รายงานข่าวจาก Visual capitalist เผยแพร่รายชื่อผู้ผลิตชุดแบทเตอรี 10 อันดับแรกในโลกใบนี้ พร้อมประมาณการว่าตลาดของชุดแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าประมาณ 27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ/ปี หรือประมาณ 810 พันล้านบาทนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรม ระบุว่า จากความต้องการชุดแบทเตอรี ทำให้ผู้ผลิตมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ พร้อมทั้งประเมินว่าภายในปี 2570 ตลาดชุดแบทเตอรีจะเติบโตขึ้นไปถึงมูลค่าประมาณ 127 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,810 พันล้านบาท ในความต้องการชุดแบทเตอรีจากผู้บริโภค จะมีราคาถูกลง ตลาดเอเชีย ถือเป็นตลาดที่มีการวิจัยและพัฒนาชุดแบทเตอรีมากที่สุด รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตเพื่อป้อนตลาดรถไฟฟ้า ทำให้บรรดาผู้ผลิตชุดแบทเตอรี ที่มีการผลิตสูงสุด คิดจากส่วนแบ่งการตลาด ล้วนมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะ จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำนักวิจัยรายใหญ่แห่งหนึ่งประเมินความต้องการชุดแบทเตอรี จึงทำให้ผู้ผลิตมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ คาดว่าภายในปี 2570 ตลาดชุดแบทเตอรีจะเติบโตขึ้นไปถึงมูลค่าประมาณ 127 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,810 พันล้านบาท เกาหลีใต้ เผยรายชื่อผู้ผลิตชุดแบทเตอรี ชั้นนำ 10 อันดับแรก โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ CATL, LG และ Panasonic มีผลผลิตรวมกันเกือบ 70 % ของผู้ผลิตทั้งหมด มาดู 10 ลำดับ ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ผลิตแบทเตอรีชั้นนำ ได้แก่ อันดับ 1 CATL ส่วนแบ่ง 32.5 % (จีน), อันดับ 2 LG Energy Solution ส่วนแบ่ง 21.5 % (เกาหลีใต้), อันดับ 3 Panasonic ส่วนแบ่ง 14.7 % (ญี่ปุ่น), อันดับ 4 BYD ส่วนแบ่ง 6.9 % (จีน), อันดับ 5 Samsung SDI ส่วนแบ่ง 5.4 % (เกาหลีใต้), อันดับ 6 SK Innovation ส่วนแบ่ง 5.1 % (เกาหลีใต้), อันดับ 7 CALB ส่วนแบ่ง 2.7 % (จีน), อันดับ 8 AESC ส่วนแบ่ง 2.0 % (ญี่ปุ่น), อันดับ 9 Guoxuan ส่วนแบ่ง 2.0 % (จีน) และอันดับ 10 PEVE ส่วนแบ่ง 1.3 % (ญี่ปุ่น) CATL มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมือง Ningde ใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี ในการก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ในการผลิตชุดแบทเตอรี โดยเป็นผู้ผลิตชุดแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน ฟอสเฟท ให้แก่ Tesla, Peugeot, Hyundai, Honda, BMW, Toyota, Volkswagen และ Volvo โดยมูลค่าหุ้นของบริษัทพุ่งถึง 160 % ในปี 2563 มีมูลค่าตลาดเกือบ 186 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5,580 พันล้านบาท