ครรชิต ไชยสุโพธิ์ รองประธานฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ Great Wall Motor ประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์ที่ดีที่สุดของโลก ประกอบกับนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเตรียมผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อการผลิตยานยนต์ภายในประเทศให้เป็นยานยนต์ไร้มลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle (ZEV) ในสัดส่วน 30 % ภายในปี พศ. 2573 ซึ่งแนวทางนี้ สอดคล้องกับหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการลงทุนสร้างฐานการผลิต และดำเนินธุรกิจในไทยของ Great Wall Motor ที่พร้อมยกระดับขีดความสามารถการผลิต และนำเสนอเทคโน โลยีพลังงานทางเลือก (New Energy Technology) เพื่อนำผู้บริโภค และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่ความยั่งยืนควบคู่กับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในอนาคต
นอกจากการตั้งฐานการผลิตเต็มรูปแบบในประเทศไทย และอีกหลายแห่งทั่วโลกแล้ว Great Wall Motor ได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนากว่า 10 แห่ง ใน 7 ประเทศทั่วโลก เพื่อสร้างสรรค์รถยนต์เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก (New Energy Technology) ต่างๆ ในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle) ยานยนต์พลัก-อิน ไฮบริด (Plug -In Hybrid Electric Vehicle) ยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ (Battery Electric Vehicle) ตลอดจนยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Energy Fuel Cell Electric Vehicle) เป็นต้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าโลก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้แก่ GWM Electrification Technology ที่ครอบคลุม 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ แบทเตอรี มอเตอร์ และระบบควบคุมอีเลคทรอนิคส์ โดยการรวมโมดูลที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อให้แบทเตอรีมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพสูง มีการใช้พลังงานต่ำ และมีอายุการใช้งานแบทเตอรียาวนาน จนสามารถใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า 12.5 กิโลวัตต์/ระยะการขับขี่ 100 กม. ได้ ซึ่งจะทำให้รถไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลถึง 600 กม./1 การชาร์จ
นอกจากนี้ Great Wall Motor ยังได้พัฒนาพแลทฟอร์มใหม่เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า (XEV) อย่างพแลทฟอร์ม GWM Lemon ซึ่งเป็นพแลทฟอร์มโมดูลาร์อัจฉริยะระดับโลก ที่มีคุณสมบัติเด่น 5 ประการ ได้แก่ 1) น้ำหนักเบา (Lightweight) 2) ใช้พลังงานจากไฟฟ้า (Electrification) 3) สามารถใช้งานได้หลายหลายรูปแบบ (Multi-Purpose) 4) มีระบบการปกป้องรอบด้าน (Omni-Protection) และ 5) มีความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่าย (Network) โดยพแลทฟอร์ม GWM Lemon จะสามารถสนับสนุนระบบส่งกำลังได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine : ICE) เครื่องยนต์ไฮบริดแบบ Dual Hybrid Transmission แบบ P2 P2+ หรือP4 รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบทเตอรี (Battery Electric Vehicle : BEV) หรือรถยนต์ประเภทเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle : FCEV)
โดยก่อนหน้านี้ Great Wall Motor ได้ประกาศยุทธศาสตร์หลัก เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นแบรนด์ระดับโลก ภายในปี 2568 ด้วยเป้าหมายยอดขายรถยนต์ทั่วโลกมากกว่า 4,000,000 คัน โดยจะคิดเป็นสัดส่วนรถยนต์พลังงานใหม่กว่า 80 % เพื่อสร้างสรรค์เทคโน โลยีที่ชาญฉลาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก และสำหรับประเทศไทย Great Wall Motor มีแผนที่จะเตรียมนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยภายในปีนี้ โดยจะนำรถยนต์ไฟฟ้ายอดนิยมจากแบรนด์ Ora (ออรา) อย่าง Ora Good Cat (ออรา กูด แคท) เข้ามาเป็นรุ่นแรก และในปี พศ. 2566 เป็นต้นไป Great Wall Motor มีแผนที่จะเริ่มสายการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าระยะทางวิ่งไกล (Long-Range BEV) รุ่นต่างๆ เพื่อจำหน่ายในตลาดประ เทศไทย และส่งออก นอกจากนี้ บริษัทยังพร้อมนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคตให้แก่ทั้งผู้บริโภคชาวไทย และตลาดรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน โดยจะคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหัวใจสำคัญอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกคนจะขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของ Great Wall Motor ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอันล้ำสมัยได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล ด้วยระยะการขับขี่ที่ไกลกว่า รู้สึกสนุกไปกับทุกการขับขี่ในทุกๆ เส้นทาง ด้วยราคารถยนต์ที่เหมาะสม และคุ้มค่าอย่างแน่นอน
ครรชิต ยังได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการขับเคลื่อน และการผลักดันมาตรการเพื่อก้าวสู่ยุคแห่งการผลิตยานยนต์ไร้มลพิษของไทยว่า กลไกสำคัญในการผลักดัน Zero Emission Vehicle (ZEV) ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศไทย คือ การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การเพิ่มพูนทักษะองค์ความรู้ เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ตลอดจนการสร้างอุปสงค์ และอุปทาน เพื่อสร้างระบบ Ecosystem อย่างสมบูรณ์แบบของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ต่างๆ ให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังรวมถึงการผลักดันผ่านนโยบายจากทางภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการให้เงินสนับสนุนเพื่อจูงใจให้คนเปลี่ยนมา ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือการกระตุ้นความต้องการของตลาดด้วยการสร้างความเป็นมิตรต่อผู้ใช้จากภาคเอกชน เช่น การอำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสามารถค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ง่าย สะดวกสบายยิ่งขึ้น การสื่อสาร และให้ความรู้แก่สาธารณ ชนให้ทราบถึงนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เป็นต้น