Petronas บริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ได้ทำการพัฒนาของเหลวระบายความร้อนสำหรับรถ EVs ให้มีคุณสมบัติในการการหล่อลื่นด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถ EVs ได้ถึง 10%นับแต่มีการผลิดรถไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มีการพลิกโฉมเทคโนโลยีของรถยนต์ให้ต่างไปจากเดิมไปหลายแนวทาง ทั้งการการผลิต รูปแบบการขับขี่ การเติมเชื้อเพลิง การออกแบบยาง ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่เราอาจไม่เห็น เช่นการพัฒนาการของเหลว ที่ใช้กับขุมพลังมอเตอร์ไฟฟ้า และระบบถ่ายทอดกำลัง ให้มีประสิทธิภาพ และอายุยืนยาวขึ้น ปกติในรถยนต์เครื่องสันดาปภายใน จะใช้สารหล่อลื่นในหลายส่วน และหลากหลายหน้าที่ เช่น การใส่นำยาหม้อน้ำในระบบระบายความร้อน การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นเกรด/ชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละประเภทตามการใช้งาน รวมไปถึงระบบเกียร์ ระบบเพลาขับ และสารหล่อลื่นจะช่วยระบายความร้อนให้กับระบบไปด้วย การทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำให้เกิดความร้อนมหาศาลในส่วนต่างๆ และต้องใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสม แต่สารหล่อลื่นที่ใช้ในรถ EV กลับแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าในระบบถ่ายทอดกำลังของรถไฟฟ้า ที่ยังใช้การหล่อลื่น และการหล่อเย็นอยู่ แต่ที่สำคัญคือการควบคุมอูณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบถ่ายทอดกำลังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ผลิตสารหล่อลื่น จึงต้องเริ่มพัฒนาสารหล่อลื่นที่เหมาะสำหรับรถ EV Petronas Lubricants International เป็นผู้พัฒนาของเหลวพิเศษ สำหรับใช้งานกับรถ EV โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งการหล่อลื่น และการระบายความร้อน เพื่อให้รถมีระยะเดินทางที่มากขึ้น โดยปกติในรถ EV มีการระบายความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในรถ ด้วยการใช้ของเหลวไหลผ่านแผงระบายความร้อนของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ หรือเซลแบทเตอรี แล้วนำไปยังระบบระบายความร้อน เพื่อหมุนเวียนมาใช้เหมือนปกติ ปัจจุบันรถไฟฟ้าใช้ระบบระบายความร้อน โดยให้ของเหลวไหลผ่านครีบระบายความร้อน แต่ยังไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะยังมีความร้อนหลงเหลืออยู่ในระบบ ทางทีมงานจึงทำการพัฒนาของเหลวไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า ที่สามารถไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งแผงวงจร ซีล แผ่นทองเหลือง หรือชิ้นส่วนพลาสติก นอกจากหน้าที่ในการระบายความร้อนให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้ว ยังทำหน้าที่หล่อลื่น และระบายความร้อน ให้กับระบบกลไก มอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ซึ่งจะถูกรวมเข้าไปเป็นในระบบเดียวกัน การระบายความร้อนนับเป็นหัวใจของการชาร์จแบตเตอรี เพราะหากระบายความร้อนได้เร็ว การชาร์จจะเร็วขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างใน Porsche Taycan และ Hyundai ioniq5 ที่สามารถรองรับการชาร์จ DC (กระแสตรง) ได้ถึง 350kW ในช่วงแรก จากนั้นตัวควบคุมจะปรับลดกระแส เพื่อป้องกันการเสียหายของแบทเตอรี โดยปกติ Porsche Taycan จะใช้เวลาชาร์จทั้งสิ้น 41 นาที แต่ถ้ามีการจัดการระบบระบายความร้อนระบบการชาร์จทแล้ว จะทำให้ใช้เวลาเพียง 16 นาทีเท่านั้น จึงเห็นว่าในอนาคต การพัฒนาของเหลวหล่อเย็นก็สำคัญไม่น้อย