ฟรังค์ฟวร์ท-Continental กำลังพัฒนาหุ่นยนต์เพาะเมล็ดพืชร่วมกับ Land Life บริษัทที่เน้นการฟื้นฟูธรรมชาติเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า หุ่นยนต์นี้สามารถเพาะเมล็ดพืชได้ในอัต รา 1 เมล็ด/1 นาที โดยยานยนต์ที่ควบคุมระยะไกลจะเพาะเมล็ดลงในดินได้มากถึง 60 เมล็ด/ชม. จึงทำให้หุ่นยนต์นี้เป็นโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนโดยเฉพาะการปลูกป่าทดแทนในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
Continental Engineering Services (CES) ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรม และการพัฒนาภายในบริษัท และ Land Life ร่วมมือกันนำหุ่นยนต์นวัตกรรมนี้เข้าสู่ตลาดเป็นครั้งแรก Land Life เป็นผู้นำตลาดระดับโลกด้านโซลูชันการฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยบริษัทจะนำความเชี่ยวชาญเชิงลึกในโครงการฟื้นฟูธรรมชาติมาช่วยสนับสนุน ในขณะที่ CES กำลังพัฒนาระบบการเจาะ และการเพาะเมล็ดอัตโนมัติ หุ่นยนต์ผู้ผลิตจากเยอรมนี Stella Engineering ซึ่งมีจำหน่ายในตลาดแล้วจะทำหน้าที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับการขนส่งหุ่นยนต์นี้
Martin Poettcher หัวหน้าฝ่าย Business Center GreenTech ของ CES กล่าวว่า เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ Land Life เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ยั่งยืนร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ และปกป้องระ บบนิเวศที่สำคัญ เราได้ดัดแปลงหุ่นยนต์ให้เข้ากับเทคโนโลยียานยนต์ที่แข็งแกร่ง และได้รับการพิสูจน์แล้วเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ และปลอดภัยแม้ในพื้นที่ขรุขระ ความร่วมมือของเราจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด
ตามรายงานการติดตามของสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) การสูญเสียพื้นที่ป่าทั่วโลกเพิ่มขึ้น 24 % ในปี พศ. 2566 จาก 22.8 ล้านเฮกตาร์ในปี พศ. 2565 เป็น 28.3 ล้านเฮกตาร์ในปี พศ. 2566 การสูญเสียป่าดิบชื้นนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง โดยรวมแล้ว พื้นที่ป่าหายไปประมาณ 37,000 ตารางกิโลเมตร (3.7 ล้านเฮกตาร์) ในปี พศ. 2566 ตามข้อมูลของ WRI โลกสูญเสียพื้นที่ป่าดิบชื้นไป 3-4 ล้านเฮกตาร์/ปีในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ป่าดิบชื้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอน และการควบคุมผลกระทบต่อสภาพอากาศในระดับภูมิภาค และท้องถิ่น
เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า หรือการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง การฟื้นฟูระบบนิเวศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม วิธีการปลูกป่าทดแทนแบบเดิมมักไม่สามารถทำได้จริงโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการขั้นสูง หุ่นยนต์เพาะเมล็ดพืชจึงเป็นทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูป่าไม้ ช่วยปกป้องสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูที่ยั่งยืน ปฏิบัติได้จริง เป็นธรรมชาติ
“ความร่วมมือของเรากับ CES จะช่วยเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และขยายระบบนิเวศธรรมชาติ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์ของ CES และประสบการณ์การปลูกป่าทดแทนของ Land Life จะช่วยส่งเสริมแนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติคุณภาพสูงทั่วโลก”
Harrie Lövenstein หัวหน้าฝ่ายวิจัย และพัฒนาของ Land Life กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือของเราเป็นแนวทางแบบสหวิทยาการซึ่งมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมที่จะปกป้องระ บบนิเวศในอนาคต ความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์ของ Continental ในการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูงและแข็งแกร่งทำให้เราก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีการปลูกป่าทดแทนแบบสร้างสรรค์
หุ่นยนต์เพาะเมล็ดพืชมีข้อดีหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ใช้เทคนิคการเพาะเมล็ดพืชโดยตรงแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ โมดูลการเจาะ และเพาะเมล็ดที่พัฒนาโดย CES เป็นหัวใจสำคัญของเครื่องเพาะเมล็ดอัตโนมัติ โดยกลไกการทำงานมีดังนี้ ขั้นแรก กำจัดวัชพืชและหญ้าที่ปกคลุมดิน จากนั้นหุ่นยนต์จะทำการเจาะหลุมที่มีความลึก และความกว้างเหมาะสมกับดิน และต้นไม้ จากนั้นจึงหย่อนเมล็ดพืชลงในรูที่เจาะโดยใช้ลมอัด ดินที่ถูกเจาะออกมาจะถูกนำกลับมาโรยทับเมล็ดอีกครั้ง กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาที
การใช้หุ่นยนต์เพาะเมล็ดสำหรับการปลูกป่าทั่วโลก
โครงการการปลูกป่าในพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์ต่างๆ ทั่วโลกนั้นต้องการโซลูชันที่มีความหลากหลายสูง โดยโซลูชันดังกล่าวต้องสามารถเพาะเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองที่มีรูปทรงและขนาดต่างๆ ได้อย่างง่าย ดาย ขณะเดียวกันก็ต้องฝ่าฟันภูมิประเทศที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น พื้นที่ที่มีหิน และทราย ทางลาดชัน รวมถึงพื้นที่ลื่นที่ปกคลุมด้วยกิ่งไม้ และเศษซากต่างๆ และต้องรับประกันการหว่านเมล็ดที่แม่นยำ และมีคุณภาพสูงพร้อมปฏิบัติตามแผนการเพาะเมล็ดที่กำหนดไว้ เทคโนโลยีนวัตกรรมที่พัฒนาโดย CES ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเมล็ดจะถูกเพาะอย่างเหมาะสม หุ่นยนต์ได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ และแข็งแกร่งในสภาพแวดล้อมต่างๆ สามารถรับมือกับสภาพดินที่หลากหลาย สภาพอากาศที่รุนแรง ฝุ่นละออง และอุณหภูมิที่ผันผวนอย่างรุนแรงได้ โดยช่วยให้พื้นที่ดินที่เสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมนี้ไม่ใช่แค่การปลูกต้นไม้เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนอีกด้วย
CES กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม
CES ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาสีเขียวมากขึ้น ฝ่าย GreenTech ของผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมใช้แนวทางแบบองค์รวมเพื่อความยั่งยืนทางนิเวศ เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประ สิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบเทคโนโลยี และเครื่องจักร ส่งผลให้เกิดโซลูชันทางเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ล่าสุด CES ได้พัฒนาระบบควบคุมวัชพืชสำหรับการกำจัดวัชพืชอัตโนมัติ และการปกป้องพืชผล ระบบนี้ผสมผสานเทคโนโลยีเซนเซอร์ยานยนต์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว และปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้สามารถจัดการวัชพืชได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์เพาะเมล็ดพืชนับเป็นก้าวต่อไปในการดูแลระบบนิเวศที่สำคัญ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม