TOTAL VEHICLE/ตลาดโดยรวม | -13.6% |
SUV/รถกิจกรรมกลางแจ้ง | +35.2% |
กระบะ 1 ตัน | -6.6% |
รถเพื่อการพาณิชย์ และรถประเภทอื่นๆ | -7.5% |
ตลาดโดยรวม | -18.4 % |
รถยนต์นั่ง | -39.2 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | +30.2 % |
กระบะ 1 ตัน | -8.1 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ และรถประเภทอื่นๆ | -8.5 % |
เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่รวมทั้งหมดอยู่ที่ 58,960 คัน ลดลง 13.6 % เมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์ 2563 ทั้งนี้รถยนต์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นรถยนต์จากค่ายเจ้าพ่อรถยนต์เชิงพาณิชย์ ISUZU (อีซูซุ) จำหน่ายไปได้รวม 16,477 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นจากกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว 13.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 27.9 % อันดับ 2 หล่นมาจากตำแหน่งแชมพ์รายเดือนอมตะนิรันดร์กาล TOYOTA (โตโยตา) จำหน่ายได้ 15,860 คัน ลดลง 14.6 % เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับ 26.9 % อันดับ 3 คงที่ไม่ขึ้นไม่ลงมายาวนานแล้ว HONDA (ฮอนดา) จำหน่ายได้ 9,007 คัน ลดลง 7.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 15.3 % อันดับ 4 MITSUBISHI (มิตซูบิชิ) ยังคงกอดไว้แน่น จำหน่ายได้ 3,642 คัน ลดลง 39.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.2 % และอันดับ 5 MAZDA (มาซดา) เดือนกุมภาพันธ์นี้จำหน่ายได้ 3,076 คัน เพิ่มขึ้น 2.5 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 5.2 %เดือนที่ 2 ของปีผ่านพ้นไปตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งหมดอยู่ที่ 114,168 คัน ลดลง 18.4 % เมื่อเทียบกับห้วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2563 โดย TOYOTA รั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงด้วยตัวเลขยอดจำหน่ายรวม 2 เดือน 33,539 คัน ลดลง 13.5 % เมื่อเทียบปีที่แล้ว ส่วนแบ่งการตลาดผ่าน 2 เดือนไปอยู่ที่ 29.4 % อันดับ 2 ISUZU จำหน่ายแล้วรวม 31,725 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 10.3 % จากที่เคยทำไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 27.8 % อันดับ 3 รถยนต์ HONDA ครอบครองกรรมสิทธิ์อยู่จากตัวเลขยอดจำหน่าย 14,664 คัน ลดลง 30.7 % เมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์ 2563 ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 12.8 % อันดับ 4 ผูกขาดมาหลายต่อหลายปีเหมือนกันสำหรับ MITSUBISHI แต่เมื่อดูตัวเลขยอดจำหน่ายของ MAZDA แล้ววางใจไม่ได้เหมือนกัน 2 เดือนแรกของปี MITSUBISHI จำหน่ายแล้วรวม 6,962 คัน ลดลง 41.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.1 % ขณะที่ MAZDA ขยับมาอยู่ในอันดับ 5 ด้วยยอดจำหน่าย 6,246 คัน ลดลง 11.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.5 % ลุ้นกันยาวไปสำหรับการขึ้นหรือลงของ MITSUBISHI กับ MAZDA ในประเภทรถพิคอัพ 1 ตัน ยอดจำหน่ายรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ 31,169 คัน ลดลง 6.6 % เมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์ 2563 ISUZU เริ่มฉีกหนี TOYOTA ออกสตาร์ทดีตั้งแต่เดือนแรก มาเดือนกุมภาพันธ์นี้กวาดตัวเลขยอดจำหน่ายเพิ่มเข้าไปอีก 15,400 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 13.2 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 49.4 % ตามมาค่อนข้างห่างไปนิดสำหรับ TOYOTA เดือนกุมภาพันธ์นี้จำหน่ายได้ 9,781 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง 7.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 31.4 % FORD (ฟอร์ด) จำหน่ายได้มากเป็นอันดับที่ 3 ด้วยยอด 2,592 คัน แต่ยังเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ลดน้อยลง 9.4 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 8.3 % MITSUBISHI ยังอยู่ในอันดับที่ 4 ของแฟนพิคอัพ จำหน่ายได้ 2,169 คัน ลดลง 38.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 7.0 % และอันดับ 5 NISSAN (นิสสัน) จำหน่ายได้ 615 คัน ลดลงถึง 64.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 2.0 % สำหรับ NISSAN ถ้า NAVARA (นาวารา) ใหม่ พิสูจน์ความยอดเยี่ยมได้ใจนักเลงรถพิคอัพอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ตัวเลขยอดจำหน่ายคงจะขยับเพิ่มสูงขึ้นกว่าหลักร้อยคันต่อเดือนอย่างแน่นอน ตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งหมดของรถพิคอัพ 1 ตัน ใน 2 เดือนที่ผ่านไปอยู่ที่ 61,276 คัน ติดลบไป 8.1 % เมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรก ปี 2563 ISUZU ฉีกตัวเป็นผู้นำเดี่ยวตั้งแต่เดือนแรก ผ่าน 2 เดือนไปตัวเลขยอดจำหน่ายรวมอยู่ที่ 29,598 คัน เพิ่มขึ้น 9.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 48.3 % TOYOTA ตามมาในอันดับ 2 ด้วยยอดจำหน่ายรวม 20,275 คัน ลดลง 9.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 33.1 % อันดับ 3 เป็นของ FORD ยอดรวม 4,897 คัน ลดลง 2.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.0 % อันดับ 4 MITSUBISHI ยอดจำหน่ายรวม 2 เดือน 4,123 คัน ลดลง 40.3 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 6.7 % และอันดับ 5 NISSAN จำหน่ายได้รวม 1,137 คัน ลดลง 65.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.9 % ส่วนรถเอสยูวี มีการเติบโตทางด้านยอดจำหน่ายต่อเนื่องจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา เดือนกุมภาพันธ์นี้ตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาดอยู่ที่ 5,848 คัน เพิ่มขึ้น 35.2 % ความนิยมในรถเอสยูวีของ TOYOTA ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ ยังคงอุ่นหนาฝาคั่ง จำหน่ายได้รวมทั้งสิ้น 1,682 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นถึง 237.8 % ส่วนแบ่งการตลาดได้ไป 28.8 % MG (เอมจี) แชมพ์ยอดจำหน่ายรถเอสยูวี ปี 2563 ตามมาไม่ห่างนักในอันดับที่ 2 จำหน่ายได้ 1,462 คัน เพิ่มขึ้น 16.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 25.0 % อันดับ 3 HONDA จำหน่ายได้รวม 1,139 คัน ลดลง 15.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 19.5 % ซึ่งตัวเลขยอดจำหน่ายของ HONDA เฉือน MAZDA ไปเพียง 2 คันเท่านั้น โดย MAZDA จำหน่ายได้ 1,137 คัน อยู่ในอันดับ 4 เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นถึง 157.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 19.4 % ส่วนอันดับ 5 เป็นของ SUBARU (ซูบารุ) จำหน่ายได้ 260 คัน เพิ่มขึ้น 64.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 4.4 % รวมตัวเลขยอดจำหน่ายเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์เข้าด้วยกัน รถยนต์ประเภทนี้จำหน่ายไปแล้วรวมกันทั้งสิ้น 11,898 คัน เพิ่มขึ้น 30.2 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 อันดับ 1 เป็นของ TOYOTA จำหน่ายแล้วรวม 3,364 คัน เพิ่มขึ้น 241.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 28.3 % อันดับ 2 MG จำหน่ายแล้ว 2,905 คัน เพิ่มขึ้น 13.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 24.4 % MAZDA เข้ามาอยู่ในอันดับ 3 จากยอดจำหน่ายรวม 2,286 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นถึง 124.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 19.2 % อันดับ 4 HONDA จำหน่ายแล้วรวม 2,270 คัน ลดลง 30.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 19.1 % เป็นอีกคู่หนึ่งที่ต้องดูกันยาวๆ ว่าท้ายที่สุดแล้วใครจะเข้าวินในอันดับที่ 3 สำหรับปี 2564 นี้ ส่วนอันดับที่ 5 เป็นของ SUBARU จำหน่ายแล้ว 616 คัน เพิ่มขึ้น 76.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.2 % เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีการจดทะเบียนรถยนต์ประเภทพิคอัพ และเอสยูวี รวมกันทั้งสิ้น 45,378 คัน ลดลง 3.6 % เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประเภทอื่นๆ มียอดจำหน่ายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทั้งสิ้น 2,974 คัน ลดลง 7.5 % 2 เดือนผ่านไปจำหน่ายแล้วรวม 5,921 คัน ลดลง 8.5 %