บทความ
Primus Group ร่วมพันธมิตรจัดกิจกรรม “Eco-Exploration Trip”

โครงการ Eco-Exploration Trip เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างการตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยียานยนต์สะอาด ทั้งเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย ที่สำคัญ เพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ และส่งเสริมการท่องเที่ยวแนวรักษ์โลก
Eco-Exploration Trip ครั้งที่ 3 เส้นทางเชียงใหม่-แพร่ สตาร์ทกันที่ช้างทองเฮอร์ริเทจ ปาร์ค จังหวัดเชียงใหม่
จิระพล รุจิวิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทในเครือ ไพรม์มัส กรุ๊ป พร้อมด้วย อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสุโรจน์ แสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมกล่าวต้อนรับ ต่อด้วยการชี้แจงเส้นทาง และรายละเอียดของกิจกรรม
หลังจากพร้อมแล้ว ร่วมพิธีเปิดโครงการ และตีธงปล่อยขบวนคาราวานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ เดินทางสู่จังหวัดลำปาง แวะรับประทานอาหารกันที่ร้านแกงหอม ต่อด้วยกิจกรรมเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ไหว้พระที่พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล
เวิร์คชอพ ทำผ้ามัดย้อม ก่อนที่จะเดินทางเข้าที่พัก พร้อมกับเพลินเพลินกับอาหาร พร้อมด้วยการแสดงคอนเสิร์ท จาก นิว The Voice
วันที่ 2 เดินทางเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นพร้อมรับประทานอาหารที่คุ้มวงศ์บุรี หรือบ้านวงศ์บุรี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นคุ้มของหลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าผู้ครองนครแพร่ และเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (บุตรีบุญธรรมในแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา) ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
คุ้มหลังนี้ เป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ 2 ชั้นทรงไทยล้านนาผสมยุโรป สีชมพูอ่อนซึ่งเป็นสีแต่ดั้งเดิม ประดับตกตกแต่งลวดลายด้วยไม้ฉลุที่เรียกว่าลาย “ขนมปังขิง” ทั่วอาคาร เช่น หน้าจั่ว สันหลัง คา ชายน้ำ ช่องลม กรอบเช็ดหน้าต่างเหนือประตู และหน้าต่าง ระเบียง และภายในอาคารซึ่งปรากฏลายพรรณพฤกษา และเครือเถาว์ เป็นต้น ฐานรากของอาคารเป็นท่อนไม้ซุงเนื้อแข็งขนาดใหญ่วางเรียงกันก่อนจะก่ออิฐเทปูนทับลงไป เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของอาคาร วัสดุหลักในการก่อสร้างอาคาร คือ ไม้สักทอง แต่เดิมตัวอาคารใช้เทคนิคการเข้าลิ้นสลักไม้ ไม่ตอกตะปูแต่เป็นการตอกลิ่มไม้แทน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเรือนเครื่องสับตามแบบงานช่างไทยโบราณ
บทความแนะนำ