บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมอุตสา หกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกันจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจให้แก่ซัพพลายเออร์กว่า 100 รายจาก 60 บริ ษัทในประเทศไทย ณ สำนักงานใหญ่ Delta บางปู โดยงาน Delta Sourcing Day ประจำปี 2567 มีเป้าหมายเพื่อจับคู่ Delta กับผู้ขาย และซัพพลายเออร์ในไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และสร้างโอกาสในการร่วมมือกันในอนาคต โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระดับท้องถิ่นของเดลตาเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น และยั่งยืนในการสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ และรถยนต์ไฟฟ้าขั้นสูงในประเทศไทย
วิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้าอีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย กล่าวว่า เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ BOI และ กนอ. เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานในระดับท้องถิ่นที่มีความยืดหยุ่น และยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประ โยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของเรา ขณะนี้ประมาณ 50 % ของห่วงโซ่อุปทานของเราเป็นซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น และเราตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวให้ได้ถึง 80 % ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเดลตากำลังขยายการดำเนินงานด้านการวิจัย และพัฒนา และการผลิตในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว และเราพร้อมต้อนรับซัพพลายเออร์ในประเทศไทยเสมอ นอกจากนี้ เรายังสนับ สนุนซัพพลายเออร์จากต่างประเทศเติบโตไปพร้อมกับเราในประเทศไทยอีกด้วย
พัชรดา นวกะวงษ์การ ผู้อำนวยการกองพัฒนาผู้ประกอบการไทย BOI ได้กล่าวขอบคุณ Celta ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว และตอกย้ำกลยุทธ์ของ BOI ในการสนับสนุนซัพพลายเออร์ในประเทศไทยผ่านความร่วมมือ และองค์ความรู้จากบริษัทระดับโลก หลังจากนั้นผู้จัดการฝ่ายบริหารห่วงโซ่อุปทาน และฝ่ายจัดซื้อของเดลตาได้นำเสนอกลยุทธ์ของบริษัท ข้อกำหนด และการพัฒนาในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้จัดการฝ่ายการวิจัย และพัฒนาของ Delta ยังได้แบ่งปันแผนงานด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท สำหรับการผลิตอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์อัจฉริยะในประเทศไทยอีกด้วย
หลังจากการนำเสนอ ซัพพลายเออร์ที่เข้าร่วมงานจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมพูดคุยซักถามกับกลุ่มผู้จัดการของ Delta และเยี่ยมชมโชว์รูมของบริษัท โดย เกษมสันต์ เครือธร ผู้จัดการอาวุโสประจำภูมิภาคฝ่ายระบบอุตสา หกรรมอัตโนมัติของ Delta ได้นำเสนอโซลูชันการผลิตอัจฉริยะ Industrial Internet of Things (IIoT) อันเป็นเอก ลักษณ์ของ Delta ที่ใช้พแลทฟอร์ม DIACloud สำหรับการสื่อสาร ควบคุม และใช้อุปกรณ์ภาคสนามเพื่อจัดการกระบวนการในโรงงาน และอาคาร
ภายหลังการอธิบายแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการผลิตของเดลตาแล้ว Delta ยังได้เชิญซัพพลายเออร์สำ รวจบูธของ กนอ. และ Delta ที่ลอบบีของบริษัท โดยแต่ละบูธได้จัดแสดงรายละเอียดข้อมูลจำเพาะ ความต้อง การเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมในแต่ละผลิตภัณฑ์ และชิ้นส่วนที่ผลิตในท้องถิ่นของ Delta ที่มีการเปิดรับการสนับสนุนจากพันธมิตรในพื้นที่
สุดท้ายนี้ ฝ่ายจัดซื้อ และฝ่ายบริหารการผลิตของ Delta ประเทศไทย ได้เชิญซัพพลายเออร์ด้านยานยนต์ และด้านอื่นๆ (Non-Automotive Suppliers) ร่วมหารือเป็นการส่วนตัว โดยการประชุมจับคู่เจรจาธุรกิจดังกล่าวประ กอบไปด้วยซัพพลายเออร์ในประเทศไทย และทีมงานจากเดลต้า ซึ่งแบ่งเป็นสี่ภาคส่วน ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า (EE) เครื่องกลไฟฟ้า (EM) อโลหะ (NM) และวิศวกรรมเครื่องกล (ME)
ในฐานะผู้ผลิต และผู้ให้บริการโซลูชันอีเลคทรอนิคส์ชั้นนำของประเทศไทย Delta ทำงานร่วมกับ BOI และซัพ พลายเออร์ของไทย เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น และสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดย Delta ยินดีต้อนรับพันธมิตรในระดับท้องถิ่นเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของ Delta เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ และอีเลคทรอนิคส์อัจฉริยะยุคใหม่