หลายบริษัทรถยนต์ในปัจจุบันเลือกตามกระแสจากการพัฒนานวัตกรรม และระบบเทคโนโลยีต่างๆ ภายในรถที่มีการรวมศูนย์กลางไว้ในที่ๆ เดียว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีโดยเฉพาะในเรื่องของ Interface รถยนต์ยุคใหม่ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในทเรนด์ที่ได้รับความนิยม คือ การใช้ระบบจอสัมผัส (Touchscreen) สั่งการทุกอย่างในรถยนต์แทบทุกยี่ห้อ
ซึ่งแง่ของการควบคุมฟังค์ชันต่างๆ ภายในรถยนต์ เช่น การควบคุมเครื่องเสียง ระบบแอร์ และการนำทาง นำมาใช้จนเป็นทเรนด์มาตรฐานของรถยนต์หลายรุ่นในปัจจุบัน แต่กลับพบว่าผู้ใช้รถบางกลุ่มรู้สึกไม่สะดวกกับการใช้งานผ่านระบบจอสัมผัสเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้บริษัทรถยนต์ได้มีการหารือถึงแนวโน้มใช้งานหน้าจอรถยนต์ให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการกลับไปเป็นแบบปุ่มกดธรรมดาอีกครั้ง
แม้ว่าเทคโนโลยีระบบหน้าจอสัมผัส หรือทัชสกรีนนั้นจะได้รับความนิยมในวงการสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ เราได้เห็นการใช้ปุ่มกดร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบเสียง (Voice Control) หรือการควบคุมผ่านการเคลื่อนไหว (Gesture Control) เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานรถยนต์ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน หรือเสียสมาธิในการขับขี่ แต่เมื่อมันถูกนำมาใช้ในรถยนต์ กลับพบว่าไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในบางด้านได้ดีนัก ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้
เมื่อเทคโนโลยีทัชสกรีนไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ได้อย่างที่คาดหวัง บริษัทรถยนต์หลายแห่งเริ่มกลับมานำปุ่มกดธรรมดา หรือปุ่มทางกายภาพ (Physical Buttons) มาใช้ในการควบคุมฟังค์ชันบางอย่างในรถยนต์อีกครั้ง โดยเฉพาะในระบบที่ต้องการความแม่นยำ และความสะดวกในการใช้งาน
การกลับมาของปุ่มกดธรรมดาในรถยนต์ไม่ใช่เพียงแค่การย้อนกลับไปสู่เทคโนโลยีเก่า แต่เป็นการพัฒนา และปรับปรุงระบบอินเตอร์เฟศให้เหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้ขับขี่ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทรถยนต์ต้องคำนึงถึง อย่างมาตรฐาน EuroNCAP ที่วางแผนจะเริ่มใช้ในมกราคม ปี 2026 ระบุไว้ว่า ให้รถยนต์รุ่นใหม่ต้องมีปุ่มกดจริงสำหรับควบคุม ไฟเลี้ยว, ไฟฉุกเฉิน และการควบคุมที่จำเป็นอื่นๆ แบบกายภาพ มากกว่าการสัมผัสบนหน้าจออินโฟเทนเมนท์ล้วน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้โดยสาร หากไม่มีปุ่มจะถูกตัดแต้มความปลอดภัย หรืออาจไม่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยระดับ 5 ดาว
Hyundai (ฮันเด) คือ หนึ่งในบริษัทรถยนต์จากเกาหลีที่ยังเลือกใช้ระบบปุ่มกด ในรถยนต์รุ่นใหม่ของพวกเขา โดยให้เหตุผลเนื่องจากความปลอดภัย และความเข้าใจที่ง่ายกว่าในการใช้งาน เนื่องจากผู้ขับขี่ต้องละสายตาจากถนน หรือแม้กระทั่งเสียสมาธิมากดที่หน้าจอเพื่อเข้าคำสั่งต่อไป ซึ่งยุ่งยาก และซับซ้อนกว่า และจากผลการสำรวจลูกค้าผู้ใช้งานรถของ Hyundai Design North America สรุปได้ว่าลูกค้าอยากได้การควบคุมปุ่มกดมากกว่าแบบสัมผัสผ่านจอ เพราะมันสร้างความรำคาญ และเพิ่มความเสี่ยงในการละสายตาจากท้องถนนด้วย
ดังนั้น การกลับมาของปุ่มกดในรถยนต์ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ หรือการถอยหลังกลับไปสู่เทคโนโลยียุคเก่า แต่เป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ขับขี่ที่ต้องการความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้งานควรแยกให้ชัดเจน รถยนต์ในอนาคตอาจจะยังคงใช้ระบบทัชสกรีนในการควบคุมฟังค์ชันบางอย่าง แต่ปุ่มกดก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์การขับขี่ที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน
บทความแนะนำ