สำหรับการผลิตรถไฟฟ้า สิ่งสำคัญที่สุดในปัจจุบัน น่าจะเป็นชุดแบทเตอรีขนาดต่างๆ ที่ค่ายรถยนต์ต้องการใช้งานตามขนาดความจุกระแสไฟฟ้า ทั้งความเร็วในการอัดประจุ จึงทำให้ราคาแตกต่างจากกัน รวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น นิคเคิล ลิเธียม หรืออื่นๆ มีแหล่งผลิตที่แตกต่างกันล่าสุดค่าย Toyota เตรียมการสำหรับการผลิตรถไฟฟ้าในอนาคต ด้วยการจับมือลงนามในสัญญาสั่งซื้อชุดแบทเตอรี จาก Contemporary Amex Technologies (CATL) และ BYD ผู้ผลิตยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมกราคม ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ได้ลงนามในข้อตกลงที่จะสั่งซื้อชุดแบทเตอรี กับ Panasonic ไปแล้วเช่นกัน รายละเอียดในการตกลงสั่งซื้อของทั้ง 3 ค่าย ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน โดย Toyota จะทำงานร่วมกันกับผู้ผลิต ทั้งในการพัฒนาแบทเตอรีโซลิด สเตท ชนิดใหม่ รวมไปถึงการรีไซเคิลชุดแบทเตอรีที่หมดอายุ ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตขึ้นมาด้วย ในอดีต ผู้บริหาร Toyota เคยระบุเอาไว้ว่า ไม่เชื่อถือความสามารถของแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับรถไฟฟ้า รวมทั้งคาดหวังวิวัฒนาการด้านเคมี ที่จะผลิตชุดแบทเตอรี ที่ให้ยอมรับในการทำงานได้ มีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยเพียงพอ สำหรับการใช้งานกับรถไฟฟ้า ค่ายรถยนต์บางค่ายที่เริ่มการพัฒนารถไฟฟ้า และส่งออกสู่ตลาดไปบ้างแล้ว แต่ในขณะที่ Toyota และผู้ผลิตบางค่าย กลับไม่มีข่าวคราวใดๆ ขณะที่ค่ายรถยนต์อื่นๆ ต่างก็พากันเตรียมการจัดหาผู้ผลิตขิ้นส่วนของตนเอง สำหรับการเริ่มต้นผลิตรถไฟฟ้าในอนาคต เมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ค่าย Toyota เพิ่งจะประกาศความร่วมมือกับ Subaru ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตรถ เอสยูวี พลังไฟฟ้า สำนักข่าวรอยเตอร์ สัมภาษณ์ Shigeki Terashi รองประธานบริหาร ที่ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า Toyota คาดหวังยอดขายในปี 2568 ราวครึ่งหนึ่ง จะมาจากรถไฮบริด รถไฟฟ้า หรือรถที่ต้องการเสียบชาร์จ กล่าวว่า “น่าจะยังมีช่องว่างของความต้องการชุดแบทเตอรี ในส่วนที่เราผลิตได้ กับส่วนที่จำเป็นต้องใช้ในอนาคต”