ข่าวจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้ทำการวิจัย และพบว่าสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ช่วยเพิ่มการจับจ่ายในธุรกิจใกล้เคียง
โดยสรุปข้อมูลจากการศึกษาสถานีชาร์จกว่า 4,000 แห่งในแคลิฟอร์เนีย และธุรกิจ 140,000 ราย ด้วยการเก็บข้อมูลการจับจ่ายผ่านบัตรเครดิท และเดบิทที่ไม่ระบุตัวตน ตั้งแต่ปี 2562-2565 ยกเว้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเกิดการระบาดของ COVID-19
จากข้อมูล พบว่า สถานีชาร์จรถไฟฟ้าในแคลิฟอร์เนีย สามารถกระตุ้นธุรกิจในบริเวณใกล้เคียงได้ โดยในปี 2562 มีการจับจ่ายถึง 1,500 เหรียญสหรัฐฯ/ปี (ประมาณ 4.9 หมื่นบาท) และในปี 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 มีการจับจ่าย 400 เหรียญสหรัฐฯ/ปี (ประมาณ 1.3 หมื่นบาท)
ทั้งพิจารณาว่าสถานีชาร์จทำให้มีการใช้เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบธุรกิจภายในระยะ 500 เมตรรอบสถานีฯ ทั้งก่อน และหลังการสร้างสถานี, ทั้งยังวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจแบบเดียวกันที่ไม่ได้อยู่ใกล้กับสถานีชาร์จ ในช่วงเวลาเดียวกันด้วย
นอกจากเจ้าของรถจะมีการใช้จ่ายในบริเวณใกล้เคียงแล้ว สถานีชาร์จด่วนยังสามารถทำธุรกิจ และสร้างกำไรได้พอๆ กับสถานีบริการน้ำมัน เจ้าของรถไฟฟ้ายังต้องการได้รับการบริการเหมือนสถานีบริการน้ำมัน เช่น การเช็ดกระจก, เติมลม และอื่นๆ ซึ่งเป็นการดึงดูดให้มาใช้บริการที่คุ้นเคยเหมือนสถานีบริการน้ำมัน
ข้อสรุปนี้สามารถช่วยผลักดันกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน และพโรแกรมปัจจัยพื้นฐานสำหรับรถไฟฟ้าแห่งชาติ ซึ่งกำหนดเป้าหมายสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าระดับชาติ 500,000 แห่ง แต่มีการดำเนินการค่อนข้างล่าช้า จากหลายสาเหตุ ทั้งกฎระเบียบท้องถิ่น สาธารณูปโภคไม่รองรับ และการประสานกับทางรัฐฯ ผลวิจัยนี้อาจช่วยกระตุ้นให้เกิดการเร่งสร้างสถานีชาร์จให้ได้ตามเป้าหมายเร็วขึ้น