รายงานข่าวจาก Car and Driver สหรัฐอเมริกา ได้นำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ มาวิ่งทดสอบด้วยระยะทางพอสมควร และทำเป็นประจำกับรถทุกยี่ห้อ ที่ออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา เพื่อรายงานผลการทดลองขับให้แก่ผู้บริโภคได้รับทราบล่าสุดได้นำรถไฟฟ้า Tesla Model 3 มาวิ่งใช้งานเพื่อทดสอบ ด้วยระยะทางกว่า 64,000 กม. จึงพบว่า ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาราคาไม่ได้ถูกอย่างที่คิด ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มักพูดกันว่า การใช้รถไฟฟ้า จะช่วยให้ค่าบำรุงรักษาถูกกว่าการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ก็ไม่ใช่คำพูดที่ถูกต้องเสมอไป ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองขับ Tesla Model 3 ด้วยระยะทางมากกว่า 48,300 กม. และพบว่า “ค่าบำรุงรักษาที่แท้จริง ไม่ได้มีราคาถูกมากอย่างที่คิด” อันที่จริงรถไฟฟ้า ก็มีค่าบำรุงรักษาถูกกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่ทดลองขับควบคู่กันไปอีก 2 คัน ได้แก่ BMW M340i และ Kia Telluride ในเวลาเดียวกัน แม้ว่ารถไฟฟ้า จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง แต่ Tesla Model 3 ก็ยังต้องเปลี่ยนผ้าเบรค ในทางทฤษฎีแล้วการใช้เบรคน้อยกว่ารถยนต์ปกติ แต่เนื่องจากรถไฟฟ้า ต้องใช้เบรคที่รุนแรง เพื่อหยุดรถเพียงประการเดียว ไม่เหมือนเครื่องยนต์ ที่ต้องใช้เอนจินเบรคเพื่อช่วยลดความเร็ว และจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าเบรคทั้งสิ้น 3 ครั้ง ค่าใช้จ่ายโดยรวม 12,960 บาท แม้ว่าจะเป็นราคาที่ถูกกว่า BMW ราคา 16,170 บาท หรือ Kia ราคา 21,840 บาท ก็ตาม แต่เมื่อรวมเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า ราคาไม่ได้ถูกกว่ากันสักเท่าไร นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน ซึ่งไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมชำรุงตามปกติ อาทิ ค่าเปลี่ยนกระจก ซันรูฟ ราคา 36,000 บาท และกระจกบังลมหน้า ราคา 33,000 บาท เช่นเดียวกับเมื่อรถวิ่งได้ระยะ 48,000 กม. ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนยาง จากยางมาตรฐาน Michelin Primacy MXM4 เป็นยางที่มีลายดอกค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับยางมาตรฐานที่จำหน่ายโดยทั่วไป โดยเปลี่ยนเป็นยางรุ่นสูงกว่า Michelin Pilot Sport 4 ด้วยราคาค่าใช้จ่าย 34,710 บาท แต่รถไฟฟ้าไม่ต้องบำรุงรักษาจนกว่าจะถึงระยะทางได้ประมาณ 64,000 กม. ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า ค่าบำรุงรักษาของการใช้รถไฟฟ้า ไม่ได้ถูกกว่าการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในมากเหมือนอย่างที่พูดกันทั่วไป