วิถีตลาดรถยนต์
“ปี 2568” ว่ากันใหม่
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนธันวาคม 2024/2023
ตลาดโดยรวม -20.9 %
รถยนต์นั่ง -20.7 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) -17.7 %
กระบะ 1 ตัน -21.3 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -28.8 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-ธันวาคม 2024/2023
ตลาดโดยรวม -26.2 %
รถยนต์นั่ง -23.4 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) -3.3 %
กระบะ 1 ตัน -38.4 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -13.7 %
รูดม่านปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับฤดูกาลค้าขายรถใหม่ป้ายแดงปี 2567 เป็นไปตามที่พอจะมองเห็นเค้าลางกันมาตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่ช่วงเดือนท้ายๆ ของปี นั่นคือ การปิดตัวเลขยอดจำหน่ายที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ แต่ก่อนจะไปถึงบทสรุปของปี 2567 มาดูความสำเร็จย้อนหลังของงาน MOTOR EXPO 2024 ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน-วันที่ 10 ธันวาคม 2567 ก่อนดีกว่า
การจัดงานครั้งที่ผ่านมา มียอดผู้เข้าชมงานถึง 1,426,044 คน มียอดสั่งจองรถใหม่รวม 54,513 คัน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน รวมถึงรถไฮบริด และพลัก-อิน ไฮบริด 58.7 % และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 41.3 % ค่ายรถยนต์ที่มียอดสั่งจองสูงสุด 10 ยี่ห้อ ประกอบด้วย TOYOTA (โตโยตา) 8,297 คัน ตามด้วย BYD (บีวายดี) 7,042 คัน HONDA (ฮอนดา) 5,081 คัน AION (ไอออน) 3,668 คัน MG (เอมจี) 3,311 คัน DEEPAL (ดีพอล) 2,756 คัน MITSUBISHI (มิตซูบิชิ) 2,609 คัน NISSAN (นิสสัน) 2,219 คัน GWM (กเรท วอลล์ มอเตอร์) 2,060 คัน และ NETA (เนทา) 2,016 คัน ปลายปีนี้พบกันใหม่กับงาน MOTOR EXPO 2025 ที่เก่าเวลาเดิม
สำหรับบทสรุปตัวเลขยอดจำหน่ายรถใหม่ปี 2567 เริ่มด้วยตัวเลขยอดจำหน่ายสะสมรวมทั้งปี 572,675 คัน ลดลงจากยอดรวมของปี 2566 ถึง 203,013 คัน หรือลดลง 26.2 % เมื่อเทียบกับปี 2566 เป็นยอดจำหน่ายที่น้อยที่สุดในรอบ 15 ปี โดยรถยนต์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด หรือแชมพ์ยอดจำหน่ายสูงสุดปี 2567 แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านๆ มา ยกเว้นในอันดับ 5 ค่าย BYD จากประเทศจีน สอดแทรกเข้ามาแทนที่ค่าย FORD (ฟอร์ด) ได้เป็นปีแรก โดยยอดจำหน่ายสูงสุดอันดับ 1 TOYOTA 220,356 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 38.5 % เป็นยอดจำหน่ายที่ลดลง 45,593 คัน หรือลดลง 17.1 % เมื่อเทียบกับปี 2566 อันดับ 2 ISUZU (อีซูซุ) 85,582 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 14.9 % ลดลง 66,353 คัน หรือลดลง 43.7 % อันดับ 3 HONDA 76,574 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 13.4 % ลดลง 17,762 คัน หรือลดลง 18.8 % อันดับ 4 MITSUBISHI 27,318 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.8 % ลดลง 5,350 คัน หรือลดลง 16.4 % และอันดับ 5 BYD 27,021 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.7 % ลดลง 3,411 คัน หรือลดลง 11.2 % ทั้งนี้คาดกันว่า ตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งปีของปี 2568 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 600,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ประมาณ 5 % จากสภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในส่วนตัวเลขยอดจำหน่ายรถใหม่เฉพาะเดือนธันวาคม 2567 ทั้งตลาดมียอดจำหน่ายรวมกันที่ 54,016 คัน ลดลง 14,275 คัน หรือลดลง 20.9 % เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 ยอดจำหน่ายสูงสุดในเดือนนี้ ประกอบด้วยรถ TOYOTA 20,869 คัน ลดลง 3,236 คัน หรือลดลง 13.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 38.6 % อันดับ 2 HONDA 9,252 คัน ลดลง 568 คัน หรือลดลง 5.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 17.1 % อันดับ 3 ISUZU 8,153 คัน ลดลง 2,111 คัน หรือลดลง 20.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 15.1 % อันดับ 4 MITSUBISHI 2,678 คัน เพิ่มขึ้น 476 คัน หรือเพิ่มขึ้น 21.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.0 % และอันดับ 5 FORD 1,842 คัน ลดลง 986 คัน หรือลดลง 34.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 3.4 %
ส่วนรถพิคอัพ 1 ตัน เป็นปีที่สาหัสสากรรจ์โดยแท้ทรู ทั้งปีรถพิคอัพที่มีจำหน่ายอยู่ 8 ยี่ห้อ มียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 200,190 คัน ลดลงถึง 38.4 % หรือทำยอดจำหน่ายหายไปถึง 124,834 คัน เมื่อเทียบกับปี 2566 พิคอัพยอดจำหน่ายสูงสุดประจำปี 2567 ได้แก่ TOYOTA จำหน่ายได้ 91,001 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 45.5 % เป็นยอดจำหน่ายที่น้อยกว่าที่เคยทำได้ในปี 2566 ถึง 37,688 คัน หรือลดลง 29.3 % อันดับ 2 ISUZU 74,594 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 37.3 % จำหน่ายได้น้อยลง 61,756 คัน หรือลดลง 45.3 % อันดับ 3 FORD จำหน่ายได้ 20,865 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 10.4 % ลดลง 15,596 คัน หรือลดลง 42.8 % อันดับ 4 MITSUBISHI 9,135 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 4.6 % ลดลง 8,007 คัน หรือลดลง 46.7 % และอันดับ 5 NISSAN จำหน่ายได้ 2,964 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 1.5 % ลดลง 1,654 คัน หรือลดลง 35.8 %
เฉพาะเดือนธันวาคม 2567 ตลาดนี้มีตัวเลขยอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 18,904 คัน ลดลง 21.3 % หรือลดลง 5,119 คัน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 ยอดจำหน่ายสูงสุดประกอบด้วย อันดับ 1 TOYOTA 8,061 คัน ลดลง 2,553 คัน หรือลดลง 24.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 42.6 % อันดับ 2 ISUZU 7,327 คัน ลดลง 1,763 คัน หรือลดลง 19.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 38.8 % อันดับ 3 FORD 1,842 คัน ลดลง 983 คัน หรือลดลง 34.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 9.7 % อันดับ 4 MITSUBISHI 1,184 คัน เพิ่มขึ้น 121 คัน หรือเพิ่มขึ้น 11.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.3 % และอันดับ 5 NISSAN 280 คัน ลดลง 73 คัน หรือลดลง 20.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.5 %
สำหรับรถกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเอสยูวี ตลาดนี้เจ็บตัวน้อยหน่อย ยอดจำหน่ายรวมทั้งปีอยู่ที่ 110,438 คัน เทียบกับยอดจำหน่ายรวมของปี 2566 แล้วลดลงเพียง 3,810 คัน หรือลดลง 3.3 % ตลาดนี้พี่ใหญ่ TOYOTA ได้รับความนิยมสูงสุด จำหน่ายได้รวมทั้งสิ้น 50,940 คัน ถือครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 46.1 % เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้นถึง 22,780 คัน หรือเพิ่มขึ้น 80.9 % เมื่อเทียบกับปี 2566 อันดับ 2 ค่าย HONDA จำหน่ายได้รวม 29,979 คัน ได้ส่วนแบ่งการตลาดไป 27.1 % แต่เป็นยอดจำหน่ายที่ลดลง 20.3 % หรือลดลง 7,634 คัน อันดับ 3 BYD จำหน่ายได้ 7,862 คัน ครองส่วนแบ่งการตลาด 7.1 % จำหน่ายได้น้อยลงถึง 59.1 % หรือลดลงถึง 11,351 คัน อันดับ 4 เป็นของค่ายน้องใหม่มาแรง CHANGAN (ฉางอัน) จำหน่ายได้ 4,071 คัน ครองส่วนแบ่งการตลาด 3.7 % และอันดับ 5 GWM จำหน่ายได้ 3,634 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 3.3 % จำหน่ายน้อยลง 48.0 % หรือหายไป 3,359 คัน
เดือนสุดท้ายของปี 2567 รถเอสยูวีจำหน่ายได้รวมทั้งสิ้น 10,959 คัน ลดลง 17.7 % หรือลดลง 2,356 คัน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 จำหน่ายได้มากสุดเป็น TOYOTA 4,420 คัน ลดลง 824 คัน หรือลดลง 15.7 % เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 ส่วนแบ่งการตลาด 40.3 % อันดับ 2 HONDA 3,826 คัน ลดลง 568 คัน หรือลดลง 12.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 34.9 % อันดับ 3 ค่าย CHANGAN 802 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.3 % อันดับ 4 GWM 368 คัน ลดลง 539 คัน หรือลดลง 59.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 3.4 % และอันดับ 5 MAZDA (มาซดา) 349 คัน ลดลง 100 คัน หรือลดลง 22.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 3.2 %
ในปี 2567 ที่ผ่านมา ยังมีรถเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ที่จำหน่ายได้รวมทั้งสิ้น 37,899 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่น้อยลงกว่าที่เคยทำได้ในปี 2566 ที่ 13.7 % หรือน้อยลง 6,012 คัน ในเดือนธันวาคม รถยนต์เหล่านี้จำหน่ายได้รวมทั้งสิ้น 3,426 คัน ลดลง 1,386 คัน หรือลดลง 28.8 % เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 และเดือนธันวาคม 2567 มีการจดทะเบียนรถเอสยูวี และรถพิคอัพ 1 ตัน รวมทั้งสิ้น 17,360 คัน น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2566 อยู่ 5,506 คัน หรือลดลง 24.1 %