ตลาดโดยรวม | -24.1 % |
รถยนต์นั่ง | -23.6 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | -13.0 % |
กระบะ 1 ตัน | -26.9 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ และรถประเภทอื่นๆ | -11.5 % |
ที่ว่าจัดหนักนี่ไม่ใช่พโรโมชันขายรถราคาพิเศษ ลดถล่มทลาย หรือฟรีดาวน์ ฟรีดอก บวกของแถมชุดใหญ่ไฟกะพริบของค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่เอาออกมาใช้เพื่อดึงดูดให้ผู้กำลังอยากได้รถใหม่มาใช้งาน ก้าวเท้าเข้าโชว์รูมผู้จำหน่ายรถยนต์แต่อย่างใด แต่เป็นเชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 พโรโมชันสุดพิเศษที่ธรรมชาติ (หรือจะเป็นฝีมือมนุษย์) จัดให้สำหรับธุรกิจยานยนต์ในประเทศ แน่นอนว่าหนีไม่พ้นผลกระทบจากการจู่โจมของไวรัสตัวร้ายนี้เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ นอกจากยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่จะลดน้อยลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับตัวเลขยอดจำหน่ายของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เดือนมีนาคมนี้ก็ยังมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกมาอยู่เหมือนกัน แต่แทนที่จะเป็นการเปิดตัวโดยส่งเทียบเชิญแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ให้มาร่วมชมรับฟังข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของตัวรถกันแบบสดๆ สัมผัสจับต้องได้ ก็เลือกเป็นการเปิดตัวแบบออนไลน์ ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ให้เป็นประโยชน์สูงสุดแทน โดยมีการเปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในเดือนมีนาคมนี้สำหรับ MAZDA CX-30 (มาซดา ซีเอกซ์-30) และ MG ZS (เอมจี เซดเอส) ใหม่ ซึ่งรายละเอียดสรรพคุณต่างๆ จะตอบโจทย์ผู้ใช้รถได้มากน้อยครบถ้วนเพียงไร ต้องติดตาม มาว่ากันเรื่องของตัวเลขยอดขายรถยนต์ใหม่ของเดือนมีนาคม 2563 ที่มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 60,105 คัน ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมีนาคมปีก่อนหน้านี้แล้วต่างกันถึง 41.7 % ซึ่งทั้ง 5 บแรนด์ดังยอดนิยมที่มีผู้สนใจนำไปเป็นรถยนต์ส่วนตัวเพื่อใช้งานในครอบครัว ล้วนแล้วแต่มีตัวเลขที่ลดน้อยถอยลงกันโดยถ้วนหน้า โดยเบอร์ 1 ของตลาด TOYOTA (โตโยตา) มีตัวเลขยอดจำหน่ายที่ 17,282 คัน ลดลง 49.0 % เมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมีนาคมปี 2563 ส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับ 28.8 % ของตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาด อันดับ 2 ISUZU (อีซูซุ) ตัวเลขยอดจำหน่าย 13,629 คัน ลดลง 21.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 22.7 % อันดับ 3 HONDA (ฮอนดา) 7,506 คัน ลดลง 31.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.5 % อันดับ 4 MITSUBISHI (มิตซูบิชิ) ยอดจำหน่าย 4,998 คัน ลดลง 50.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.3 % และอันดับ 5 NISSAN (นิสสัน) 3,236 คัน ลดลง 57.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.4 % รวมตัวเลขยอดจำหน่ายไตรมาสแรกของปี 2563 อยู่ที่ 200,064 คัน ลดลง 24.1 % เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2562 TOYOTA ยังคงถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดสำหรับไตรมาสแรกของปี 2563 ตัวเลขไตรมาสแรกอยู่ที่ 56,053 คัน ลดลง 34.9 % เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2562 ส่วนแบ่งการตลาด 28.0 % ISUZU ตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยตัวเลข 42,398 คัน ลดลง 5.6 % ส่วนแบ่งการตลาดไตรมาสแรก 21.2 % อันดับ 3 HONDA 28,678 คัน ลดลง 4.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 14.3 % อันดับ 4 MITSUBISHI 16,974 คัน ลดลง 29.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.5 % และอันดับ 5 NISSAN 13,504 คัน ลดลง 28.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.7 % ในกลุ่มก้อนของรถพิคอัพ 1 ตัน เดือนมีนาคมนี้มีตัวเลขรวมกันแล้ว 30,296 คัน ลดลง 41.8 % เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2562 และยังคงเป็นพิคอัพ D-MAX ของ ISUZU ตัวเลขอยู่ที่ 12,634 คัน ลดลง 21.9 % เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2562 ได้ส่วนแบ่งการตลาดไป 41.7 % อันดับ 2 เป็นของ TOYOTA ตัวเลขอยู่ที่ 10,349 คัน ลดลง 46.3 % เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2562 ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 34.2 % อันดับ 3 MITSUBISHI ตัวเลขเดือนมีนาคมนี้ 2,930 คัน ลดลง 47.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 9.7 % อันดับ 4 FORD (ฟอร์ด) 2,206 คัน ลดลง 60.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 7.3 % อันดับ 5 NISSAN 1,229 คัน ลดลง 58.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 4.1 % ไตรมาสแรกของปี 2563 พิคอัพ 1 ตัน มีตัวเลขรวมยอดจดทะเบียนอยู่ที่ 96,963 คัน ลดลง 26.9 % เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2562 ผู้นำตลาดในไตรมาสแรกของปี 2563 เป็น ISUZU มียอดรวมทั้งสิ้น 39,620 คัน เป็นตัวเลข ที่ลดลง 4.8 % จากตัวเลขที่เคยทำได้ในไตรมาสแรกของปี 2562 คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับ 40.9 % TOYOTA อยู่ในอันดับ 2 ด้วยตัวเลขรวม 32,733 คัน ลดลง 33.7 % มีส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.8 % อันดับ 3 MITSUBISHI 9,835 คัน ลดลง 29.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 10.1 % อันดับ 4 FORD 7,201 คัน ลดลง 49.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 7.4 % และอันดับ 5 NISSAN ตัวเลขรวม 4,552 คัน ลดลง 37.6 % ส่วนแบ่งการตลาดรับไป 4.7 % รถเอสยูวี เดือนมีนาคม 2563 มียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 5,756 คัน ลดลง 17.0 % เป็นเดือนแรกที่ MG จากแดนมังกรขึ้นมาอยู่หัวแถวด้วยจำนวน 1,621 คัน เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากมีนาคมปีก่อน 5.1 % ได้ส่วนแบ่งการตลาดไป 28.2 % HONDA หัวแถวเดือนกุมภาพันธ์อยู่ในอันดับ 2 ยอด 1,436 คัน ลดลง 50.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 24.9 % CHEVROLET (เชฟโรเลต์) ลดกระหน่ำยังคงอยู่ในอันดับ 3 เดือนนี้มียอด 1,402 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 24.4 % MAZDA ขยับแซง TOYOTA ขึ้นมาอยู่อันดับ 4 ด้วยยอดจำหน่าย 788 คัน เพิ่มขึ้น 39.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.7 % และ TOYOTA หล่นมาอยู่อันดับ 5 ตัวเลขอยู่ที่ 368 คัน ลดลงถึง 76.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.4 % ไตรมาสแรกของปี 2563 มียอดจำหน่ายรวมแล้วทั้งสิ้น 14,893 คัน ลดลง 13.0 % HONDA ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด 31.7 % จากยอดจำหน่ายรวม 4,719 คัน ลดลง 36.9 % อันดับ 2 MG ยอดจำหน่าย 4,189 คัน เพิ่มขึ้น 13.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 28.1 % อันดับ 3 CHEVROLET 2,015 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 13.5 % อันดับ 4 MAZDA 1,805 คัน เพิ่มขึ้น 14.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.1 % และ TOYOTA อันดับ 5 ยอดรวม 1,354 คัน ลดลง 58.7 % ส่วนแบ่งการตลาดในไตรมาสแรก 9.1 % รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ประเภทอื่นๆ เดือนมีนาคม 2563 ยอดจำหน่าย 3,355 คัน ลดลง 17.9 % ไตรมาสแรกของปี 2563 ยอดจำหน่ายรวม 9,823 คัน ลดลง 11.5 %