เพเทร์ รังเคิล (Peter Rankl) ประธานฝ่ายบริหารภูมิภาคอาเซียน บริษัท คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ แบงคอก จำกัด เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 ของปี 2563 Continental (คอนทิเนนทัล) ประสบความสำเร็จในการลดค่าใช้จ่าย และต้นทุนของบริษัทลงอย่างต่อเนื่อง และได้มีการอนุมัติเม็ดเงินในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 ทั้งนี้ถึงแม้ว่ายอดขายของบริษัทในไตรมาสที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 ลดลไป 2.7 % แต่เมื่อมองที่ภาพรวมของรายได้มียอดเพิ่มขึ้น 8.1 % โดยมีการคาดการณ์รายได้รวมของ คอนติเนนทอล กรุ๊ป ที่ 37.5 พันล้านยูโร เป็นผลกำไร 3 % ทั้งนี้ คาคว่ากลุ่มธุรกิจออโตโมทีฟ จะทำรายได้ประมาณ 58.5 % ของรายได้ทั้งหมด คิดเป็นจำนวนอยู่ที่ประมาณ 22 พันล้านยูโร
นอกจากนี้ Continental ยังคงเดินหน้าพโรเจคท์ปฏิรูปองค์กรอย่างยั่งยืน หรือ Transformation C ตั้งแต่ 2572 รวมระยะเวลา 10 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ และส่งเสริมการเติบโตขององค์กรในระยะยาวอย่างยั่งยืน
ในส่วนของนวัตกรรรมยานยนต์ยุคดิจิทอล มีการนำเสนอแบ่งเป็น 2 กลุ่มธุรกิจ คือ การขับเคลื่อนอัตโนมัติ และความปลอดภัย (Autonomous Mobility and Safety) เครือข่าย และการเชื่อมต่อข้อมูลยานพาหนะ (Vehicle Networking and Information) โดยในส่วนแรกมีการนำเสนอเทคโนโลยี Cruising Chauffeur ที่จะเข้าควบคุมการขับขี่ทั้งหมดจากคนขับในขณะที่อยู่บนทางด่วน และเมื่อใกล้สิ้นสุดทางด่วนจะมีการแจ้งเตือนต่างๆ เช่น การส่งเสียง กะพริบไฟ ไปจนถึงการสั่นเบาะ เพื่อให้คนขับรับช่วงการขับขี่ต่อบนทางปกติ ซึ่งหากคนขับไม่มีการตอบสนอง รถก็จะหาทางเข้าจอดในบริเวณจอดรถฉุกเฉินโดยอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัย เทคโนโลยีต่อมาที่ทำให้คนขับไม่ต้องเสียเวลาในการจอดรถอีกต่อไป คือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า Valet Parking แค่คนขับลงจากรถตรงจุดส่งรถ จากนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรถในการขับผ่านไม้กั้น และวนเข้าไปหาที่จอด และจอดรถอัตโนมัติอย่างแม่นยำแม้ในพื้นที่แคบ และยังสามารถขับกลับไปหาคนขับ ณ จุดส่งรถโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีการกดปุ่มเรียกรถจากแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความอัจฉริยะในระบบเครือข่าย และการเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ Continental ก็ได้มีการนำเสนอ Cosma ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้เราสามารถสื่อสาร สั่งการ รวมถึงเฝ้าดูรถได้จากโทรศัพท์มือถือ และในส่วนของเทคโนโลยีภายในห้องโดยสาร Continental ได้กล่าวถึงหน้าจอ 3 มิติที่ดูเป็นธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี Light Field ซึ่งเป็นมิติใหม่ของระบบ 3 มิติที่ทำให้ผู้โดยสารด้านหน้า ด้านหลัง และคนขับได้สัมผัสประสบการณ์ 3 มิติ โดยไม่ต้องใส่แว่น และไม่รบกวนสมาธิในการขับขี่อีกด้วย สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในนวัตกรรมยานยนต์นั้นก็คือ ระบบเทเลเมติคส์ ที่เป็นการเชื่อมต่อยานพาหนะทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ เข้ากับคลื่นสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการนำยานพาหนะเข้าสู่โลกแห่งการขับเคลื่อนอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังคลายความกังวลในด้านความปลอดภัยกับตัวรถ และผู้ใช้รถ รวมไปถึงการเข้าถึงความบันเทิง และการอัพเดทแอพพลิเคชัน หรือซอฟท์แวร์ต่างๆ
ทั้งนี้ เทคโนโลยีที่นำเสนอมาเกือบทั้งหมดจาก Continental นั้น ได้มีการนำเอามาใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดของ Volkswagen ID.3 (โฟล์คสวาเกน ไอดี.3) เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้สัมผัสประสบการณ์รถยนต์ที่เป็นนวัตกรรมอันล้ำหน้าจาก Continental ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เพเทร์ รังเคิล (Peter Rankl) ประธานฝ่ายบริหารภูมิภาคอาเซียน บริษัท คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ แบงคอก จำกัด
ดร. ณรงศักดิ์ รัตนสุวรรณชาติ ผู้อำนวยการฝายขายแลการตลาดภูมิภาคอาเซียน