สำหรับรถจักรยานยนต์ BEV ที่เข้าร่วมมาตรการฯ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ต้องเป็นแบทเตอรีประเภทลิเธียม-ไอออน
2. มีความจุแบทเตอรีตั้งแต่ 3 กิโลวัตต์ชั่วโมง ขึ้นไป หรือมีระยะทางที่วิ่งได้ตั้งแต่ 75 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง ตามมาตรฐาน WMTC (World Motorcycle Test Cycle) ตั้งแต่ Class 1 ขึ้นไป
3. ต้องใช้ยางล้อที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรฐานเลขที่ มอก. 2720-2560 (UN Reg. 75) หรือที่สูงกว่า (UN Reg. 75)
4. ต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 2952-2561 (UN Reg. 136) หรือที่สูงกว่า
ลวรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท เดโก กรีน เอนเนอร์จี จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจประกอบ ผลิต และจำหน่ายรถจักรยานยนต์ BEV ทั้งภายในประเทศ และส่งออกได้ลงนามในข้อตกลงกับกรมสรรพสามิตตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดย เดโกฯ ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ BEV รายแรกที่เข้าร่วมมาตรการฯ ซึ่งบริษัทฯ มีความพร้อมในการผลิตรถจักรยานยนต์ BEV ในประเทศ และขอรับสิทธิ์จำนวน 8 รุ่น ได้แก่ Hannah, Sofia, Luciano, Susu, Soperace, Doubleace, G-Fie และ Taitan ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2565 จำนวน 32,000 คัน ปี 2566 จำนวน 38,400 คัน ปี 2567 จำนวน 46,400 ปี 2568 จำนวน 56,000 คัน
"จากการที่รัฐบาลมีมาตรการฯ ดังกล่าว ขณะนี้มีผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้นำเข้ารถยนต์ จำนวน 4 ราย และรถจักรยานยนต์ จำนวน 1 ราย ที่เข้าร่วมลงนามกับกรมสรรพสามิตแล้ว โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจทยอยเข้าร่วมลงนามเพิ่มขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะส่งผลให้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ BEV มีราคาลดลง และสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และช่วยส่งผลดีต่อการลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ"