสะเทือน ทั้งขับบนถนนดำ และทางฝุ่น เราจะต้องพบกับหิน หลุมบนถนน และเศษต่างๆ บนทางของเรา หากไม่มีระบบกันสะเทือน ผู้โดยสารอาจจะรู้สึกเหมือนถูกเขย่า ระบบกันสะเทือนจะทำให้การเคลื่อนไหวส่งไปที่ล้อเพื่อให้รถยนต์มีความมั่นคง โดยใช้ระบบที่ทำจากสปริง และชอคอับ เมื่อล้อรถที่กำลังหมุนปะทะเข้ากับสิ่งกีดขวางบนถนน จะถูกดันขึ้นไปและจะได้รับแรงกระแทก ชอคอับจะควบคุมการทำงานของสปริง และป้องกันรถจากการกระเด้ง รถขับเคลื่อน 4 ล้อจะใช้ชอคอับแบบอิสระ เนื่องจากมันให้แรงดึงที่ดีกว่า ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ เพลาขับ การเคลื่อนที่ระหว่างล้อที่แตกต่างกันจะถูกจัดการด้วยเพลาขับหมุนเชื่อมต่อด้วยข้อต่อ ปะทะสิ่งกีดขวาง แต่ละล้อที่อยู่บนเพลาเดียวกัน สามารถเคลื่อนได้ในแนวขึ้น/ลง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อล้ออีกด้านหนึ่ง เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เหล็กกันโคลงจะเชื่อมตัวกันสะเทือนทั้งขวา และซ้ายเข้าด้วยกัน แต่ไม่ได้ทำให้การเคลื่อนที่ของทั้ง 2 ฝั่งเหมือนกัน ดังนั้นทั้ง 2 ฝั่งจะเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ระบบกันสะเทือนแบบไม่อิสระ เชื่อมไว้ด้วยกัน ระบบเพลา จะเชื่อมล้อทั้ง 2 ด้านไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ การเคลื่อนที่อย่างไม่อิสระ การเคลื่อนที่ของล้อด้านหนึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนของล้ออีกด้านหนึ่ง รับน้ำหนักมากเกินไป การใช้ระบบกันสะเทือนชนิดนี้ในรถขนาดใหญ่นั้นมีข้อจำกัด เพราะมันไม่สามารถใช้งานได้ดีนักในบางที่ ทุนในการผลิตรถวิบากระดับไฮเอนด์อาจจะมีมูลค่ามากกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐฯ (387,000 ยูโร) "มีเพียงผู้ขับรถวิบากเท่านั้นที่จะสามารถเข้าเส้นชัยได้" รู้หรือไม่ ? ดาการ์ แรลลี แบ่งการแข่งขันออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ จักรยานยนต์ ควอดไบค์ รถยนต์ รถพิคอัพและยานพาหนะอื่นๆ วิบากนอกโลก ยาน LRV (LUNAR ROVING VEHICLE) ถูกใช้ในภารกิจ 3 ครั้งล่าสุดของโครงการอพอลโลสู่ดวงจันทร์ ถูกออกแบบให้สามารถเดินทางไปได้ทุกพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ลาดเอียงมากสุด 25 องศา ในอุณหภูมิ -173 จนถึงมากกว่า +118 องศาเซลเซียส ถือเป็นยานพาหนะแบบวิบากที่ยอดเยี่ยมมาก ให้พลังงานโดยแบทเตอรี ล้อทั้ง 4 ข้างถูกออกแบบให้เปิดโล่ง สามารถรับน้ำหนักนักบินอวกาศได้ 2 คน รวมทั้งอุปกรณ์ และชิ้นส่วนตัวอย่าง LRV ใช้เวลาเพียง 17 เดือน ในการพัฒนา มันสามารถช่วยเหลือนักบินอวกาศได้อย่างดีขณะปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการช่วยเหลือจากโรเวอร์ นักบินอวกาศจึงสามารถบุกเบิกพื้นที่บริเวณรอบๆ ที่ยานจอดอยู่ได้กว้างขึ้น สามารถเดินทางมากสุด 36 กม. ไปทั่วพื้นที่ เอเลียน โรเวอร์ ทั้ง 3 คันยังคงอยู่บนดวงจันทร์จนถึงทุกวันนี้ แผงควบคุมหลักและคันบังคับทิศทาง แผงควบคุมของโรเวอร์ ประกอบด้วยคันบังคับและหน้าจอคอนโซล ที่รวมถึงเข็มทิศสะท้อนเงาพระอาทิตย์ เครื่องวัดความเร็ว เครื่องมือวัดระยะทางที่ผ่าน เครื่องวัดระดับความชัน เสาสัญญาณแบบ LOW-GAIN ANTENNA ควบคู่กับ HIGH GAIN ANTENNA ส่งข้อมูลแบบจำเพาะเจาะจง เช่น เสียงและข้อมูลจากกล้องโทรทัศน์ เสาอากาศแบบ HIGH-GAIN ANTENNA เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับส่งรูปภาพ และข้อมูลกลับไปยังโลก กล้องโทรทัศน์ โรเวอร์มีกล้องที่สามารถควบคุมการทำงานจากโลกได้ พลังงานไฟฟ้า ใช้แบทเตอรีขนาด 36 โวลท์ 2 ก้อน เพื่อให้พลังงาน LRV ล้อ ดอกยางเป็นไททาเนียม ซึ่งประกอบด้วยเฟรมอลูมิเนียม 2 อัน และสายเหล็กไวร์เมช บรรจุของ พื้นที่เก็บของ ถูกใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์เก็บหินตัวอย่าง ยานพาหนะสำรวจดวงจันทร์ สามารถทำความเร็วสูงสุดถึง 13.8 กม./ชม. "LUNAR ROVING VEHICLE เป็นยอดยานวิบากที่น่าอัศจรรย์"
ABOUT THE AUTHOR
HOW IT WORK MAGAZINE
ภาพโดย : HOW IT WORK MAGAZINEนิตยสาร 417 ฉบับเดือน มกราคม ปี 2561
คอลัมน์ Online : เรื่องเด่นจาก GADGET/HOW IT WORKS