ข่าวจากสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้ผลิตรถไฟฟ้าหลายรายทั่วโลก เริ่มหันมาทบทวนแผนกลยุทธ์การเป็น “ผู้ผลิตรถไฟฟ้า” ที่ทำมาแต่แรก ส่วนแผนกลยุทธ์ของผู้ผลิตรถจากญี่ปุ่นที่เหมือนว่าช้ากว่าประเทศอื่นนั้น กลับเข้ากับสถานการณ์พอดี และเดินหน้าตามแผนต่อไป
Ford ต้องลดความหวังจากยอดขายของ F-150 Lighting, GM ปรับลดเป้าหมายยอดผลิตรถพิคอัพไฟฟ้าลง, Genesis ไม่สามารถทำตามแผนกลยุทธ์การผลิตรถไฟฟ้าได้, ผู้ผลิตรถจากประเทศจีนอย่าง HiPhi ต้องหยุดการผลิตรถไฟฟ้าเป็นเวลา 6 เดือน นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้าที่หลายบริษัทคาดไม่ถึง
เหตุการณ์นี้ไม่เกิดกับผู้ผลิตรถจากประเทศญี่ปุ่น Toyota เคยตั้งข้อสังเกตกับแผนการผลักดันให้เป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าของรัฐบาล และผู้ผลิตรถอย่าง Honda, Subaru, Nissan และ Mazda ยังรั้งรอที่จะเปลี่ยนเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าทุกรุ่น และทราบดีว่าการชะลอตัวของรถไฟฟ้าจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
Stephen Ma ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Nissan Motor กล่าวว่า ลูกค้าเป็นตัวกำหนดยอดขายของรถไฟฟ้า จะสังเกตได้ว่ากราฟความต้องการซื้อรถไฟฟ้า ไม่ได้เติบโตเป็นเส้นตรง แต่จะชันขึ้น และตกลง แต่ในระยะยาวมันจะเพิ่มขึ้นในที่สุด
เขายอมรับว่ายอดขายรถไฟฟ้าที่ลดลง ไม่ได้ทำให้ Nissan เปลี่ยนเป้าหมายของการผลิตรถไฟฟ้าในอนาคต บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ยังเดินหน้าตามแผนการผลิตรถไฟฟ้าต่อไป ทั้งประกาศแผนการลงทุน โดยทุ่มทุนถึง 2 ล้านล้านเยน (ประมาณ 4.76 แสนล้านบาท) เพื่อบรรลุเป้าหมายภายใน 5 ปี
ส่วน Eiji Fujimura ซีเอฟโอ Honda กล่าวว่า แม้การเติบโตของตลาดรถไฟฟ้าจะชะลอตัวลง แต่ Honda ยังเดินหน้าตามแผนการผลิตรถไฟฟ้าต่อไป, ส่วน Tomoaki Emori, รองประธานบริหารของ Subaru กล่าวว่ายอดขายรถไฟฟ้าชะลอตัวหลังจากการลงทุนตามแผนการผลิตรถไฟฟ้าเป็นเงิน 1.5 ล้านล้านเยน (ประมาณ 3.57 แสนล้านบาท)
ในปีที่ผ่านมา Toyota สร้างปรากฏการณ์ทำลายสถิติยอดขายรถไฮบริดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จนเกิดดรามาว่าเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งของการปล่อยมลพิษ ด้วยยอดส่งมอบรถไฮบริดถึง 5 ล้านคัน ในปี 2568 แต่บริษัทฯ ยังทุ่มทุน เพื่อเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้า, รถพลัก-อิน ไฮบริด และรถพลังงานไฮโดรเจน ต่อไป