เล่นท้ายเล่ม
มรดกไทย-มรดกโลก
มรดกไทย-มรดกโลก คงไม่ใช่มีเพียงศิลปะมวยไทยตามที่คุณทรงชัย รัตนสุบรรณ อ้างถึง แม้เพลงไทย
เดิมโบราณผมก็ยังเห็นว่า เป็น 1 ในมรดกไทย-มรดกโลกได้เช่นเดียวกัน
ผมอยากพูดถึงเพลงไทยเดิมที่รู้จักกันดี 2 เพลง คือ เพลง "เขมรไทรโยค" และเพลง "ลาวดวงเดือน"
"บรรยายความตามไท้เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์
น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
ไม้ไล่หลายพันธุ์คละขึ้นปะปน ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโตรกธาร
น้ำพุพุ่งซ่า ไหลฉ่าฉาดฉาน
เห็นตระการ มันไหลจ้อกจ้อกโครมโครม
มันดังจ้อกจ้อก จ้อกจ้อกโครมโครม
น้ำใสไหลจนดูหมู่มัศยา กี่เหล่าหลายว่ายมาก็เห็นโฉม
น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
ยินปักษาซ้องเสียงเพียงประโคม เมื่อยามเย็นพลับโพยมร้องเรียกรัง
เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง
หูเราฟัง มันดังกระโต๊งห่ง
มันดังก้อกก้อก ก้อกก้อกกระโต้งห่ง"
ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ทว่าเพลง "เขมรไทรโยค" นี้มีอายุกาลถึง 118 ปี เมื่อวันที่ 20 กันยายน
2549 ที่ผ่านมาเพลงนี้เป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติ
วงศ์ ซึ่งได้จินตนาการมาจากการเสด็จประพาสไทรโยคกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
สมเด็จพระปิยะมหาราช ทรงโปรดเสด็จประพาสต้นเมืองกาญจน์ถึง 4 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี
2416 เสด็จโดยเรือกลไฟพระที่นั่งออกทางทะเลไปเมืองราชบุรี แล้วเสด็จทางชลมารคลงเรือพระที่นั่งที่
ท่าสะคร้อ
และในการเสด็จครั้งที่ 2 เมื่อพุทธศักราช 2420 หรืออีก 4 ปีถัดมา ก็ได้มี สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา
นริศรานุวัตติวงศ์ ร่วมโดยเสด็จด้วย ขณะมีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา ทรงนำผืนระนาดม้วนใส่เรือ
พระที่นั่งไปด้วย เพราะโปรดการดนตรีไทย
การตามเสด็จ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ชื่นชมความงดงามตามธรรมชาติของเมือง
กาญจน์ ได้เห็นลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ ไหลคดเคี้ยว อีกทั้งสภาพป่าสองฝั่งฟากลำน้ำแควก็อุดม
สมบูรณ์ด้วยไม้ น้ำก็ใสสะอาดไหลแลดูเย็นยะเยือก ซัดเกาะแก่งโขดหิน สลับซับซ้อนดูเพลิน อีกทั้ง
สรรพสำเนียงจากสัตว์ป่าทั้งหลายที่ส่งเสียงกึกก้องในเวลาวิกาล
โดยเฉพาะเสียงนกยูง และนกป่าต่างพันธุ์นานา ให้ความรู้สึกที่ยากจะลืมได้
จนถึงปี 2431 ลุเดือนกันยายน มีงานรื่นเริงถวายเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการบรรเลงต่อหน้าพระพักตร
กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น บรรยายความงามของไทรโยคจากความรู้สึก โดยได้
ดัดแปลงมาจากเพลงเขมรกล่อมลูก อันเป็นเพลงไทยเดิม 2 ชั้น ทรงขยายขึ้นเป็น 3 ชั้น เพิ่มซอฝรั่ง
และมีผู้ขับร้องทั้งชายและหญิง ส่วนชื่อเพลงยังคงเรียกว่า เพลงเขมรกล่อมลูก
การบรรเลงเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2431 เป็นที่พอพระราชหฤทัย และได้รับความ
นิยมจากผู้ฟังโดยทันที
เพลงได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับจนในที่สุด อาจารย์มนตรี ตราโมช นำไปบันทึกแผ่นเสียงประมาณ
ปี 2492 ต่อมาได้รับการดัดแปลงอีกครั้งโดย คุณหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จนเป็นเพลง
เขมรไทรโยคถึงทุกวันนี้
อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "ลาวดวงเดือน" นับว่าเป็นเพลงไทยเดิมที่อมตะมาก ผมได้ความรู้เพลงนี้มาจาก
เพื่อนร่วมเขียนหนังสือด้วยกันมา คือ คุณทัศนา ทัศนมิตร นักเขียนผู้ใช้นามปากกาลือลั่นว่า "ภราดร
ศักดา" ได้เขียนถึงเพลงนี้ไว้ในหนังสือเล่มล่าสุดของเขา คือ "วัง-มรดกกรุงรัตนโกสินทร์"
"โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย
ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง
อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์
ข้อยนี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้
หอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย
เนื้อหอมทรามเชย เราละหนอ"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์) เป็นองค์พระนิพนธ์เพลง
นี้ ประสูติจากเจ้าจอมมารดามรกต เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2435 เสด็จไปศึกษาที่อังกฤษ แล้วเสด็จ
กลับมาประทับที่วังท่าเตียน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2452 ด้วยพระชนม์เพียง 27 พรรษา
เพลง "ลาวดวงเดือน" เดิมทีมีชื่อเป็นเพลง "ลาวดำเนินเกวียน"
คุณภราดร ศักดา (ขอโทษครับ ผมคุ้นกับชื่อนี้เพราะรุ่นเดียวกัน) เล่าให้ฟังว่า ตลาดท่าเตียนสมัยหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 (หลังปี 2488) เป็นตลาดสดมีความสำคัญกับวิถีชีวิตคนไทย ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า
ตลาดสบางลำพู หรือตลาดสดบำเพ็ญบุญ ตรงข้ามกับโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง หรืออีกแห่งเดียว
ที่คนกรุงเทพ ฯ รู้จักดี คือ ตลาดปากคลองตลาด
ที่นี่มีวังของเจ้านายหลายวัง รวมทั้งวังท่าเตียนอันเป็นที่ประทับของกรมหมื่นพิไชย ฯ ซึ่งสมัยเจ้าคุณ
ตามหินทร ฯ ยังมีชีวิตอยู่ เคยมีโรงละคร "ปรินส์เทียเตอร์" ขณะทางวังกรมพระนราฯ มีโรงละคร "ปรีดา
ลัย"
กรมหมื่นพิไชย ฯ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองในกระทรวงเกษตราธิการ และกรมไหม ได้มี
โอกาสเดินทางไปตรวจราชการทางภาคอีสาน และภาคเหนือบ่อยครั้ง และได้มีความรักเกิดขึ้นกับเจ้า
หญิงชมชื่น สาวงามในถิ่นไทยงาม แต่ถูกกีดกันทั้งจากบิดาฝ่ายหญิงและญาติพี่น้อง จึงเกิดแรง
บันดาลใจจินตนาการความรู้สึกที่บีบคั้นและระทมทุกข์ นิพนธ์เพลงขึ้น
ชีวิตคุณภราดร ในสมัยนั้น เช่าบ้านพักที่แถววัดหงส์ หลังกองทัพเรือ ค่าเช่าบ้านเดือนละ 50 บาท อยู่
ร่วมกับ คุณสมโภช ล้ำพงศ์ นักเขียนเพลง และได้คุ้นเคยกับ คุณไสล ไกรเลิศ ผู้เขียนเพลง "ผู้ชนะสิบ
ทิศ" ให้ ชรินทร์ นันทนาคร ขับร้องดังมาจนถึงทุกวันนี้
ชีวิตคนกรุงเทพ ฯ ยามนั้น "ไส้แห้ง" ด้วยกันทั้งขบวน ไม่ว่าจะเป็นนักประพันธ์ไส้แห้ง นักแต่งเพลงไส้
แห้ง นักข่าวไส้แห้ง ก็เพราะค่าเรือจ้างยามนั้น ข้ามฟากเจ้าพระยาครั้งหนึ่งเสียค่าโดยสารไม่เกิน คนละ
5 สตางค์
คุณภราดรยังจำสภาพบ้านคุณไสล ไกรเลิศได้เป็นอย่างดี เล่าว่า บ้านมีสภาพเป็นเรือนไม้เก่าๆ ทาสี
เขียวคล้ำอยู่ในดงสลัม เรียกว่า จุฬาซอย 11 ก่อนจะถูกความเจริญของบ้านเมืองเปลี่ยนเป็น สยามส
แควร์
ขณะที่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นมาบุญครองในปัจจุบันนี้ เป็นบ้านพักของครูไพบูลย์ บุตรขัน นักเขียนเพลงลูก
ทุ่งมือฉกาจของเมืองไทย
คุณภราดร กับคุณไสล ได้พึ่งเหล้าที่บ้านครูไพบูลย์ ทุกวันที่ไม่มีสตางค์กินข้าว กินเหล้าอยู่จนดึกค่อย
เดินกลับบ้านตีหนึ่งตีสอง
ชีวิตคนกรุงเทพ ฯ สมัยนั้นก็อย่างนี้แหละครับ ผมเองเข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเทพ ฯ ตั้งแต่ปี 2491
เรียนอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เชิงสะพานพุทธ ใกล้โรงไฟฟ้าวัดเลียบ ต้องเดินทางโดยรถรางไป
และกลับผ่านท่าเตียนทุกวัน จนกระทั่งเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในปี
2493
เสียดายนิดเดียวครับ คุณภราดร ไม่ได้บอกรายละเอียดวันบรรเลงเพลง "ลาวดวงเดือน" เป็นครั้งแรก
จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเพลงนี้มีอายุกาลเท่าไรครับ
ABOUT THE AUTHOR
บ
บรรเจิด ทวี
นิตยสาร 399 ฉบับเดือน มกราคม ปี 2550
คอลัมน์ Online : เล่นท้ายเล่ม