ปัจจุบันความนิยมของการใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้บริการที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานที่ชาร์จรถไฟฟ้า เพื่อให้ทันต่อความนิยมใช้ของผู้บริโภคและเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้า รวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ ต่างพยายามค้นหาวิธีการและเทคนิคใหม่ๆ เพื่อใช้ในการชาร์จแบทเตอรีที่ไม่ต้องการพื้นที่มากนัก ปัจจุบัน สถานีให้บริการชาร์จไฟฟ้า โดยติดตั้งที่เสาไฟฟ้า ในชื่อ Ebee Smart Technologies Streetlight รุกเข้าไปให้บริการใน Lancaster, California แล้ว ในประเทศอังกฤษก็มี Ubitricity ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้าโดยติดตั้งอยู่ที่เสาไฟฟ้าลักษณะเดียวกัน แต่ทางด้าน Ebee กลับใช้วิธีการที่แตกต่างกัน โดยแทนที่จะเสียบสายไฟฟ้าจากเสาไฟฟ้าด้วยปลั๊กธรรมดา แต่ Ebee ติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้า เข้ากับเสาไฟฟ้าโดยตรง การให้บริการลักษณะนี้สำหรับเมือง Lancaster น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะผู้ที่ผ่านไปมา และจำเป็นต้องจอดรถเอาไว้ชั่วครั้งคราว สามารถใช้บริการได้ โดยไม่จำเป็นต้องจอดทิ้งไว้ข้ามคืนเหมือนในอังกฤษ ส่วนที่ชาร์จของ Ubitricity มีเพียงสายสำหรับนำไปเสียบชาร์จที่ยึดเอาไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายระหว่างการเสียบชาร์จ ขณะที่ของ Ebee มีทั้งที่ชาร์จในระบบของอเมริกัน และปลั๊กสำหรับนำสายมาเสียบ แต่สถานีบริการชาร์จไฟของทั้งสองประเทศ มีหลักคิดในการใช้พื้นที่ติดตั้งให้น้อยที่สุด และไม่ต้องการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติม เพราะเมื่อติดตั้งกับเสาไฟฟ้า ก็เท่ากับว่ามีกระแสไฟฟ้าพร้อมใช้งานอยู่แล้ว Ebee เคยติดตั้งจุดบริการชาร์จแบทเตอรีรถไฟฟ้าในยุโรป มามากกว่า 10,000 เสาไฟฟ้า แต่สำหรับใน California เริ่มการติดตั้งครั้งแรกเพียง 5 จุด ในบริเวณภายในเมือง โดยค่าใช้จ่ายราว 80 % เป็นของเทศบาลเมือง ซึ่งรวมถึงค่าบำรุงรักษา สำหรับการเก็บข้อมูลระยะเวลา 5 ปี ส่วนค่าใช้จ่ายอีก 20 % จะเป็นของ Ebee California นับเป็นตลาดรถไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา การพัฒนาจุดชาร์จแบทเตอรีสำหรับรถไฟฟ้า นับเป็นเรื่องที่ชื่นชมของบรรดาผู้ใช้รถไฟฟ้าเป็นอย่างมาก