Nissan จับมือกับ Sumitomo ยักษ์ใหญ่ทเรดิงคัมพานี ของญี่ปุ่น เตรียมเปิดโรงงานเพื่อวิเคราะห์, การนำกลับไปใช้ใหม่ และการรีไซเคิล ชุดแบทเตอรีรถยนต์ที่ใช้งานแล้ว จากรถไฟฟ้าของ นิสสันโรงงานรีไซเคิลแห่งนี้ จะสร้างอยู่ในเมือง Namie ทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประสบภัยพิบัติจากมหาวาตภัยคลื่นยักษ์ สึนามิ เมื่อปี 2554 ซึ่งทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูพื้นที่ในบริเวณนี้ขึ้นมาใหม่ โดยตั้งเป้าให้เป็นเมืองที่ใช้พลังงานสะอาด และยานยนต์ไร้มลภาวะ บริษัทรีไซเคิลแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า 4R Energy Corpoation เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ทันกับการที่ชุดแบทเตอรีจากรถไฟฟ้า เริ่มหมดอายุการใช้งาน แม้ว่าจะมีการค้นคว้า เพื่อนำไปใช้เป็นอุปกรณ์กักเก็บกระแสไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือนก็ตาม และจำเป็นต้องเริ่มการรีไซเคิล หรือกำจัด หากไม่ต้องการใช้งานต่อ ประเทศญี่ปุ่น มีข้อบังคับในการตรวจสอบรถยนต์ใช้แล้วอย่างเข้มงวด ทำให้อายุการใช้งานรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น ใช้งานกันเพียง 5-7 ปี และเริ่มเปลี่ยนไปใช้รถคันใหม่ แทนที่จะใช้งานรถคันเก่าที่จะต้องปรับปรุงเครื่องยนต์และค่าไอเสีย ให้ได้ตามเกณฑ์อยู่ตลอดเวลา อันที่จริง 4R Energy Corpoation เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2553 ก่อนที่ Nissan Leaf จะขึ้นสายการผลิตอย่างเป็นทางการ แต่ก็จำเป็นต้องมีการให้ความรู้แก่พนักงาน ในการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ โดยจำเป็นต้องว่าจ้าง “ผู้ชำนาญการที่ทรงคุณค่า” เข้ามาดำเนินการ ชุดแบทเตอรีของ Nissan Leaf และ e-NV 200 ที่หมดอายุจากทั่วโลก จะถูกส่งมายังโรงงานในเมืองนามีแห่งนี้ เพื่อทำการรีไซเคิล โรงงานได้พัฒนาระบบเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดแบทเตอรีโดยรวม และแบทเตอรีเฉพาะโมดูล เพื่อตรวจสอบว่าชุดแบทเตอรี หรือโมดูล ชิ้นไหนบ้าง ที่สามารถนำกลับมาใช้ซำ้ได้อีกครั้ง และชิ้นไหนที่จำเป็นต้องรีไซเคิล หรือทำลาย ชุดแบทเตอรี หรือโมดูล ที่ยังสามารถรับความจุของกระแสไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บได้ จะถูกนำกลับมาใช้ซ้ำ ประกอบกลับเป็นชุดแบทเตอรีสำเร็จรูปอีกครั้ง และชุดที่เหมาะสม ก็จะนำไปจำหน่ายสำหรับรถไฟฟ้ารุ่นเก่าๆ ให้ใช้งานอีกครั้ง ชุดแบทเตอรีบางชุด จะสามารถนำกลับไปใช้ในรถยกที่ใช้ในโรงงาน ที่ต้องชาร์จกระแสไฟฟ้าบ่อยครั้ง หรือระบบกักเก็บกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงงาน และอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่นๆ ชุดแบทเตอรีที่ถูกพิจารณาว่าหมดอายุสำหรับการใช้ในรถไฟฟ้า โดยปกติจะมีความจุกระแสไฟฟ้า ต่ำกว่า 70 % ของอัตราการใช้งานปกติ ด้วยการเจริญเติบโตของความต้องการใช้งานชุดแบทเตอรี ทำให้วัสดุใต้พื้นผิวดินที่นำมาผลิตเป็นแบทเตอรีที่หาได้ยาก แม้กระทั่งค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อมในการทำเหมืองแร่ ทำให้อุตสาหกรรมการรีไซเคิลชุดแบทเตอรี นับวันจะมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มมากขึ้น