ตลาดโดยรวม | -3.3 % |
รถยนต์นั่ง | -3.5 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | -10.9 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | +51.1 % |
ระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | -3.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | -11.1 % |
อื่นๆ | +0.2 % |
คำพังเพยที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก คือ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ปัจจุบันก็ยังใช้ได้อยู่เป็นอย่างดี เพราะเป็นวิธีที่จะป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดีมาดูกันที่หลังรัฐบาลจีนประกาศปิดมณฑลอู่ฮั่น อันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัส ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปี 2563 ตลาดนักท่องเที่ยวยังมีโอกาสขยายตัว แต่เป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี โดยจะเห็นการเติบโตเฉพาะบางตลาด สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น่าจะยังเติบโตได้จะมาจากภูมิภาคเอเชีย แต่สำหรับนักท่องเที่ยวจีนและอินเดีย ต้องติดตามสถานการณ์ภายหลัง จากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราวีซา (VISA ON ARRIVAL) ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2563 รวมทั้งหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา เรื่องระดับโลกอีกเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยเช่นกัน คือ การที่สหรัฐฯ กับจีนลงนามความตกลงทางการค้า เฟส 1 (PHASE 1) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 โดยหัวใจสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ที่นับว่าท้าทายผลในเชิงปฏิบัติของจีนอย่างมากใน 5 ด้าน ดังนี้ 1. การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (IP) อย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดสงครามการค้าตามมาตรา 301 ในช่วงที่ผ่านมา 2. การกำหนดให้จีนซื้อสินค้าสหรัฐฯ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2564 โดยประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่การกำหนดให้นำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงถึง 78 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามมาด้วยสินค้าเกษตร 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ พลังงาน 25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการบริการ 38 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 3. ประเด็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจของนักลงทุน 4. ประเด็นด้านอัตราแลกเปลี่ยน และ 5. การเปิดตลาดภาคบริการการเงินของจีนให้สหรัฐฯ สามารถเข้าแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม ภายในวันที่ 1 เมษายน 2563 ประกอบด้วย การยกเลิกข้อจำกัดในการถือหุ้นของต่างชาติ โดยให้สหรัฐฯ ถือหุ้นได้ทั้งหมดในธุรกิจประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการจัดการกองทุน เป็นต้น ทั้งนี้ เงื่อนไขเหล่านี้แลกกับการที่สหรัฐฯ ปรับลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็นมูลค่า 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 7.5 % จากเดิมสินค้ากลุ่มนี้มีอัตราภาษีอยู่ที่ 15 % สำหรับสินค้าอื่นๆ ที่เคยขึ้นภาษีไปแล้ว รวมเป็นมูลค่า 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงภาษีไว้ที่ 25 % ซึ่งจะพิจารณาลดภาษี ในกลุ่มนี้ในการเจรจาความตกลงเฟส 2 (PHASE 2) ต่อไป แต่กระนั้นความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงมีความไม่แน่นอนสูง และน่าจะไม่จบในระยะอันใกล้ โดยยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามว่าทางการจีนจะสามารถทำตามข้อตกลง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ให้มีมูลค่าสูงกว่าในปี 2560 อีก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นโจทย์ที่มีความท้าทายอย่างมาก และเป็นการยากที่สิ่งที่ทางการจีนให้คำมั่นไว้ จะนำมาซึ่งการนำเข้าของภาคเอกชนจีนทั้งหมด โดยทั้งปี 2560 การนำเข้าสินค้าทั้งหมดของจีนจากสหรัฐฯ มีมูลค่าเพียง 1.55 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น ตามข้อตกลงนี้ ทางการจีนต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก การส่งออกของไทยคงต้องเผชิญความไม่แน่นอนตลอดปี ทั้งผลจากภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าอย่างสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงผลกระทบทางตรงจากสงครามการค้า ที่มีส่วนบรรเทาเบาบางลงตามการลดภาษีของสหรัฐฯ ต่อสินค้าจีนบางรายการ ทำให้ผลจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีนเหลือ 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1,000-2,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็อย่างที่พาดหัวเอาไว้ ว่า ณ เวลานี้ จะทำอะไรกันก็ช่าง ต้องมีความระมัดระวังกันเป็นที่ตั้ง เพื่อรักษาตัวรอดเอาไว้ก่อน โดยไม่ต้องหวังพึ่ง ผีสางนางฟ้า เทพยดาองค์ไหน ตนเองนั่นแหละ เป็นที่พึ่งแห่งตน