ชีวิตอิสระ
ตามรอยธรณีสตูล สำรวจฟอสซิลดึกดำบรรพ์ ที่ถ้ำเลสเตโกดอน

“สตูล” เป็นจังหวัดที่ไม่ได้มีดีแค่น้ำทะเลสวยใส และหาดทรายขาวของเกาะชื่อดังเท่านั้น บนแผ่นดินใหญ่ก็น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะด้านธรณีวิทยา เพราะเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา องค์การยูเนสโก หรือองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ อุทยานธรณีสตูล (SATUN GEOPARK) เป็นอุทยานธรณีโลก (GLOBAL GEOPARK) แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเทียบได้กับมรดกโลก เนื่องจากค้นพบฟอสซิลดึกดำบรรพ์ครบทั้ง 6 ยุค “ชีวิตอิสระ” ฉบับนี้ จะพาไปรู้จักอุทยานธรณีสตูล พร้อมสำรวจซากฟอสซิลภายในถ้ำดึกดำบรรพ์
ล่องใต้ไปกับ เอมจี เซดเอส

- ศึกษาธรณีสตูล ที่พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์
ฟอสซิล 6 ยุค ที่พิพิธภัณฑ์ทุ่งหว้า

- ปลัดอำเภอทุ่งหว้า กำลังอธิบายซากฟอสซิลที่ค้นพบ

- ภายในพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับช้างยุคต่างๆ ให้ศึกษา

- ซากหอยดึกดำบรรพ์นอทิลอยด์ในจังหวัดสตูล
เที่ยวถ้ำเลสเตโกดอน ต้องติดต่อล่วงหน้า

- การเข้าชมถ้ำเลสเตโกดอน ต้องติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพราะจะเปิดให้เข้าชมเพียงวันละ 1 รอบเท่านั้น

- ต้องสวมหมวกกันกระแทก และเสื้อชูชีพทุกครั้ง

- คนพายเรือเป็นทั้งฝีพายและไกด์

- ภายในถ้ำมีความสวยงาม ถ้าจะให้ดีควรนำไฟฉายพกติดตัวไปด้วย

- การนั่งเรือลอดปากช้าง คือ อีกหนึ่งไฮไลท์ของที่นี่
ล่องเรือเข้าถ้ำ ชมหินงาม และซากฟอสซิล
ในที่สุดก็ถึงเวลาล่องเรือ หลังจากฟังบรรยายจากหัวหน้านำเที่ยวเสร็จ ทำให้รู้ว่าวันนี้มีนักท่องเที่ยวมากถึง 44 คน เพราะเป็นช่วงที่ระดับน้ำดีที่สุดของเดือน จากปากถ้ำ เราล่องเรือแคนูเข้าไปสู่ความมืด ภายในถ้ำอากาศโปร่งสบาย ไม่อึดอัด เสมือนมีท่ออากาศอยู่ตลอดทาง สายน้ำไหลพาเราเข้าไปเรื่อยๆ ไม่นานนักก็เริ่มเห็นหินงอกหินย้อยตามเพดาน และผนังถ้ำ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ บ้าง ลักษณะคล้ายปลีกล้วยห้อยย้อยลงมาจากเพดาน มีสีออกเหลืองแดงเนื่องจากมีแร่เหล็กผสมอยู่ เมื่อฉายไฟเข้าใส่ จะเห็นเป็นประกายระยิบระยับเหมือนโรยด้วยกากเพชร นั่นเป็นเพราะมีส่วนผสมของแร่แคลไซท์
- หินย้อยที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ คล้ายม่านน้ำตก

- ซากหอยดึกดำบรรพ์ที่วิวัฒนาการต่อจากนอทิลอยด์

- ถ้าเห็นปากทางรูปหัวใจ แสดงว่าถึงทางออกแล้ว

- หินรูปเต่า เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องใช้จินตนาการ

- ใกล้ๆ ปากทางออกเริ่มพบเห็นสิ่งมีชีวิต เช่น ปูถ้ำ

- ป่าโกงกางภายนอกถ้ำเลสเตโกดอน

- ล่องเรือหางยาวสู่ปากทะเลอันดามัน
แผนที่

ที่กิน + ที่นอน


ขอขอบคุณ

ABOUT THE AUTHOR
ว
วิธวินท์ ไตรพิศ
ภาพโดย : สายชล อรรถาเวชนิตยสาร 417 ฉบับเดือน กรกฏาคม ปี 2561
คอลัมน์ Online : ชีวิตอิสระ(4wheels)