ธุรกิจ
สอท. เผยยอดผลิตรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2566
ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ดังต่อไปนี้
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2566 มีทั้งสิ้น 150,532 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 16.48 เพราะผลิตส่งออก และผลิตขายในประเทศ ทั้งรถยนต์นั่ง และรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากฐานต่ำของปีก่อน เนื่องจากขาดแคลนชิพจากสงครามยูเครน และการระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีน และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 27.96
รถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 775,955 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 6.72 โดยรถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 50,891 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 26.76
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มีจำนวน 270,761 คัน เท่ากับร้อยละ 34.89 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 27.04
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 16 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 100 รวมเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 62 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 100
รถยนต์บรรทุก เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ทั้งหมด 99,625 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 11.83 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 505,132 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.72
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ทั้งหมด 96,748 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 12.84 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 492,130 คัน เท่ากับร้อยละ 63.42 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.16 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 89,680 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 32.11
• รถกระบะดับเบิลแคบ 325,018 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 6.44
• รถกระบะ PPV 77,432 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 28.09
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 2,877 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 14.07 รวมเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 13,002 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 19.02
ผลิตเพื่อส่งออก เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 89,709 คัน เท่ากับร้อยละ 59.59 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 23.46 ส่วนเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 445,746 คัน เท่ากับร้อยละ 57.44 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 13.63
รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตเพื่อการส่งออก 25,594 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 37.17 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 124,004 คัน เท่ากับร้อยละ 45.80 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 33.27
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2566 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 64,115 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 18.72 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 321,742 คัน เท่ากับร้อยละ 65.38 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 7.53 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 34,098 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 5.35
• รถกระบะดับเบิลแคบ 247,082 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 8.27
• รถกระบะ PPV 40,562 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 15.89
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 60,823 คัน เท่ากับร้อยละ 40.41 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 7.52 และเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 330,209 คัน เท่ากับ ร้อยละ 42.56 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.38
รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 25,297 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 17.72 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 146,757 คัน เท่ากับร้อยละ 54.20 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.22
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2566 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 32,633 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 2.84 และตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 170,388 คัน เท่ากับร้อยละ 34.62 ของยอดการผลิตรถกระบะ แต่ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 14.24 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 55,582 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 42.15
• รถกระบะดับเบิลแคบ 77,936 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.01
• รถกระบะ PPV 36,870 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 44.86
ส่วนรถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 218,886 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.70 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 199,316 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 26.20 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 19,570 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 65.83
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,074,266 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.83 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 920,438 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 18.32 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 153,828 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 40.07
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 65,088 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 9.34 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 0.55 เพราะรถยนต์นั่งที่เติบโตถึงร้อยละ 29.4 จากฐานต่ำในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว จากการขาดชิ้นส่วนเซมิคอนดัคเตอร์เพราะสงครามยูเครน และการลอคดาวน์ของประเทศจีนจาก COVID-19 แต่รถกระบะยังคงลดลงร้อยละ 23.3 จากการเข้มงวดของสถาบันการเงิน
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 184,091 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2565 ร้อยละ 48.51 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 13.39
ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 รถยนต์มียอดขาย 341,691 คัน ลดลงจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.91 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 814,616 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 11.23
การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป เดือนพฤษภาคม 2566 ส่งออกได้ 86,358 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 8.03 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 12.25 เพราะฐานต่ำปีที่แล้วจากการขาดแคลนชิพ จึงส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดออสเตรเลีย ที่เข้มงวดเรื่องพันธุ์พืช แมลง และดินโคลนที่ติดไปกับรถ ทำให้ท่าเรือแออัด ขับรถขึ้นท่าเรือไม่ได้ จนกว่าจะล้างสิ่งปนเปื้อนดังกล่าวที่ติดมากับรถยนต์ออกหมด เรือกลับมาบรรทุกรถยนต์ล่าช้า มูลค่าการส่งออก 54,969.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 18.91
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,226.54 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 21.51
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 14,842.91 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 12.42
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,126.10 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 10.01
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 74,165.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 8.47
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 439,990 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 17.09 มีมูลค่าการส่งออก 273,255.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 22.06 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 13,108.77 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 27.81
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 71,793.42 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 19.65
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 9,557.23 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 7.82
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 367,715.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 7.60
รถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2566 มีจำนวนส่งออก 57,695 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 8.96 และลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 32.76 โดยมีมูลค่า 5,384.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1.75
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 232.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 15.28
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 221.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 10.09
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2566 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 5,838.80 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 0.76
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 362,269 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 14.19 มีมูลค่า 30,259.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 4.90
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,247.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 51.34
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 902.08 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 10.93
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 32,409.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 5.63
เดือนพฤษภาคม 2566 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 80,004.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 7.74
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 400,124.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 7.43
สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนพฤษภาคม 2566 จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,132 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 355.14 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,576 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 978.53
o รถยนต์นั่ง จำนวน 5,557 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 18 ตัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 1 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 5 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ร้อยละ 150
• รถยนต์สามล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 14 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 78.13
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 14 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 1,376 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 44.39
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,368 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 8 คัน
• รถโดยสารมีทั้งสิ้น 133 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 343.33
• รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 28 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 2,700
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 33,365 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปีที่แล้ว ร้อยละ 485.15 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 24,021 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1,012.08
o รถยนต์นั่ง จำนวน 23,914 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 102 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 3 คัน
• รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 42 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 950
• รถยนต์สามล้อมีทั้งสิ้น 123 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 19.42
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 114 คัน
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล จำนวน 9 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 8,262 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 144.37
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 8,230 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 32 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 836 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1,606.12
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 81 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 1,520
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนพฤษภาคม 2566 จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,013 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว ร้อยละ 49.44 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 7,958 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 49.19
o รถยนต์นั่ง จำนวน 7,952 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 1 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 5 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 55 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 96.43
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 55 คัน
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 38,647 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปีที่แล้ว ร้อยละ 42.65 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 38,374 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 42.41
o รถยนต์นั่ง จำนวน 38,337 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 13 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 4 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 20 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 273 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 85.71
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 273 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนพฤษภาคม 2566 จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,025 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว ร้อยละ 2.94 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 1,025 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 2.94
o รถยนต์นั่ง จำนวน 1,025 คัน
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 5,197 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปีที่แล้ว ร้อยละ 6.89 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,197 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ร้อยละ 6.89
o รถยนต์นั่ง จำนวน 5,195 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 2 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 65,333คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 283.72 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 37,738 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 503.13
o รถยนต์นั่ง จำนวน 37,416 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 510.67
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 259 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 107.20
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 11 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 120
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 9 คัน ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ยังไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ จำนวน 43 คัน ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ยังไม่มีการจดทะเบียน
• รถกระบะ และรถแวน จำนวน 99 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 141.46
• รถยนต์สามล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 614 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 68.22
o รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล จำนวน 70 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 55.56
o รถยนต์รับจ้างสามล้อ จำนวน 544 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 70
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 24,726 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 155.91
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 24,625 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 146.27
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 101 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 40.28
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,048 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 618.60
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 108 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 1,442.86
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 297,955คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 33.39 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 288,818 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 34.56
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 288,154 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 34.66
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 479 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 12.75
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 32 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 33.33
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 100 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 33.33
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 50
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 50 คัน ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ยังไม่มีการจดทะเบียน
• รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2565
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,134 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 4.56
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,134 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 4.56
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 100
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 47,543คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 32.15 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 47,543 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 33.18
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 47,483 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 33.25
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 39 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 2.5
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 16 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 20
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 200
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 2 คัน ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ไม่มีการจดทะเบียน
สถิติยอดจดทะเบียนใหม่ของยานยนต์แบ่งตามประเภทเชื้อเพลิง เดือนพฤษภาคม 2566
ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน ในเดือนเมษายน 2566 จำนวน 5,557 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2565 ถึงร้อยละ 991.75 และมีสัดส่วนถึงร้อยละ 9.27 ของยอดจดทะเบียนทั้งหมด
รถยนต์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊กมีจำนวน 7,952 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 49.25 และมีสัดส่วนร้อยละ 13.27 ของยอดจดทะเบียนทั้งหมด
รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม มีจำนวน 1,025 คัน ลดลงร้อยละ 2.47 จากเดือนเดียวกันของปี 2565 และมีสัดส่วนร้อยละ 1.71 ของยอดจดทะเบียนรวม
ABOUT THE AUTHOR
นุสรา เงินเจริญ
บรรณาธิการข่าวธุรกิจและสังคม รักการอ่าน ขอบงานเขียน ชอบพบปะผู้คน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารในวงการยานยนต์ไทย ท่องเที่ยว เป็นประสบการณ์ที่ดี พร้อมได้ เปิดโลก ได้พัฒนาตัวในแวดวงสื่อสารมวลชน
ภาพโดย : บริษัทผู้ผลิตคอลัมน์ Online : ธุรกิจ (บก. ออนไลน์)
คำค้นหา