ตลาดโดยรวม | +14.3 % |
รถยนต์นั่ง | +12.6 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | +37.0 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | +60.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | +11.5 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | +35.7 % |
อื่นๆ | -21.8 % |
ตลาดโดยรวม | +20.3 % |
รถยนต์นั่ง | +19.8% |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | +37.7 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | -6.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | +19.9 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | +17.4 % |
อื่นๆ | -0.2 % |
เป็นที่รับทราบกันอย่างไม่เป็นทางการว่าประเทศไทย กำลังจะมีรถยนต์ไฟฟ้า ผลิตในประเทศ จำหน่ายในประเทศ และส่งออก ในเร็ววันนี้ โดยแหล่งข่าวจากสถาบันยานยนต์ คาดว่าจะมีค่ายรถยนต์ 5 ราย ยื่นขอ บีโอไอ ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในสิ้นปี 2561 นี้ แน่นอนก่อนหน้านี้ มีค่ายรถยนต์เข้ามายื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฮบริด และพลัก-อิน ไฮบริด แล้ว 5 ราย และในช่วงสิ้นปีนี้ จะสิ้นสุดมาตรการส่งเสริมการลงทุนพิเศษสำหรับรถยนต์พลัก-อินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) คาดว่าจะมีค่ายรถยนต์สนใจเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนอีก 5 ราย แบ่งเป็นค่ายรถยนต์รายเดิม ที่มีฐานการผลิตในไทยมากกว่า 3 ราย และจะมีค่ายต่างประเทศหน้าใหม่มาขอรับการส่งเสริมฯ ประมาณ 1-2 ราย โดยตำแหน่งหน้าที่ ท่านก็บอกไม่ได้ว่า จะเป็นยี่ห้ออะไรกันบ้าง แต่เอาเป็นว่า เป็นที่รู้ๆ กันก็แล้วกัน "ขณะนี้แต่ละค่ายรถต่างเตรียมตัวตัดสินใจขั้นสุดท้าย คาดว่าจะเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วงท้ายๆ ของเดือนธันวาคมนี้ เหมือนกับในปีที่ผ่านมาที่ค่ายรถยนต์เข้ามาขอรับการส่งเสริมฯ รถยนต์ไฮบริด ในช่วง 2-3 วันสุดท้าย เพราะแต่ละรายก็ต้องทำการบ้านศึกษารายละเอียดของการลงทุนทุกด้านอย่างรอบคอบ แล้วจึงค่อยมายื่นขอต่อ บีโอไอ” แต่สำหรับวิธีคิดของบ้านเรา การที่จะทำให้รถยนต์พลัก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ จะต้องทำให้รถยนต์พลัก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียง หรือดีกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และจะต้องมีราคาที่คุ้มค่า และไม่ให้แพงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันมากนัก แต่ก็คาดว่า หากมีการตั้งโรงงานผลิตในไทย บวกกับมาตรการส่งเสริมต่างๆ ของภาครัฐ จะทำให้ราคารถยนต์พลัก-อิน ไฮบริดจะสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันประมาณ 10 % ซึ่งเป็นระดับที่แข่งขันได้ แต่หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ราคายังสูงอยู่ และน่าจะแพงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันประมาณ 30-40 % "แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาแพงกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบในระยะยาว จะคุ้มค่ากว่า เพราะมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และค่าไฟฟ้าก็ถูกกว่าราคาน้ำมันอยู่มาก ซึ่งหากผู้บริโภคนำต้นทุนในส่วนนี้มาพิจารณา จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีความคุ้มค่ามากขึ้น" อันนั้น ว่าด้วยเรื่องการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หันกลับมาดูเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากันบ้าง ที่ตอนนี้ การไฟฟ้านครหลวง เป็นแนวหน้านำหน้าไปก่อนแล้ว ตามมาด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และก็มาถึง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ล่าสุด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้จัดทำระบบโครงข่ายเครื่องอัดประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว ในเส้นทางหลักไปสู่เมืองใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในส่วนภูมิภาค รองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จำนวน 11 สถานี ดังนี้ - ภาคเหนือ (กรุงเทพฯ–พระนครศรีอยุธยา) 2 สถานี, - ภาคใต้ (กรุงเทพฯ–หัวหิน) 3 สถานี/- ภาคตะวันออก (กรุงเทพฯ – พัทยา) 2 สถานี/- ภาคตะวันตก (กรุงเทพฯ – นครปฐม) 1 สถานี/- ตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ – โคราช) 2 สถานี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กฟภ. 1 สถานี สถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟภ. ทั้ง 11 สถานี จะรองรับการอัดประจุไฟฟ้าแบบรวดเร็ว (QUICK CHARGE) ซึ่งเป็นการอัดประจุแบบไฟฟ้ากระแสตรง และการอัดประจุไฟฟ้าแบบทั่วไป (NORMAL CHARGE) ซึ่งเป็นการอัดประจุแบบไฟฟ้ากระแสสลับ และล่าสุด ที่สถานีอัดประจุไฟฟ้าปากช่อง เป็นเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ กฟภ. วิจัยและพัฒนาขึ้นมาเอง โดยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของสถานีฯ ปากช่อง ประกอบด้วย หัวจ่าย 6 หัวจ่าย แบบ MULTI-STANDARD (CHADEMO 2 หัวจ่าย CCS COMBO 2 หัวจ่าย และ AC TYPE II 2 หัวจ่าย) มีพิกัดกำลังไฟฟ้ารวมอยู่ที่ 100 กิโลวัตต์ สามารถอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าได้ โดยติดต่อที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ณ พื้นที่ที่เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2562 ก็ต้องยอมรับว่า ด้านราชการ มีการเตรียมตัวกันพอสมควร สำหรับการต้อนรับน้องใหม่ รถยนต์ไฟฟ้า ในอนาคต นอกเหนือจากการให้บริการของด้านเอกชน ที่เริ่มต้นกันในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งที่ให้บริการเฉพาะรถยนต์บางยี่ห้อ หรือบริการหัวจ่ายในหลายๆ แบบ หากราคารถยนต์ไฟฟ้า ไม่แพงจนเกินควร ก็ต้องถือว่าน่าใช้ทีเดียว เมื่อคิดย้อนกลับถึงค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพิง และค่าบำรุงรักษา อีกไม่นาน เราก็จะได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันแล้ว เตรียมตัวกันไว้หน่อยก็ดีนะครับ